วันนี้ (25 เม.ย.2563) กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 12 เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 26 เมษายน 2563)" ดังนี้ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 25-26 เม.ย.63
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ภาคเหนือ: จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
และนครราชสีมา
ภาคกลาง: จ.นครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก: จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า
ขณะที่การพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บริเวณภาคเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่และมีลมกระโชกแรง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา เมื่อเวลา 04.00 น. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ขณะที่ฝุ่นละอองในระยะนี้ ภาคเหนือตอนบนอากาศมีการสะสมฝุ่นละออง หมอกควันลดลง ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีการสะสมของฝุ่นละออง หมอกควันยังคงน้อย
พยากรณ์อากาศ เวลา 06.00 วันนี้ ถึง 06.00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรีอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตรตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.