จากสถานการณ์บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี ล่าสุดปี 2562 ขาดทุนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลและกระทรวงการคลังเร่งหารือเกี่ยวกับอนาคตก้าวต่อไปของการบินไทย
ล่าสุด วันนี้ (16 พ.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จำเป็นต้องแก้ไขและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่ : Reorgani zation ก่อนเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอฟื้นฟูกิจการให้กับการบินนั้น พบว่า มีอยู่ 23 ปัจจัย ประกอบไปด้วย
1.ปรับปรุงข้อมูลการซ่อมบำรุงที่เดิมอาจทำไม่ครบถ้วน รวมถึงการขายเครื่องบิน และเครื่องยนต์จึงต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม
2.ปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางการบิน เริ่มจากเส้นทางบินระยะยาว : การบริหารจัดการเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไร หรือ ไม่มีเครื่องบินที่ต้องการนำไปบริการในเส้นทางที่มีศักยภาพมากกว่า
3.ปรับปรุงแผนบริหารจัดการฝูงบิน รวมถึงแผนการขายเครื่องบินซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเสนอราคาซื้อที่ต่ำมาก
4.ปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ การต่อต้านของกลุ่มมาเฟียเดิม และหรือ ผู้แทนจำหน่ายที่เสียผลประโยชน์จากการขายบัตรโดยสารแบบ Single Price
5.ปรับปรุงการปฏิบัติงานและต้นทุนกระบวนการทำงานด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นไปตามแผน และผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถเข้าใจระบบการจัดการด้านนี้
6.ปรับปรุงการปฏิบัติการและบริหารต้นทุนเพื่อสร้างประสิทธิภาพของฝ่ายช่าง และปรับรูปแบบให้รองรับการดำเนินธุรกิจให้เป็นเชิงพาณิชย์นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในฝ่ายช่าง
7.ปรับปรุงการปฏิบัติการ และบริหารต้นทุนโดยออกแบบโครงสร้างการซ่อมบำรุงใหม่ให้รองรับการให้บริการเชิงพาณิชย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมการบินในระดับสากล
8.โครงการตามกลยุทธ์ด้านการปรับปรุงการปฏิบัติการและต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพฝ่ายช่างและปรับรูปแบบให้รองรับ การดำเนินธุรกิจให้เป็นเชิงพาณิชย์ การปรับเปลี่ยนผลตอบแทนการทำงานตามระดับผลิตภาพ Pay Per Productivity ของฝ่ายช่าง
9.ปรับกลยุทธ์การปฏิบัติงาน และบริหารต้นทุนของฝ่ายช่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ปรับรูปแบบให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจให้เป็นเชิงพาณิชย์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และสร้างแรงจูงใจแก่บุคคลากรได้
10.ปรับปรุงการปฏิบัติการ และบริหารต้นทุนในการพัฒนาความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ
11.ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้กระชับ
12.ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรโดยเฉพาะจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต
13.ปรับกลยุทธ์ด้านการจัดกลุ่มธุรกิจของบริษัทเริ่มตั้นแต่ฝ่ายช่าง : ปรับปรุงธุรกิจการซ่อมบำรุงอากาศยานเชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินดอนเมือง
14.จัดกลุ่มธุรกิจของบริษัทในฝ่ายช่าง : ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์ซ่อม เครื่องบินลำตัวกว้าง
15.จัดกลุ่มธุรกิจฝ่ายบริการภาคพื้น ปรับรูปแบบกระบวนการทำงานของพนักงานในฝ่ายภาคพื้น
16.จัดกลุ่มธุรกิจฝ่ายบริการภาคพื้นโดยปรับปรุงบริการห้องรับรองพิเศษ และห้องฉุกเฉินในภาวะไม่ปกติ
17.จัดทำกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจการพาณิชย์สินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์
18.จัดกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์สินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์
19.ศึกษาแนวทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของ กลุ่ม Business Unit ใหม่
20.เพิ่มประสิทธิภาพครัวการบินเพื่อให้ผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในการเสิร์ฟอาหารร้อนบนเครื่องบิน
21.ทำครัวการบินไทยให้เป็น Smart Kitchen 4.0
22.จัดกลุ่มธุรกิจของครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานเชียงใหม่
23.จัดครัวการบินไทยสาขาต่างๆ ใหม่เพื่อสามารถทำกำไรให้สูง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตั้งคณะทำงานตรวจสอบทุจริต "การบินไทย" ขาดทุน 3 ปีซ้อน
ถกแผนฟื้นฟูการบินไทยเงียบ “อนุทิน” ระบุต้องรายงานนายกฯ ก่อน
อดีตรองปลัดคมนาคม หนุนปลดล็อกการบินไทย จากสายการบินแห่งชาติ
"อุตตม" ปัดขัดแย้ง คมนาคม ปมแก้ปัญหาการบินไทย
แท็กที่เกี่ยวข้อง: