"นพ.ยง" แนะรัฐบาลเจรจาทดลองวัคซีน ก่อนฉีดให้ประชาชน

สังคม
14 ม.ค. 64
16:58
670
Logo Thai PBS
"นพ.ยง" แนะรัฐบาลเจรจาทดลองวัคซีน ก่อนฉีดให้ประชาชน
นพ.ยงชี้ มีหลายปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 แนะรัฐบาลเจรจาขอวัคซีนมาทดลองก่อนดำเนินการฉีดให้ประชาชน ขอประชาชนประเมินความเสี่ยงและความจำเป็นของตนเองก่อนรับการฉีดวัคซีน

วันนี้ (14 ม.ค.64) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการ NBT รวมใจ สู้ภัยโควิด-19 กล่าวว่า จำนวนชนิดวัคซีนมีร่วม 10 ชนิด ได้แก่ 1.วัคซีน เชื้อตาย mRNA 2.วัคซีน Viral vector ที่ใช้ไวรัสเป็นตัวนำยาเข้าไป แยกเป็น 2 ชนิด โดย1.ไวรัสถูกทำหมันและไม่แบ่งตัว เช่น ของ บ.แอสตราเซนเนก้า และ 2.ใช้ไวรัสแต่ไม่ทำหมันไวรัส ซึ่งวัคซีนตัวนี้กำลังทดลอง ระยะที่ 3 ของ บ.จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งมีข้อดี คือ การฉีด 1โดส ก็เพียงพอจากนั้นจะเข้าไปแบ่งตัวอยู่ในการทดลองการทดลองดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงแต่เป็น GMO ไวรัส ซึ่งเป็นการตัดต่อพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 โดยเอาพันธุกรรม COVID-19 ไปใส่ในไวรัสตัวอื่น

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามสร้างโปรตีนให้คล้ายกับหนามของไวรัส COVID-19 ซึ่งภูมิคุ้มกันของมนุษย์จะไปโจมตีส่วนที่ยื่นมาของไวรัส COVID-19 ไม่ให้ไวรัสเกาะมาที่เซลล์ของเราได้ จึงจำลองหนามแหลม เท่านั้นซึ่งการจำลองจะสามารถสังเคราะห์หรือให้สิ่งมีชีวิตอื่นสร้าง เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ หรือพืช เช่น ใบยาสูบ ทั้งนี้ กรณีนี้ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด โดยมีการทำมาแล้วกว่า 20 ปี โดยทำในมะเขือเทศ กล้วยหอม เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจใช้การกินแทนการฉีดก็ได้ เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีก็ใช้ยีสต์สร้างให้ แต่วัคซีนชนิดใหม่อาจให้ละเอียดลงไปเช่นในหนามแหลมให้ส่วนกระตุ้นมีเพียงส่วนปลายของหนามแหลมให้กระตุ้นโปรตีน หลายคนกำลังคิดวิธีนี้

5.DNA วัคซีน จะเป็นการฉีด DNA แล้วให้สร้างโปรตีนขึ้นมาด้วยรหัสพันธุกรรมตามที่เรากำหนด

6. ใช้ตัวไวรัส COVID-19 หากมีเวลาศึกษาพอเราทราบว่าทำให้อ่อนฤทธิ์ได้ คือ เข้าไปในร่างกายแล้วไม่ก่อโรคโดยจะกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทาน เช่น โปลิโอชนิดหยอด ไวรัสตับอักเสบชนิด A วัคซีนสุกใส ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ขณะนี้มีคนพยายามคิดแต่ยังคิดไม่ตก

 

7.วัคซีนเชื้อตาย ซึ่งดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจำนวนมากและทำให้เชื้อตายเพื่อไม่ให้มีการแบ่งตัว เช่น วัคซีนตับอักเสบชนิด A โปลิโอ ซึ่งมีหลายชนิด โคโรนาก็เช่นกัน ผู้ที่ผลิตวัคซีนโดยเชื้อตายได้แก่ ของจีนคือ วัคซีน ไซโนแวค ไซโนฟาร์ม และของ ประเทศอินเดีย แต่มีข้อเสียคือ การผลิตจำนวนมากทำได้ยากเพราะการเพาะเชื้อที่มีการแพร่กระจายสูง ก่อโรครุนแรง ต้องเพิ่มเชื้อภายในห้องปฏิบัติการนิรภัย มีการควบคุมอย่างดี เพราะจะดำเนินการแบบการผลิตวัคซีน จะสู่โรงงานแบบ mRNA ไม่ได้เพราะไม่ก่อโรคในคน การลดต้นทุนจะยากว่าการผลิตวัคซีนชนิดอื่นแต่ก็ถือว่าเป็นวิธีการดั้งเดิมที่ทำกันมา

นพ.ยงกล่าวว่า การผลิตวัคซีนจำนวน 1,000 หลายโดส จะด้วยรูปแบบ Viral Vector สู่เวคเตอร์ หรือ mRNA ต่างก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ซึ่งภายในระยะเวลา 1 ปีที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนมากกว่า 200 แห่ง และมีวัคซีนเข้าวิน ถึงจุดหมายผ่านระยะที่ 3 ให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินคือ 3 กรุ๊ปหรือ 8 ตัว ของ 8 บริษัท คือ 1.mRNA ของ บ.โมเดอร์นาฯ และ บ.ไฟเซอร์ฯ 2.Viral Vector ของ บ.แอสตร้าเซนเนก้า สปุตนิก 5 และจืน บ.แคนไซโน และ 3.วัคซีนเชื้อตาย ที่เข้ามาคือ 1.ไซโนแวค และไซโนฟาร์ม ที่ผ่านและยอมให้ขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน ทั้

งนี้การพัฒนาและผลิตวัคซีนชนิดใหม่จะใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี แต่ขณะนี้ใช้เวลา 1 ปี ซึ่งการศึกษายังไม่สิ้นสุด แต่มีความจำเป็นต้องนำมายับยั้งโรคระบาดเพราะคำนึงถึงผลดีมากกว่าผลร้าย ซึ่งสามารถนำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ แต่การใช้ในภาวะปกติความปลอดภัยของวัคซีนจะอยู่ที่ 99 %หรือ ปลอดภัย 100 %

เทียบข้อดี-เสีย

นพ.ยง กล่าวว่า การจัดหาวัคซีนในขณะนี้ ภาพรวมของตลาดคือ ขณะนี้ตลาดวัคซีนเป็นของผู้ขายเพราะวัคซีนมีความขาดแคลน แต่ในอีกระยะเวลา 1 ปี วัคซีนผลิตได้มากขึ้นตลาดก็จะกลับมาเป็นของผู้ซื้อ ก็จะเลือกวัคซีนได้มากขึ้น

ทั่วโลกมีคนประมาณ 7,000 ล้านคน ทุกคนต่างก็ต้องการวัคซีน ซึ่งมีผู้ที่มีวัคซีนจำนวนไม่มากนักแต่ความต้องการมีเป็นจำนวนมาก ก็ต้องแย่งกัน ใครมีเพาเวอร์ เงินก็จะแตกต่างกันแน่นอน แต่โดยความเห็นขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ว่า วัคซีนใดก็ตามหากมีประสิทธิภาพเกิน 50 % ก็ยอมรับได้ ถามว่าเราอยากได้ 100 % แน่นอนว่าอยากได้ แต่บางครั้ง การยึดติดกับตัวเลขว่า บ.นั้นกี่ % แต่บอกไว้เสมอว่าไม่ให้ยึดติดกับตัวเลข ให้ยึดติดกับความจริง

นพ.ยง ยังอธิบายว่า ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนต่าง ๆ นั้น นอกจากจะดูตัวเลขแล้วยังต้องดูว่า ได้มาอย่างไร กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษา ตัวอย่างในอดีต เช่น วัคซีน HIV เมื่อนำมาใช้ที่ได้ประสิทธิภาพ 30 % แต่วัคซีนตัวเดียวกันนี้ เมื่อนำไปใช้ในประเทศแอฟริกากลับมีประสิทธิภาพ 0 % เพราะแอฟริกามีความเสี่ยงสูงกว่า ซึ่งการทำการศึกษาในกลุ่มประชาชนความเสี่ยงสูงประสิทธิภาพของวัคซีนจะต่ำกว่าปกติ

ขณะที่วัคซีนท้องเสียโรตา ในเด็ก ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาในแอฟริกาหรือประเทศรายได้ต่ำ ประสิทธิภาพต่ำกว่า 50 % แต่สามารถป้องกันอาการท้องเสียอย่างรุนแรง และลดการเสียชีวิตได้ แต่ประสิทธิภาพป้องกันโรคต่ำกว่า 50 % แต่วัคซีนตัวเดียวกันเมื่อนำไปใช้ที่ประเทศยุโรปที่มีความเสี่ยงต่ำ ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโรคก็จะสูงอยู่ที่ 80 %

เมื่อใดก็ตามที่ไปทดลองในกลุ่มเสี่ยง ประสิทธิภาพวัคซีนจะต่ำกว่า ขณะที่ กรณีวัคซีนไซโนแวค ที่พบว่ามีประสิทธิภาพการศึกษาในตุรกีอยู่ที่ 90 % ในประเทศอินโดนีเซีย ได้ประสิทธิภาพ 60 % ขณะที่ประเทศบราซิล ครั้งแรกประสิทธิภาพ 70 % ต่อมาอยู่ที่ 50 % ซึ่งเมื่อไปดูในรายละเอียดเมื่อพบว่ากลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นประสิทธิภาพเมื่อหารออกมาจึงลดต่ำลง เปรียบเทียบกับตุรกีที่ใช้วัคซีนกับประชาชนทั่วไปจึงมีประสิทธิภาพจึงสูง

รวมถึงอีกกรณี เช่นวัคซีนท้องเสียวัคซีนท้องเสียโรตาในแอฟริกา ประเทศเมารี ที่ต้องดำเนินการใช้วัคซีนเพราะแม้จะป้องกันโรคไม่ได้แต่ป้องกันความรุนแรง ของโรคได้ ป้องกันการเสียชีวิตจากโรค ทั้งนี้ ตัวเลขของการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 มี 3 รูปแบบ คือ 1.วัคซีนป้องกันการติดเชื้อของ COVID-19 2.ติดเชื้อ COVID-19 ได้แต่ไม่เป็นโรค ไม่มีอาการ เช่น กรณี วัคซีนคอตีบ ที่ไม่ป่วยโรคคอตีบ แต่สามารถติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ 3.การฉีดแล้วป้องกันการเป็นโรคน้อย แต่โรคนั้นไม่รุนแรงหรือเป็นแล้วไม่เสียชีวิต วัคซีนท้องเสียโรตา วัคซีนไข้เลือดออกที่ไม่ได้ป้องกันแต่ป้องกันความรุนแรงไม่ถึงนอนโรงพยาบาล

ขึ้นอยู่กับว่าเรามองประสิทธิภาพในระดับไหน ป้องกันการติดโรค หรือลดการต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งตัวอย่างเช่น วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 50 % แต่ป้องกันการเสียชีวิตตายหรือนอนโรงพยาบาล 100 % ซึ่งต้องการข้อมูลดิบที่บอกแบบนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อมูลนี้ และข้อมูลการใช้วัคซีนเชื้อตาย ของ บ.ไซโนฟาร์มที่ประเทศยูเออีประสิทธิภาพ 86 %

 

ขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 30 ล้านโดส ใน 30 ล้านโดสมี 2 กลุ่มที่ฉีดมากในหลายประเทศคือ 1.วัคซีนเชื้อตายของจีนมีการฉีดในบาห์เรนกว่า 10 ล้านโดส และ 2.วัคซีน mRND ที่มีการฉีดมากสุด ของ บ.ไฟเซอร์ฯ จำนวน 10 ล้านโดส

แนะเจรจาทดลองก่อนฉีดให้คนไทย

นพ.ยง ยังกล่าวว่า ในความเห็นผมขณะนี้ถือเป็นเวลาที่ดี เพราะวัคซีนของ บ.ซิโนแวค จะเข้ามาในประเทศไทยในช่วงเดือน ก.พ.นี้ การได้วัคซีนมาทดลองก่อน และตรวจดูภูมิคุ้มกันว่าเพิ่มในระดับที่พอใจหรือไม่ ดังนั้นจึงขอฝากไปยังรัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ระหว่างนี้ควรมีการเจรจาขอวัคซีนมาศึกษาก่อน หรือ วัคซีนของ บ.ต่าง ๆ เพราะเชื้อชาติมีผล รวมถึงอาการข้างเคียงต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ผ่าน อย.คือ ในรูปแบบของเพื่อศึกษาและเพื่อใช้ ซึ่งการมีข้อมูลก่อนที่จะนำวัคซีนมาฉีดย่อมจะดีกว่าการที่ไม่มีข้อมูลเลย

นพ.ยง ยังระบุถึงการ ทำแบบสอบถามทางออนไลน์ถึงความต้องการในการรับวัคซีน COVID-19 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 33,000 กว่าคน และครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งผลสำรวจพบว่าถ้ามีวัคซีน วัคซีน COVID-19 เข้ามาแล้วฉีดให้ฟรีจะฉีดหรือไม่ ส่วนใหญ่ 55 % จะฉีด โดยผู้ที่ตอบว่าไม่ฉีดแน่นอน 5 %

ใครควรฉีด ?

นพ.ยง กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่จะตัดสินใจฉีดวัคซีนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เช่น หากมีอายุ 20 ปี โอกาสป่วยที่รุนแรงและเสียชีวิตก็จะน้อยกว่าผู้ที่มีอายุมากหรือ มีโรคประจำตัว หรือ การอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อน้อยกว่าการอยู่ในชุมชน ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนคือ ขณะที่กลุ่มแพทย์มีความเสี่ยง หรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นผู้ที่ยังแข็งแรงหรือเสี่ยงน้อยเช่น อายุ 20 ปี สามารถรอในช่วงที่มีการผลิตวัคซีน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถรอได้ ทั้งนี้การตัดสินใจฉีดวัคซีนหรือไม่จึงอยู่ที่แต่ละบุคคล

ทั้งนี้ ตามหลักระบาดวิทยา การฉีดวัคซีนจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 60 ของโลก รวมถึง กลยุทธ์ในการฉีดมีหลายรูปแบบทั้งฉีดที่ปลายทางคือ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือ ฉีดผู้ที่แพร่เชื้อง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง