ยูเนสโกขึ้นทะเบียน " baguettes" มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ไลฟ์สไตล์
1 ธ.ค. 65
15:24
1,459
Logo Thai PBS
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน " baguettes" มรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ยูเนสโกขึ้นทะเบียนกรรมวิธีการการทำขนมปัง "บาแกตต์" ของฝรั่งเศส เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พบเอกลักษณ์เฉพาะมาตั้งแต่ยุคกลางศตวรรษที่ 19

วันนี้ (1 ธ.ค.2565) เว็บไซต์ของยูเนสโก รายงานว่า ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีมติระหว่างการประชุมในสัปดาห์นี้ ที่กรุงราบัต เมืองหลวงของโมร็อกโก ขึ้นทะเบียน “กรรมวิธีและวัฒนธรรมขนมปัง French baguettes” ของฝรั่งเศส เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ข้อมูลระบุว่า บาแกตต์ เป็นขนมปังที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส และทำจากส่วนผสมเพียง 4 อย่าง ได้แก่ แป้ง น้ำ เกลือ รวมทั้งส่าเหล้า และยีสต์ โดยต้องใช้ความรู้และเทคนิคเฉพาะ พวกเขาอบตลอดทั้งวันเป็นชุดเล็ก ๆ และผลิตภัณฑ์จะแตกต่างกันไปตามอุณหภูมิและความชื้น

กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมเกี่ยวข้องกับขั้นตอนที่รวมถึงการชั่งน้ำหนัก และการผสมส่วนผสม การนวด การหมัก และการขึ้นรูป และทำเครื่องหมายแป้งด้วยตนเองด้วยการตัดตื้น ซึ่งเรียกว่าซิกเนเจอร์ของคนทำขนมปัง

ภาพ: Brendan Smialowski / AFP

ภาพ: Brendan Smialowski / AFP

ภาพ: Brendan Smialowski / AFP

นอกจากนี้ยังมีการบริโภคและการปฏิบัติทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับขนมปังบาแกตต์ที่แตกต่างจากขนมปังประเภทอื่นๆ เช่น การไปที่ร้านเบเกอรี่ทุกวันเพื่อซื้อขนมปัง และชั้นวางโชว์เฉพาะเพื่อให้เหมาะกับรูปทรงยาวของขนมปัง

ทั้งนี้ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานธิบดีฝรั่งเศส ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ ระหว่างงานเลี้ยงต้อนรับชุมชนชาวฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา ณ สถานทูตฝรั่งเศสในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.เมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา หลังรับทราบข่าวการได้รับขึ้นทะเบียนมรดกโลก 

ทำไม  จึงทำเป็นแท่งยาว? 

ข้อมูลจากชมรมภาษาตะวันตก ม.รามคำแหง ระบุว่า "บาแก็ตต์" (Baguette) ที่มีความหมายว่า "แท่งไม้" ตามรูปลักษณ์ของมัน เอกลักษณ์ของมันคือความกรอบของเปลือก บาแก็ตต์ ผิดกับขนมปังทั่วไปตรงความกรอบนอกนุ่มใน ทำให้เวลาผ่าตัด หรือเฉือนเป็นส่วนๆ ทำได้ง่าย และขนมปังไม่เสียรูป

บาแก็ตต์เป็นขนมปังที่คนฝรั่งเศสกินกันอย่างแพร่หลายจนแทบจะกลายเป็นขนมปังประจำชาติ ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกบาแก็ตต์ว่า "ขนมปังฝรั่งเศส" แต่จริงๆ แล้ว ต้นกำเนิดของบาแก็ตต์ไม่ใช่ของฝรั่งเศสแท้ ๆ หากมันมีต้นกำเนิดจากเมือง "เวียนนา" ประเทศออสเตรีย ในช่วงประมาณยุคกลางศตวรรษที่ 19

ขนมปังฝรั่งเศสจริงๆ แบบดั้งเดิมคือ "บูล" (Boule) เป็นขนมปังกลมๆ ใหญ่ๆ ซึ่งขนมปังบูลนี้ คนฝรั่งเศสกินกันมานานจนเป็นประวัติศาสตร์และเป็นที่มาของคำว่าเบเกอรี่ของ ภาษาฝรั่งเศสที่ออกเสียงว่า "บูลองเฌอฆรี" (Boulangerie) 

ภาพ :STEPHANE DE SAKUTIN / AFP

ภาพ :STEPHANE DE SAKUTIN / AFP

ภาพ :STEPHANE DE SAKUTIN / AFP

เหตุที่คนฝรั่งเศสหันมากินบาแก็ตต์แทนบูลกันทั้งประเทศ ก็เพราะรูปร่างที่ไม่เป็นก้อนอวบกลม ทำให้เนื้อขนมไม่สุกจนเกินไป และความกรอบของผิวพอดีกับความหยุ่นของเนื้อขนม อย่างที่ภาษาขนมปังเรียกว่าได้ส่วนกันระหว่าง "เปลือก" และ "ปุย" คืออร่อยกว่า หรือเนื้อถูกปากกว่า

นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ.1920 ประเทศฝรั่งเศส เคยมีกฎหมายแปลกๆ คือห้ามคนทำงานก่อนตี 4 ทำให้การอบขนมปังบูลไม่ทันเวลาเปิดร้าน เพราะใช้เวลาอบนานกว่าบาแก็ตต์ จึงได้มีการออกแบบรูปทรงของขนมปังใหม่ให้สามารถทำและอบสุกได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาของผู้คนที่จะมาซื้อขนมปังไปรับประทานในเวลาเช้า และรูปทรงใหม่นี้ เหมาะแก่การหั่นทำแซนวิชได้เร็วขึ้นอีกด้วย

ประวัติศาสตร์การกินขนมปังของฝรั่งเศสจึงพลิกโฉมไปนิยมกินบาแก็ตต์แท่งยาวจากออสเตรีย และนิยมสืบต่อมาจนกลายเป็นขนมปังประจำชาติด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง