ใต้เบื้องพระยุคลบาท: รู้ความหมายโบราณราชประเพณีการพระบรมศพ

Logo Thai PBS
ใต้เบื้องพระยุคลบาท: รู้ความหมายโบราณราชประเพณีการพระบรมศพ
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต การพระราชพิธีพระบรมศพก็เริ่มขึ้น ซึ่งมีการสืบทอดทั้งเครื่องประกอบและพิธีการที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศตามพระราชประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน

"พระลองทองใหญ่" หรือ "พระโกศทองใหญ่" เป็นพระโกศลำดับยศสูงสุดจากทั้งหมด 14 ลำดับ อยู่ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรฉัตร 9 ชั้น สำหรับประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ แสดงถึงพระราชอำนาจชอบธรรมในการปกครองแผ่นดินและประชาชน ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นการถวายพระเกียรติยศอย่างสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพระราชพิธีพระบรมศพตามพระราชประเพณี 

 

 


ในการพระราชพิธีพระบรมศพ ยังมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง 7 บท หรือ พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ มีเนื้อหาเป็นธรรมชั้นสูง ว่าด้วยเรื่อง "จิต-เจตสิก" หมายถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ "รูป" หมายถึงรูปร่างของคน สัตว์ สิ่งของที่แตกสลายได้ และ "นิพพาน" หรือการดับสังขาร

 

นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีไทยเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ เรียกว่า "การประโคมย่ำยาม" ซึ่งในการประโคมงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีวงประโคมตามลำดับ คือ วงแตรสังข์ วงปี่ไฉนกลองชนะ และวงปี่พาทย์นางหงส์ 

   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง