ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : เสียงสะท้อนอาชีพประมงภายใต้ พ.ร.ก.การประมง

สังคม
26 ส.ค. 63
19:07
645
Logo Thai PBS
THE EXIT : เสียงสะท้อนอาชีพประมงภายใต้ พ.ร.ก.การประมง
ผ่านมา 6 ปี เมื่อ พ.ร.ก.การประมงปี 58 ถูกบังคับใช้ ดูเหมือนจะส่งผลดีกับทรัพยากรทางทะเล เมื่อต้องการจัดระเบียบอาชีพประมงภายใต้กฎ IUU Fishing การป้องกันทำประมงผิดกฎหมาย แต่อีกด้านหนึ่ง เกิดเสียงสะท้อนของชาวประมง ว่า มาตรการเข้มงวดอาจไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

 

"ส่วนมากเรือที่จอดอยู่ทุกวันนี้เพราะขาดแรงงาน สมัยนี้คนไทยไม่ออกทะเลกัน ต้องรอแรงงานต่างด้าวอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเมียนมา กัมพูชา และชาวลาวนิดหน่อย แต่ระยะหลังกฎหมาย MOU ออกมาค่อนข้างรุนแรง ชาวประมงอย่างผมกHไม่สามารถรองรับกฎหมายหลายฉบับที่ออกมาได้ บางวันออกมาตอนเย็นเช้ามาก็โละทิ้ง ของ พ.ร.ก.ประมงเนี่ย ชาวประมงรับไม่ไหว จึงทยอยจอดตาม ๆ กัน " นายชูชัย สุดดี เจ้าของเรือประมงพานิชย์ จ.สมุทรสาคร ระบุ

เงินก้อนที่ทุ่มลงไปซื้อเรือประมงพานิชย์ถึง 2 ล้านบาท หวังตั้งใจนำมาประกอบเป็นอาชีพหลัก หารายได้ แต่หลังประกาศใช้ พรก.การประมง ปี 2558 และฉบับแก้ไข ในปี 2560 จัดระเบียบเรือประมงพานิชย์ให้ขึ้นทะเบียนถูกต้อง และปลดล็อกให้ไทยพ้นจากใบเหลือง ที่ถูกประเมินจากสหภาพยุโรป (EU) และเข้มงวดปราบปรามการค้ามนุษย์ จนเจ้าของเรือประมงต้องถอดอุปกรณ์บนเรือที่เคยมีทั้งเรดาห์ เครื่องยนต์ ที่พอจะขายได้ ก็รีบประกาศขายในราคาถูก ก่อนจะเสื่อมสภาพ

"เดือนที่แล้วขายรอกไปคู่นึง 10,000 กว่าบาท ขายเรดารืไปตัวนึง 40,000 กว่าบาท ตอนนี้ใครมาซื้ออะไรก็ถอดขาย ๆ เอาไว้ก็ใช้ไม่ได้ " นายชูชัย สุดดี เจ้าของเรือประมงพานิชย์ จ.สมุทรสาคร

ไทยพีบีเอส กลับมาติดตามการออกเรือประมงอวนดำน่านน้ำไทยแต่ละครั้ง ถูกตรวจสอบ เอกสารแรงงานข้ามชาติ หนังสือเดินทาง และบัตรสีชมพู ที่แรงงาน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไป เป็นข้อกำหนดที่ถูกบัญญัติไว้ เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์ ข้อปฏิบัติของเรือประมง เพื่อไม่ให้ไทยถูกใบเหลืองสหภาพยุโรปอีกครั้ง มี 3 ข้อหลัก คือ การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดรายงาน และไร้การควบคุม แต่ละข้อ มีบทลงโทษสูง เช่น หากไม่มีใบอนุญาตทำประมงพานิชย์ มีโทษปรับ100,000 บาทขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดเรือ ไม่ติดตั้งเครื่องติดตามวีเอ็มเอส มีโทษปรับ 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ

 

หากใช้คนประจำเรือไม่ตรงกับหนังสือที่แจ้งไว้ มีโทษปรับไม่น้อยกว่า 400,000 บาทต่อคนประจำเรือ 1 คน และอาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำประมงทันที และหากไม่แจ้งเข้า-แจ้งออก เทียบท่า ก็มีโทษปรับ 100,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท

 

ใบทะเบียนเรือไทย เป็นกฎเหล็กที่เรือทุกลำต้องมี และการติดตั้งเครื่องติดตาม (VMS) เพื่อสามารถตรวจสอบเรียลไทม์ได้ว่า เรือประมงลำนี้ ปฏิบัติภายใต้กฎหมายหรือไม่ ทำให้การออกเรือแต่ละครั้ง อาจไม่คุ้มหากทำผิดกฎหมาย เพราะนอกจากค่าปรับที่สูงแล้วยังมีค่าใช้จ่ายขณะออกเรือแต่ละครั้ง ถึง 800,000บาทต่อเดือน แต่รายได้การจับสัตว์น้ำส่งขาย สวนทางกับรายจ่าย เพราะมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กดราคาสินค้าถูกกว่าไทย


"เอามาจากข้างนอกมากดราคาด้วย จากบังคลาเทศ จากเมียนมาร์ จากที่อื่นรอบๆประเทสเรา เอาเข้ามาของข้างในก็จะราคาถูก เพราะนำเข้าเสรี โรงเงานเอาเข้ามา ของเราก็จะถูกกดราคาลงไปอีก ซึ่งก็เหนื่อย ยากจะเลิก ลุกเรียนจบก็จะเลิก ไม่ทำแล้ว พอ " นายนิกร ด้วงภิรมณ์ ไต๋เรือประมงพานิชย์ กล่าว

การขอปรับแก้กฎหมาย ถูกเรียกร้องผ่านชาวประมง โดยเฉพาะปัญหาขาดแรงงาน และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ทำให้เรือประมงพานิชย์ จอดทิ้งร้างทั่วประเทศมากกว่า 2,500 ลำ

"ตามหลักการเราอาจผิดด้วย แต่หลักเกณฑ์ หลักปฏิบัติ วิธีใช้ มันมากเกินเราจะรับไหว ไม่ยากเกินปฏิบัติได้มันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเราด้วย" นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย

  

ภายใต้วิถีของชาวประมงพานิชย์ กระทบกับข้อกฎหมาย พ.ร.ก.การประมง ปี 2558 ด้วยมาตราบางข้อที่ไม่สอดรับกับการปฏิบัติจริง แต่กฎหมายนี้อาจส่งผลดีต่อการติดตามเรือประมงผิดกฎหมาย ให้อยู่ในขอบข่ายกฎระเบียบ และช่วยเพิ่มจำนวนทรัพยากรทะเลให้สมบูรณ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง