"ปริญญา" ชี้แนวทางวินิจฉัยพรรคอนาคตใหม่ปมเงินกู้

การเมือง
21 ก.พ. 63
11:21
4,388
Logo Thai PBS
"ปริญญา" ชี้แนวทางวินิจฉัยพรรคอนาคตใหม่ปมเงินกู้
ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ชี้กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวินิจฉัยคดีเงินกู้พรรคอนาคตใหม่ 191 ล้านบาท ระบุกฎหมายไม่ห้ามพรรคการเมืองกู้เงิน ถ้าผิดก็ไม่ถึงยุบพรรค ซึ่งเทียบโทษประหารชีวิต แต่อาจเข้าข่ายนิติกรรมอำพรางตามมาตรา 66

วันนี้ (21 ก.พ.2563) กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยพรรคอนาคตใหม่ กรณีกู้เงินหัวหน้าพรรค 191 ล้านบาทว่าจะถูกยุบพรรคหรือไม่ โดยศาลจะประชุมช่วงเช้า และอ่านคำวินิจฉัยเวลา 15.00 น. ทั้งนี้ ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่ากฎหมายไม่ห้ามพรรคการเมืองกู้เงิน และถ้าผิดก็ไม่ถึงยุบพรรค

ผศ.ปริญญา กล่าวว่า การกู้เงินบริจาคมาถึงขั้นยุคพรรคได้อย่างไร ถ้ามีการพิสูจน์ว่าเป็นการบริจาคหรือกู้ ก็ดูว่าเขาคืนเงินให้หรือไม่ ส่วนกรณีข้อสงสัยว่าผิดไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย และการยุบพรรคเป็นโทษประหารชีวิต เพราะ ส.ส.เป็นนิติบุคคล จะมี ส.ส.15 คน และไม่มีบัญชีรายชื่อมาใหม่มาเติม เท่ากับ ส.ส.ในสภาหายไป 15 คน เพราะไม่มีพรรคแล้ว บัญชีรายชื่อลำดับถัดไป ไม่มีคนขึ้นมาแล้ว จะแหว่งไป 15 คน ตรงนี้เป็นข้อที่รัฐบาลจะได้เปรียบมากขึ้นเพราะฝ่ายค่นจะหายไป 15 คน

ถ้าเทียบโทษอาญา การยุบพรรคเท่ากับเป็นการประหารชีวิต ถ้าตีว่าเงินกู้เป็นรายได้ และนับเป็นเงินบริจาคไม่เกิน 10 ล้านบาท ที่จะมีควมมผิด ก็ต้องลงโทษตามมาตรา 66 ไม่ควรถึงยุบพรรค และต่อให้เป็นนิติกรรมอำพรางก็จบแค่ มาตรา 66 คือบริจาคเกิน 10 ล้านบาท 

"ปริญญา" ชี้กฎหมายพรรคการเมืองมีช่องว่าง

ผศ.ปริญญา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้พรรคก็ต้องพิสูจน์ว่าเป็นการบริจาคเงิน และถ้าจะยุบพรรคต้องมาตรา 72 คือกรรมการควรจะรู้ว่าผิดกฎหมาย หรือมีแหล่งเงินผิดกฎหมาย ทั้่งนี้ถ้าจะประหารชีวิตใครก็ต้องชัดเจนในทางกฎหมาย และสิ่งที่ติดตามว่ามีประเด็นตรงนี้ 

นอกจากนี้ โทษตามข้อกล่าวหาในคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีพรรคอนาคตใหม่กู้เงินหัวหน้าพรรค 191 ล้านบาท อธิบายตามข้อกฎหมายของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ปี 2560 ว่า ไม่ใช่คำสั่งยุบพรรค

โดยการกระทำผิด ตามมาตรา 66 กรณี "เงินกู้" ไม่ใช่เงินบริจาค ไม่ใช่รายได้ แต่เป็นหนี้สิน และถ้าจะบอกว่า "กู้เงิน"เป็นการกระทำผิดมาตรา 72 ก็ต้องชี้ให้ได้ว่า อะไรคือนิติกรรมอำพราง อะไรคือเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุใด จึงสงสัยในแหล่งที่มาว่าไม่ชอบ ในเมื่อพรรคอนาคตใหม่ ระบุชัดว่า กู้เงินจากหัวหน้าพรรค

อ่านข่าวเพิ่ม ศาล รธน.นัด 21 ม.ค. วินิจฉัยร้องยุบพรรคอนาคตใหม่

 

 

การกระทำผิดตามมาตรา 66 ระวางโทษตามมาตรา 125 คือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และให้ศาลฯ สั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี รวมถึงให้ทรัพย์นั้น ตกเป็นของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ดังนั้นถ้ากฎหมายไม่ได้เขียนห้าม ก็ถือเป็นช่องว่างให้ทำได้ และถ้าไม่ได้ผิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา บอกว่า

ควรปล่อยให้มีที่ยืนในสภา เพราะบทเรียนจากเหตุยุบพรรค ก็มีให้เห็น ซึ่งจากพรรคไทยรักไทย เปลี่ยนเป็น พลังประชาชน และเป็น เพื่อไทย แต่ก็ย้ำว่า คำวินิจฉัยของศาลฯ ย่อมต้องน้อมรับและเป็นที่ยุติ

ขณะที่น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรมนูญ ขอให้พิจารณาการให้สัมภาษณ์ของรองศาสตราจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล,นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว และนายสุทิน คลังแสง และนางสาวพรรณิการ์ วาณิช กรณีวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยคดีพรรคอนาคตใหม่ 21 ก.พ.

ท่าทีพรรคอนาคตใหม่ก่อนศาลอ่านคำวินิจฉัย

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง