ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." ภายใน 11 พ.ค.

การเมือง
10 พ.ค. 65
06:23
4,652
Logo Thai PBS
เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." ภายใน 11 พ.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก." ต้องทำภายใน 11 พ.ค.นี้ และหากไม่ได้ไปใช้สิทธิ ต้องทำอย่างไร

วันนี้ (10 พ.ค.2565) นับถอยหลังวัน เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 -17.00 น. ซึ่งทาง กรุงเทพมหานคร ได้เปิดให้ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนเพื่อใช้ในการค้นหา

ทำอย่างไร หากไม่มีชื่อ หรือมีชื่อผีในทะเบียนบ้าน

สำหรับการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง กรุงเทพมหานคร ได้ส่งจดหมายรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ประชาชนทราบทุกบ้านแล้ว หากพบว่าตนเองหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเขตเพื่อขอเพื่มชื่อ-ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปยื่นต่อสำนักงานเขตของตน ภายในวันที่ 11 พ.ค.นี้ 

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ย้ายเขตที่อยู่ต้องเลือกตั้งเขตไหน

ในกรณีที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ในกรุงเทพฯ เกิน 1 ปี แต่ย้ายเขตอาศัยไม่ครบ 1 ปี จะมีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ในเขตที่อยู่ใหม่ แต่จะไม่มีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ในเขตที่อยู่ใหม่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องทำการขอเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ที่หน่วยเลือกตั้งตามเขตที่อยู่เดิม และต้องเลือกผู้สมัคร ส.ก.ในเขตที่อยู่เดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเดินทางไปใช้สิทธิทั้ง 2 เขต

ยกตัวอย่างเช่น เดิมนายเอ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดอนเมืองมากกว่า 1 ปี และได้ทำการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านที่เขตดอนเมืองมาอยู่เขตบางเขนได้ 6 เดือน นายเอจะมีชื่อผู้มีเสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ที่เขตบางเขน

และนายเอจะต้องทำการเพิ่มชื่อของตนเองเข้าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เขตดอนเมืองเพื่อให้ตนเองมีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ที่ท้องถิ่นเดิมที่นายเอเคยมีชื่อในทะเบียนบ้าน

 

หากไม่ได้ไปใช้สิทธิ ต้องทำอย่างไร

หากไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ต้องแจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อน หรือ หลังวันเลือกตั้งภายใน 7 วัน ดังนี้ 

- ก่อนวันเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 15 - 21 พ.ค. 2565

- หลังวันเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 23 - 29 พ.ค. 2565

ทั้งนี้ขอรับแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 31 หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยื่นต่อนายทะเบียนท้องถิ่นของตนเอง หรือมอบหมายผู้อื่น หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th หรือ www.ect.go.th

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ภาพ : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

เตือน 4.4 หมื่นคน ย้ายเขตไม่ถึง 1 ปี รีบแจ้งเพิ่มชื่อ 

ก่อนหน้านี้ ปลัด กทม. เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ครั้งนี้ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการการประมวลผลเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ในบัญชีรายชื่อระบุมีสิทธิเลือกตั้งเฉพาะ ผู้ว่าฯ กทม. เพียงอย่างเดียวมีจำนวนประมาณ 44,200 คน

เนื่องจากเป็นผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน และเป็นเหตุให้มีชื่อในทะเบียนบ้านปัจจุบันเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ หากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าว ประสงค์ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ก. ให้ไปยื่นคำขอเพิ่มชื่อ ตามแบบ ส.ถ.1/7 ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี ภายในวันที่ 11 พ.ค.นี้

สำหรับคุณสมบัติสำคัญของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ประกอบด้วย

- มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี

- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือเกิดก่อนวันที่ 24 พ.ค. 2547

- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อของตนเอง พร้อมหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้งให้เรียบร้อย จากหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งสำนักงานเขตได้จัดส่งให้ หรือตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ หากพบว่าชื่อของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งสำนักงานเขตที่ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งภายในวันที่กำหนด

สีบัตรเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ -ส.ก.

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ในครั้งนี้ ปลัด กทม. คาดหวังว่าจะมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าร้อยละ 70 ส่วนข้อสังเกตว่าประชาชนสับสนข้อมูลสีบัตรเลือกว่าเป็นสีไหนกันแน่ เพราะในแอปพลิเคชัน "สมาร์ต โหวต" ของ กกต. ระบุว่า บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็น" สีเหลือง" บัตรเลือกตั้ง ส.ก. เป็น "สีฟ้า"

ปลัด กทม. ชี้แจงว่าไม่ใช่สีดังกล่าวเพราะบัตรเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ จะเป็น "สีน้ำตาล" และบัตรเลือกตั้ง ส.ก. เป็น "สีชมพู" แต่ยังไม่มีตัวอย่างให้ประชาชนดู เนื่องจากบัตรเลือกตั้งจะเสร็จวันที่ 12 พ.ค.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม."สีน้ำตาล"- ส.ก."สีชมพู" ได้เห็น 12 พ.ค. 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง