"ประวิตร" สั่งเร่งสร้างความเชื่อมั่นสินค้าประมง ลดผลกระทบ COVID-19

การเมือง
6 ม.ค. 64
17:10
141
Logo Thai PBS
 "ประวิตร" สั่งเร่งสร้างความเชื่อมั่นสินค้าประมง ลดผลกระทบ COVID-19
รองนายกฯ ประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ คกก.นโยบายประมง ย้ำทุกหน่วย เร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น แก้ปัญหาผลกระทบต่อภาคประมงจากการระบาดของ COVID-19

วันนี้ (6 ม.ค.64) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคอนเฟอเรนซ์ คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่าในปีที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาระบบการทำงานและการแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมงและเกษตรกร จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนมาด้วยดี ในหลายประเด็น เช่น การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมง การส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนแบบมีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหา จากการระบาดของ COVID-19 และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือมากยิ่งขึ้นในปีต่อ ๆ ไป

​สำหรับการประชุมในวันนี้ มีประเด็นเพื่อพิจารณาที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการอันเนื่องจากการโยกย้ายหรือการเกษียณอายุราชการ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และการพิจารณาผลดำเนินงานของ คณะกรรมการฯ และ การเสนอสรุปผลการดำเนินงานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2563 ต่อคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ 1. การบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน. 2.การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) กรอบกฎหมาย 2) การบริหารจัดการประมงทะเลไทยและการจัดการกองเรือไทย 3) การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง 4) การบังคับใช้กฎหมายประมง 5) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ และ 6) แรงงาน

2. การดำเนินการด้านการประมงต่างประเทศ ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การดำเนินการภายใต้กฎระเบียบว่าด้วยการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมของสหรัฐอเมริกา (MMPA) 2) เครือข่ายอาเซียนเพื่อการต่อต้านการทำประมง IUU (AN – IUU) 3) การศึกษาและสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าประมงจาก IUU ของ USITC สหรัฐอเมริกา


3) มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นว่าสินค้าประมงมีมาตรฐานเพื่อการส่งออก

4. การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง ประกอบด้วย 6 เรื่อง ได้แก่ 1) การนำเรือประมงออกนอกระบบ 2) โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง 3) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ พ.ศ. .... 4) ร่างพระราชบัญญัติสภาการประมงแห่งชาติ พ.ศ. ....

5) การยกเว้นค่าธรรมเนียมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

6) การออกระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืนและการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ.2563

5. การขอรับจัดสรรงบกลาง เพื่อดำเนินการโครงการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ของ 5 หน่วยงาน

พล.อ.ประวิตร ได้มีข้อสั่งการให้คณะอนุกรรมการดำเนินการพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง การบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการผ่อนปรนอย่างเหมาะสม การปรับปรุงกฎหมาย จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และต้องไม่ขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศ

พร้อมให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยของสินค้าประมง ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคประมงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อความกังวลของผู้บริโภค และขอให้ให้ทุกหน่วยงาน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการ และแรงงานประมง ตลอดจนประชาชน ได้รับทราบในทุก ๆ เรื่อง เพื่อการเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาร่วมกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง