ต้องทำอย่างไร ! รู้สู้ภัยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

สังคม
30 ม.ค. 63
11:19
4,420
Logo Thai PBS
ต้องทำอย่างไร ! รู้สู้ภัยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ถอดรหัสผู้ป่วยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 กับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ฯ พร้อมวางแผนรับมือการระบาดในประเทศไทย

ข้อมูลการวิเคราะห์กลุ่มผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จาก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในรายการตอบโจทย์ วันที่ 29 ม.ค. 2563

   • คำว่า “ระบาด” ไม่ได้แปลว่า ลุกลามรุนแรงทั่วประเทศ แต่หมายถึง มีการรับเชื้อจากชาวต่างประเทศ แล้วติดระหว่างคนไทยสู่คนไทย (คนสู่คน แม้ไม่ได้ไปอู่ฮั่น)
   • ข้อดี เมื่อเรารับรู้ว่าระบาด บอกข้อเท็จจริง ไม่มีการปกปิดข้อมูล คือ ทำให้ทุกภาคส่วนและประชาชน เพิ่มความระมัดระวังตัว
   • บุคคลากรด้านสาธารณสุข มีการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ที่หนักที่สุด เลวร้ายที่สุดเอาไว้รองรับ มีมาตรการที่ “พร้อม” ในระดับสูงสุด
   • เมื่อประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้ทำงานง่ายขึ้น การเข้าไปสอบสวน ดูแลผู้ติดเชื้อก็ทำได้สะดวก ง่าย ไม่ถูกมองว่าละเมิดสิทธิ
   • การระบาด ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของระบบคัดกรอง แต่เป็นเพราะผู้ที่มีเชื้อยังไม่แสดงอาการ
   • ประชาชนควรดูแลตัวเองให้ดี หากป่วยก็เก็บตัว รับผิดชอบต่อสังคม ไม่แพร่เชื้อ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

คนไทยรับเชื้อมาจากไหน

คำตอบ คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ยังไม่มีอาการเป็นผู้แพร่เชื้อ

   • โคโรนา จะแสดงอาการครั้งแรกภายใน 1-14 วัน และในระยะนี้ยังไม่มีอาการ แต่แพร่เชื้อแล้ว
   • ในระยะแรก ผู้ที่มีเชื้ออาจมีอาการน้อยมาก แค่ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ต่ำมาก ตรวจวัดยังไม่พบ
   • ผู้แพร่เชื้ออีกลุ่ม คือ มีอาการ “ปอดอักเสบ”แล้ว แต่ไม่หนักยังใช้ชีวิตปกติ เป็น “Walking Pneumonia” มีเชื้อปอดอักเสบแล้วทำให้ ยิ่งแพร่เชื้อได้มากขึ้น

ถอดบทเรียนผู้ป่วย 41 คน วางแผนรับมือล่วงหน้า

   • กรณีผู้ป่วย 41 คน ที่ติดเชื้อจากตลาดสัตว์ป่า และมีการรายงานในวันที่ 24 ม.ค. มีความสำคัญมาก ในแง่ของการประเมินอาการ ว่าอาการเป็นอย่างไรบ้างในแต่ละระยะ และมีอาการมากพอที่จะต้องเข้าโรงพยาบาลในช่วงใด
   • ผู้ป่วย 41 คน ย้ายมาจากแหล่งกำเนิดโรค ประมาณ 6 วัน ด้วยการเริ่มมีไข้ ต้องเข้าโรงพยาบาล /วันที่ 7 เริ่มอ่อนเพลีย อาการหนัก/วันที่ 8 เริ่มเหนื่อย หายใจยาก วันที่ 9 เหนื่อยมากขึ้น/วันที่ 10 เข้าไอซียู ใส่เครื่องช่วยหายใจ ปอดมีน้ำ มีเสมหะในถุงลม ที่สำคัญคือมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอักเสบร่วม มีผลกระทบไปถึงไต
   • อัตราการตายที่เคยสูงถึง 14.6% ในกลุ่ม 41 คนนี้ ลดลงไปแล้ว เพราะมีการกระจายเชื้อออกไป อัตราการตายจึงเหลือเพียง 2-4%
   • ในกลุ่มนี้ผู้เสียชีวิตกว่า 60 % เป็นคนหนุ่มสาววัยกลางคนและไม่มีโรคประจำตัว
   • ทำให้แพทย์รู้ว่า กลุ่มคนที่ติดเชื้อและมีกลุ่มที่มีอาการหนัก หนักมาก หนักที่สุด ในอัตราส่วนเท่าไหร่ เพื่อวางวางแผนรับมือ

กลุ่มเสี่ยงแรก "คนขับ" รถโดยสาร-รถทัวร์

   • ภายในรถมีสภาพปิด เปรียบเหมือนกล่องหนึ่งใบ การไอหรือจาม ทำให้ฝุ่นฝอยละอองแพร่ได้รวดเร็ว
   • มีโอกาสได้รับเชื้อโดยตรงจากคนในรถที่ไอหรือจาม ซึ่งมีโอกาสที่ฝอยละอองจะกระจายไปได้ในระยะ 2 เมตร ทำให้ฝอยละอองลอยไปตกอยู่ตามเสื้อผ้า ใบหน้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา ซึ่งรับเชื้อได้โดยตรง
   • รับเชื้อจากการสัมผัสฝอยละอองตกลงพื้นผิวสัมผัสต่างๆ แล้วมาขยี้ตา ไม่ใช่การผ่องถ่ายเชื้อโดยตรง
ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานในรถ รถประจำทางสาธารณะ จะต้องระวังเป็นพิเศษ ต้องไม่เอามือไปจับตามเยื่อบุต่าง ๆ “ต้องล้างมือบ่อย ๆ”

"หน้ากาก" แบบไหนกันโคโรนา

คำตอบ : การป้องกันเชื้อโคโรนาสามารถใช้หน้ากากธรรมดาได้ แต่ที่สำคัญคือห้ามใช้มือไปสัมผัสบริเวณผืนหน้ากาก ให้หยิบจับเฉพาะบริเวณหูคล้องเท่านั้น เพราะการใช้มือสัมผัสหน้ากากโดยตรง มีโอกาสรับและแพร่เชื้อได้

หยิบเฉพาะบริเวณหูคล้องเท่านั้น เพราะการใช้มือสัมผัสหน้ากากโดยตรง มีโอกาสรับและแพร่เชื้อได้

หน้ากาก N95 จำเป็นหรือไม่

   • ต้องตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นสม่ำเสมอแบบเรียลไทม์
   • ในวันที่ภาวะฝุ่น pm 2.5 สูง รุนแรง มีความจำเป็น เพราะฝุ่นจะเข้าไปทำลาย และทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินส่วนล่าง บน ผนังถุงลม และเข้าไปในเลือด ทำให้เกิดการ “อักเสบ”เพิ่มขึ้น
   • ถ้ารับเชื้อโรคโคโรนาเข้าไปอีก ร่างกายก็สร้างภูมิมาสู้อีก ทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นอีก
   • การสวมแว่นตาสามารถป้องกันเยื่อบุตา แว่นตาธรรมดา แว่นตาแบบที่ขี่จักรยานก็ได้ 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า อย่าตื่นตระหนกหลังระบาดแล้ว คาดใช้เวลา 3-5 เดือน ร่างกายจึงจะมีการปรับสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น
เนื่องจากไวโรสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ร่างกายจึงยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะทำลายเชื้อได้

 

แต่หากมีผู้รับเชื้อกันมากขึ้น ในหลักแสนคน ร่างกายก็ค่อย ๆ สร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่แพร่กระจายออกไป น่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 เดือน และจีนก็ก็ปิดเมืองปิดประเทศ เก็บตัวเอง ทำให้ไม่มีการไม่รับและแพร่เชื้อเพิ่ม

อย่าตระหนกจนคนล้นโรงพยาบาล

หน้าหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ กล่าวว่า ขอประชาชนอย่าหลั่งไหลไปโรงพยาบาล หลังโรคระบาด เพราะอาจทำให้โรงพยาบาลแออัด และมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโคโรนาโดยไม่จำเป็น

   • ถ้า “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ในระยะเริ่มแรก หายเองได้ ก็มีโอกาสหายสนิท
   • ถ้าตื่นตระหนกมากเกินไป อาการหายเองได้ แต่กลับไปโรงพยาบาล เพราะกลัวมาก อาจจะแค่เป็นหวัดธรรมดา แต่ไปโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสการแพร่ และไปรับเชื้อโคโรนาได้มากขึ้น
   • โรงพยาบาลต้องคัดแยกผู้ป่วย ไม่ว่าจะมาหาหมอด้วยอาการอะไร ต้องคัดแยกคนที่มีไข้ออกไปก่อน ไม่ว่าจะมาหาหมอด้วยโรคอะไร ต้องแยกให้ห่างกันและต้องไม่สัมผัสกัน

การสังเกตตนเอง

   • หากเริ่มครั่นเนื้อครั่นตัว ให้ตรวจสอบตัวเองว่า ในรอบ 14 วัน มีการเดินทางหรือพฤติกรรมไปพบนักท่องเที่ยว อยู่ในที่แออัด ไปสัมผัสในจุดเสี่ยงหรือไม่
   • กินยาพาราเซตามอล 1-2 เม็ด (ผู้ใหญ่)เพื่อลดไข้ หากภายใน 4-6 ชั่วโมงแล้วดีขึ้น ก็ไม่เป็นไร หายเองได้
   • แต่หากไม่ดีขึ้นเลย และมีอาการหนักขึ้น รู้สึก อ่อนเพลียผิดปกติ คือต้องไปโรงพยาบาล

   ข้อเสนอแนะ : แท็กซี่โดยสาร รถทัวร์ รถสาธารณะ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง