กรณีครอบครัวของนายธีรภัทร์ ธีระพงศ์ไพบูลย์ วัย 27 ปี แจ้งติดตามและค้นหาเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นพบสัญญาณโทรศัพท์ครั้งสุดท้ายอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบันทั่วโลกใช้ระบบนำทางจากดาวเทียม จากหลายสัญชาติ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับสัญญาณเพื่อประมวลผลตำแหน่ง ในจุดที่อุปกรณ์รับสัญญาณอยู่ ปัจจุบันนี้ได้พัฒนาระบบนำทางด้วยดาวเทียมหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็น GPS ของสหรัฐอเมริกา โกลนาส ของรัสเซีย กาลิเลโอ ของยุโรป ไป่ตู้ ของจีน และของชาติอื่น ๆ
นายโกเมนทร์ พิบูลโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางสารสนเทศ บอกว่า ระบบนำทางอาจจะไม่ได้จะถูกต้องแบบเรียลไทม์ 100% เสมอไป เพราะยังมีหลายปัจจัยที่เทคโนโลยีทำงานร่วมกัน ผู้ใช้งาน ต้องช่วยดูและศึกษา เส้นทางระหว่างขับขี่ด้วย
ระบบนำทางที่ใช้อยู่ไม่ได้ถูกต้อง 100% แล้วแต่ชิบที่อยู่ในอุปกรณ์ของเรา เพราะจะมีความคลาดเคลื่อน 10-20%

โอกาสคลาดเคลื่อน 10-20%
นายโกเมนท์ กล่าวว่า ในแผนที่ของเราจะมีอีกตัวที่นำมาเปรียบเทียบคือมีแผนที่ และจีพีเอสนำมาซิงก์กันกับแผนที่ จะทำให้ได้ระบบแผนที่นำทางวิ่งไปทางเส้นทาง แต่มีหลายครั้งที่ชิบ และดาวเทียมมีความคลาดเคลื่อน รับสัญญาณผิดพลาด และทำให้ระยะทางคลาดเคลื่อนไปบ้าง 10-20 เมตร เช่น การสั่งให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา อาจจะเลี้ยวก่อน หรือเลี้ยวทีหลังได้
ดังนั้นจีพีเอสจึงไม่ 100% ต้องใช้แต่บางครั้งก็ต้องใช้วิจารณญาณของเราว่าตรงไหนควรเลี้ยว รวมทั้งหากขับรถเร็วไประบบจะไม่เรียลไทม์
เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในงานด้านสำรวจและการวิจัย รวมถึงการใช้เดินทางของประชาชนทั่วไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบศพแล้ว หนุ่มสุพรรณฯ ขับรถตกแม่น้ำเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์
แท็กที่เกี่ยวข้อง: