วานนี้ (14 พ.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 5 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สหภาพ แรง งานกลางสื่อมวลชน สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์ในอุตสาหกรรมสื่อมวลชน
โดยแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคม นาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกประกาศให้ผู้รับใบอนุญาตโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล คืนใบอนุญาตตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 4/2562 ซึ่งได้ข้อยุติว่ามีผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตฯ จำนวน 7 ช่องรายการ ได้แจ้งความประสงค์คืนใบอนุญาตฯ ไปแล้วนั้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง กสทช.เผย 7 ช่องยื่นขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชน สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้จัดประชุมเพื่อระดมความเห็น และกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่จะได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง การปรับโครงสร้างตำแหน่งงาน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาจ้างแรงงาน ให้ได้รับความเป็นธรรม สามารถดำรงชีพและประกอบวิชาชีพสื่อตามความรู้และประสบการณ์ต่อไปได้
ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเห็นตรงกันว่ากรณีการให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิตอลคืนใบอนุญาตฯ นั้น มิได้เกิดความเสียหายจากการขาดทุนจากการประกอบกิจการฯ และยังได้รับเงินชดเชย ได้รับเงินสนับสนุนในการใช้บริการโครงข่ายฯ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการ Must Carry ต่างๆ เพิ่มขึ้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง วอยซ์ทีวี คืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ลุยต่อดาวเทียม-ออนไลน์
ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อจำนวนมากมีศักยภาพ มีประสบการณ์ และได้ทำประโยชน์ในการทำหน้าที่สื่อมวลชนตามหลักจริยธรรมวิชาชีพเพื่อประโยชน์สาธารณะอยู่ในสถานีโทรทัศน์ช่องรายการต่างๆ มาโดยตลอด จึงควรได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและเจ้าของผู้ประกอบกิจการสื่ออย่างเป็นธรรม โดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้กำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือ และผลักดันให้องค์กรภาครัฐ ตลอดจนถึงผู้บริหารองค์กรสื่อมวลชน คำนึงถึงการช่วยเหลือ ชดเชยผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
- จัดตั้งศูนย์ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์ในอุตสาหกรรมสื่อมวลชน (ศปส.) เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ให้คำปรึกษา และกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนการยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐและผู้บริหารองค์กรสื่อมวลชนที่กำหนดมาตรการเลิกจ้าง
- ติดตาม สอดส่อง ให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างจากกรณีคืนใบอนุญาตทีวีดิจิตอลให้สามารถดำรงชีพ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ ทักษะ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสื่อสมัยใหม่ และประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนหรืออาชีพอื่นตามความประสงค์
- ยื่นข้อเสนอ ผลักดันให้ กสทช. กำหนดมาตรการต่อผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ในการยกระดับการพัฒนาเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากเงินช่วยเหลือจาก กสทช.จากการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ดังกล่าวด้วย
จึงขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวติดต่อสื่อสาร และติดตามข้อมูลจาก “ศูนย์ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์ในอุตสาหกรรมสื่อมวลชน” (ศปส.) ในลำดับต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เรียกร้องชดเชยเยียวยา "คนสื่อ" 7 ช่องทีวีดิจิทัลจอดำ