AI สำรวจโซเชียลสะท้อนอุณหภูมิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม."

การเมือง
12 พ.ค. 65
06:25
376
Logo Thai PBS
AI สำรวจโซเชียลสะท้อนอุณหภูมิเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม."
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จับกระแสคนไทยตื่นตัวเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯ กทม." โดย "บิสกิจ โซลูชั่น" ใช้ AI สำรวจความเห็นในโซเชียลมีเดีย มีข้อความเกี่ยวกับเลือกตั้งกว่า 4 ล้านคำ ช่วง 21 มี.ค.-7 พ.ค.65

วันนี้ (12 พ.ค.2565) บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด หรือ BIZCUIT ใช้ AI สำรวจความเห็นในโซเชียลมีเดีย เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้งทาง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป มีข้อความเกี่ยวกับเลือกตั้งกว่า 4 ล้านคำ ช่วง 21 มี.ค.-7 พ.ค.

เฟซบุ๊ก เฉพาะเพจข่าว มีข้อความเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กว่า 80,000 ข้อความ จาก 849 โพสต์ 3 อันแรกที่คนพูดถึง คือ พล.ต.อ.อัศวิน, นายสุชัชวีร์, นายชัชชาติ

ข้อสังเกต คือ พล.ต.อ.อัศวิน แม้จะมีคนพูดถึงในเพจข่าวจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่สนับสนุน (สีแดง) มีผู้สนับสนุนเพียง 13% จากข้อความทั้งหมด ต่างจากนายสุชัชวีร์ และนายชัชชาติ ที่คนพูดถึงเป็นผู้สนับสนุน (สีเขียว) และเมื่อไปดูเพจของแต่ละคน คอมเมนท์ส่วนใหญ่พูดถึงตัวบุคคลเป็นหลัก แต่พูดถึงนโยบายน้อย 

 

ส่วนยูทูป เป็นการสำรวจผู้ชมดีเบตผ่านรายการ "9 ปีตามหาผู้ว่าฯ เลือกตั้ง" 3 อันดับแรกพูดถึง นายวิโรจน์, พล.ต.อ.อัศวิน, นายชัชชาติ

ข้อสังเกตกรณีเวทีดีเบต นายวิโรจน์ และนายชัชชาติ ถูกพูดถึงในเชิงบวก (สีเขียว) แต่ พล.ต.อ.อัศวิน ถูกพูดถึงในเชิงลบ ข้อความทั้งหมด 74% เป็นเชิงลบ (สีแดง)

 

ส่วนในทวิตเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน 2 ช่วง เช่น วันที่ 28 - 29 เม.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการดีเบตผ่านเวทีช่องหนึ่ง ทำให้ในทวิตเตอร์มีการพูดถึง 4 ชื่อ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อันดับ 1 คือ นายโรจน์ รองลงมาคือ นายชัชชาติ, พล.ต.อ.อัศวิน, นายสุชัชวีร์ ส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงในเชิงบวก มีเฉพาะ พล.ต.อ.อัศวิน ที่ถูกพูดถึงในเชิงลบเป็นส่วนใหญ่

ข้อสรุป ทุกแพลตฟอร์ม นายวิโรจน์ นายชัชชาติ นายสุชัชวีร์ ถูกพูดถึงในเชิงบวก แต่ พล.ต.อ.อัศวิน มีการพูดถึงมากแต่เสียเปรียบเพราะเป็นการพูดถึงในเชิงลบ 

 

นายสุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด หรือ BIZCUIT เปิดเผยว่า BIZCUIT ใช้ AI NLU ด้านการเลือกตั้งมาวิเคราะห์ผลจาก ในทวิตเตอร์ ซึ่งเลือกดึงมาวิเคราะห์โดยใช้คีย์เวิร์ด และ แฮชแท็ก เป็นเงื่อนไขแรกในการดึงข้อมูลทั้งสิ้น 37,356 ข้อความ เข้ามาวิเคราะห์ ซึ่งรวมจำนวนทวีต และรีไพล ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. - 7 พ.ค. 2565

และจากกระแสในการดีเบตในวันที่ 28 เม.ย. ได้มีการเลือกดึงในยูทูป โพสต์ ของการดีเบตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ของ YouTube Channel 3 News โดยวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีมากกว่า 3,000 ความคิดเห็น

นอกจากนี้ ในเฟซบุ๊กได้เลือกดึงข้อมูลจากเพจข่าวต่างๆ และเพจของผู้สมัครเอง เพื่อดูปริมาณข่าวที่ถูกพูดถึงและการแสดงความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. - 6 พ.ค. โดยดึงจากเพจข่าวทั่วไป วิเคราะห์จำนวน 849 โพสต์และ 85,577 ความคิดเห็น ส่วนของโพสต์จากเพจผู้สมัครเองจำนวน 499 โพสต์ มีผู้แสดงความคิดเห็นรวม 89,176 ความคิดเห็น

AI NLU สามารถที่จะบอกได้ว่าผู้สมัครแต่ละท่านกำลังถูกพูดถึงในแง่มุมไหน ด้วยความรู้สึกอย่างไร และมีเจตนาอยากสนับสนุนผู้สมัครหรือไม่


นายสุทธิพันธุ์ กล่าวว่า การนำ AI มาใช้ในการเข้าใจภาษาไทย แม้จะเป็นภาษาบนโลกออนไลน์ที่มีรูปแบบไม่ตายตัวนั้นก็สามารถทำได้ โดยทีมงานด้านการพัฒนา NLU ภาษาไทยของ BIZCUIT ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการพัฒนาความสามารถในหมวดการเลือกตั้งขึ้นมา

ขณะนี้มีระดับความแม่นยำโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 70-83% ตามแต่ประเภทของ AI โดยการวิเคราะห์เจตนาการแสดงความคิดนั้น (Intention) แม่นยำอยู่ในระดับ 72 % และยังสามารถพัฒนาต่อยอดเพิ่มความแม่นยำได้อีก เมื่อมีปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น รวมทั้งปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทที่เปลี่ยนไปของเหตุการณ์บ้านเมืองได้อีก

สำหรับการศึกษาข้อมูลในครั้งนี้ BIZCUIT มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อการอธิบายปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้น โดยผลการศึกษานั้นไม่ใช่การคาดการณ์หรือใช้เป็นตัวแทนผลการเลือกตั้งได้ทั้งหมด เนื่องจากมีอีกหลายปัจจัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลพระปกเกล้า ชี้คนกรุงอยากให้ผู้ว่าคนใหม่ แก้ "ขนส่งสาธารณะ-จราจร"

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง