เปิดประชุมสภาฯ ถก 7 ร่างรัฐธรรมนูญ

การเมือง
17 พ.ย. 63
12:06
1,316
Logo Thai PBS
เปิดประชุมสภาฯ ถก 7 ร่างรัฐธรรมนูญ
เปิดถกร่างแก้ไข รธน.เปิดให้ 3 ฝ่ายอภิปราย วุฒิฯ ฝ่ายค้าน ฝ่ายละ 5 ชั่วโมง รัฐบาล 4 ชั่วโมง คาดให้จบเที่ยงพรุ่งนี้ ก่อนโหวตไม่เกิน 6 โมงเย็น

วันนี้ (17 พ.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.56 ชวน เปิดประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุมีสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ 732 คน แบ่งเป็นส.ส. 487 คนวุฒิสมาชิก 245 คน องค์ประชุมครึ่งหนึ่งคือ 360 คน

ประธานรัฐสภากล่าวว่า ที่ประชุมรัฐสภาให้พิจารณาเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการบรรจุวาระเป็นกรณีพิเศษ แต่เนื่องจากมีเรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญนำมาพิจารณาก่อนรับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางกมธ.จึงขยายเวลาการพิจารณาอีก 15 วัน ซึ่งเดิมครบในวันที่ 23 ต.ค.

นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า การบรรจุเฉพาะเรื่องการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในการอภิปราย ให้ตัวแทนทั้ง 3 ฝ่ายแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และวาระด่วนมีกฎหมายภาคประชาชนด้วย จึงขอให้ 3 ฝ่าย ยืนยันการใช้เวลาอภิปราย โดยวุฒิสภาขอเวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง

จากนั้น นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า จากการประสานทางวุฒิสภา ขอใช้ 5 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน 5 ชั่วโมง และส่วนพรรคร่วมรัฐบาล 4 ชั่วโมง ซึ่งรวมแล้วจะใช้เวลา 14 ชั่วโมงครึ่ง

ถ้าจะให้อภิปรายจบ ควรได้ไม่เกินเวลา 14.00 น.ของวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) และลงมติภายใน 18.00 น.

ชี้แก้ ม.256 จะขัดคำวินิจฉัยศาล รธน.หรือไม่

ต่อมาเวลา 10.09 น. นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า จากการศึกษาข้อกฎหมายพบว่า รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 35/1 ตามร่างที่ 2 และ 3 จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 28/22 พ.ศ.2555 หรือไม่

นายวิรัชกล่างต่อว่า ประเด็นที่ 2 การทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามร่างที่ 1 และ 2 ต้องออกเสียงประชามติก่อนหรือไม่ และกี่ครั้ง รวมทั้งต้องมีกฎหมายประชามติ และใช้กฎหมายว่าด้วยการทำประชามติ และใช้กฎหมายปัจจุบันได้หรือไม่

ประเด็นที่ 3 ควรมีการกำหนดวิธีการ และกระบวนการอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้สภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องพระราชอำนาจอื่นใดของพระมหากษัตริย์ ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญ 2560 นอกเหนือจากหมวดที่ 1 และบททั่วไปและหมวดที่ 2

ประเด็นที่ 4 ร่างรธน.แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ พ.ศ...ตามร่างที่ 3-6 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามร่างที่ 1 และ 2 หรือไม่ หากรัฐสภารับหลักการ ร่างที่ 1 และ 2 และรับหลักการร่าง 3-6 ด้วยจะทำให้เกิดองค์กรในการร่างรัฐธรรมนูญ 2 องค์กร ในเวลาเดียวกันหรือไม่ เพราะสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และแก้ไขร่างรธน.ในรายมาตรา

นายวิรัชกล่าวว่า กมธ.เชิญบุคคลมาให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ เพื่อให้รายงานของกมธ.มีความครบถ้วนรอบด้าน จึงเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดดงความเห็นและรวมเอกสารเป็นภาคผนวกประกอบการพิจารณว่าจะรับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 6 ฉบับหรือไม่ พร้อมตั้งอนุกรรมการเพิ่ม

เวลา 10.32 น. นายนิกร จำนง ในฐานะประธานอนุกมธ.จัดทำรายงานร่างแก้รธน. ระบุว่า มีการเชิญนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายชินวร บุญยเกียรติ และนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับผลและสาระของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และนางพรพิศ เพชรเจริญ เรื่องการตรวจสอบรายชื่อผู้เสนอญัตติทั้ง 6 ร่าง

นายนิกรกล่าวต่อว่า ว่า กมธ.มีหนังสือเชิญนายสมพงษ์ พรรคฝ่ายค้าน และคณะที่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่าง 1 และร่างที่ 3-6 เกี่ยวกับสาระสำคัญที่เสนอ แต่นายสมพงษ์ ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม

เพราะมีปัญหาข้อกฎหมาย ทำให้ต้องมีอนุกรรมในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะรับหลักการ เพื่อเสนอต่อกมธ.ชุดใหญ่

นายนิกรระบุว่า ต้องพิจารณารายละเอียดร่างทั้ง 6 ร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญอย่างละเอียด และนำความเห็นของแต่ละคนที่ประสงค์ให้บันทึกไว้ มาสรุปใส่ในเอกสารที่จัดทำเสนอต่อสภา และเนื่องจากไม่มีฝ่ายค้านเข้ามาประชชุมด้วย จึงมีมติว่าจะไม่มีมติใด

นายนิกรระบุอีกว่า ผลการพิจารณาทั้ง 6 ร่าง มีดังนี้ ร่างรัฐธรรมนูญ 1 และ 2 ที่มีการแก้ไขในมาตรา 256 และหมวด 15/1 ขัดต่อรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งมีความเห็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้เสียง 3 ใน 5 ที่ไม่เป็นส.ส.ร.

ส่วนที่ 2 การแก้ไขในหมวด 15/1 การทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ อาจขัดหรือแย้งต่อ รธน.ที่ 18-22/2555 และประเด็นการออกเสียงประชามติกมธ.มีความเห็น 2 แนวทางว่าการออกเสียงประชามติออกเสียงเพียง 1 ครั้ง และแนวทางที่ 2 การออกเสียงประชามติ 2 ครั้งก่อนที่จะรัฐสภาจะลงมติรับหลักการวาระ 1 และก่อนนำทูลเกล้า รวมทั้งเห็นว่าต้องมีการทำจะกฎหมายประชามติก่อน

“ความเห็นว่าหมวด 1 และ 2 ไม่ให้แก้ไข เขียนไว้ชัด ส่วนหมวดอื่นที่มีหลายมาตราจะกระทบในการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขหรือไม่ ซึ่งกมธ.มีความเห็นทางเดียวกันว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ มีในมาตราอื่นๆเป็นไปตามฐานประมุขของรัฐ และอยู่ภายใต้โครงสร้างในหมวดที่ 1 และ 2 อยู่แล้ว”

นายนิกรสรุปว่า ส่วนร่างรัฐธรรมนูญที่ 3-6 กมธ.มีความเห็นเป็น 2 แนวทางคือ แนวทางที่ 3-6 ของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งขอเสนอแก้ไขรายมาตรา ไม่มีความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 256 (8) จึงไม่ต้องออกเสียงประชามติก่อนนำทูลเกล้า และแนวทางที่ 2 พบว่า 3-6 ซ้ำซ้อน ในร่าง 1-2 คือมีส.ส.ร.แล้ว

นายนิกรระบุว่า รัฐสภามีมติรับหลักการแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 6 ฉบับได้ แต่จะมีผลให้เกิด 2 องค์กร มีอำนาจทับซ้อนในการแก้ไข เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และในกรณีที่สภารับร่าง 1-2 และรัฐสภาไม่รับร่าง 3-6 ทาง ส.ส.ร.สามารถแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาบรรจุในร่างส.ส.ร.ในอนาคตได้หรือไม่ ความเห็นมีทางเดียว เห็นว่าส.ส.ร.สามารถนำบทบัญญัติในร่างแก้ไขเพิ่มเติมใน 3-6 มาบัญญัติในรธน.ฉบับใหม่ได้ แต่ต้องทำภายใต้บทบัญญัติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง