พัฒนาเซนเซอร์ยืดหยุ่นบันทึกการทำงานสมองมนุษย์ ช่วยวินิจฉัยโรค

Logo Thai PBS
พัฒนาเซนเซอร์ยืดหยุ่นบันทึกการทำงานสมองมนุษย์ ช่วยวินิจฉัยโรค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีมนักวิทยาศาสตร์ฯ พัฒนาเซนเซอร์ยืดหยุ่นบันทึกการทำงานของสมองมนุษย์ ช่วยการวินิจฉัยโรคอาการทางสมอง โดยสามารถตรวจสอบความละเอียดของสัญญาณสมองได้มากที่สุดในโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโกที่เคยประสบความสำเร็จในการพัฒนาเซนเซอร์ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ (ECoG) พัฒนาเซนเซอร์ยืดหยุ่นบันทึกการทำงานของสมองมนุษย์ ช่วยการวินิจฉัยโรคอาการทางสมอง รวมไปถึงการระบุเนื้อเยื่อที่เป็นต้นกำเนิดของโรคลมบ้าหมู โดยเซนเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบความละเอียดของสัญญาณสมองได้มากที่สุดในโลก

ความละเอียดในการระบุตำแหน่งของเนื้อเยื่อในสมองมนุษย์มีความสำคัญต่อการรักษาโรค ทีมนักวิทยาศาสตร์พัฒนาเซนเซอร์แพลทินัมระดับนาโนที่มีความละเอียดสูง ทดแทนเซนเซอร์แพลทินัมแบบแบนที่มีความละเอียดน้อยกว่า เซนเซอร์แพลทินัมระดับนาโนจำนวน 1,024 - 2,048 ตัว ได้รับการติดตั้งบนแผ่นบางที่มีความยืดหยุ่นสูงระยะห่างของเซนเซอร์แต่ละตัวอยู่ที่ 10 ไมโครเมตรหรือประมาณ 1 ใน 10 ของเส้นผมมนุษย์ โดยแผ่นเซนเซอร์ทั้งหมดได้รับการวางติดกับสมองของมนุษย์

ทีมนักวิทยาศาสตร์และทีมแพทย์ได้ทำการติดตั้งเซนเซอร์ลงไปในสมองผู้ป่วย 19 เพื่อบันทึกการทำงานของสมองมนุษย์ นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการศึกษาการทำงานของสมองมนุษย์และการวินิจฉัยโรค เป้าหมายในอนาคตทีมงานต้องการพัฒนาให้เซนเซอร์สามารถทำงานอยู่ในสมองมนุษย์ได้นานกว่า 30 วัน เพื่อการบันทึกข้อมูลการทำงานของสมองแบบละเอียดมากขึ้น

นอกจากเซนเซอร์สามารถบันทึกการทำงานของสมองมนุษย์ในอนาคตอาจสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของแขนขาเทียมสำหรับคนพิการ สามารถสั่งงานโดยตรงได้จากสมองผ่านระบบการสื่อสารแบบไร้สาย

ที่มาข้อมูลและภาพ: New Atlas
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง