"One Map" สางปมขัดแย้งอุทยานทับลาน

สิ่งแวดล้อม
24 ก.พ. 66
13:25
887
Logo Thai PBS
"One Map" สางปมขัดแย้งอุทยานทับลาน
ได้ข้อยุติ! สคทช.เคาะใช้ "One Map" สางปมขัดแย้งที่ดินพิพาทอุทยานทับลาน ยืนยันไม่เอื้อคดีรีสอร์ต 500 คดีรุกป่า ไม่ยกที่ดินหลวงให้เอกชน ชี้ขั้นตอนส่ง "นายกรัฐมนตรี" ประธานคทช.และครม.พิจารณา

คุณเคยไปพักรีสอร์ตรอบเขาใหญ่หรือไม่ เขาจับ 400 แห่งแทนที่จะไปดำเนินคดี แต่จะแก้ไขแก้เส้นอุทยานแห่งชาติให้กลับมาถูก

ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ทิ้งบอมบ์ลูกใหญ่คาใจนักอนุรักษ์มาเกือบ 1 สัปดาห์
แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าบอมบ์ลูกใหญ่ สะเก็ดระเบิดจะกระเด็นไปถึงใครได้บ้าง

แต่บทสรุปในการประชุมเมื่อวานนี้ (23 ก.พ.) คณะอนุกรรมการนโยบาย แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน ได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาที่ดินทับซ้อนแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้ข้อยุติว่า

เห็นชอบแนวทางการใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี 2543 ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี

หากขยายความเพิ่ม มติดังกล่าว ยังระบุอีกว่าจะไม่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อรูปคดีความต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมและการพิจารณาของศาลแต่อย่างใด 

นอกจากนี้ เห็นชอบพื้นที่ที่กันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก.จัดที่ดินให้กับประชาชนตามแนวทาง คทช. สำหรับพื้นที่ที่มีสภาพป่าที่ผนวกกลับ 110,000 ไร่ ให้ทส.พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม

และหลังจากที่ครม.เห็นชอบ ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ และส.ป.ก. ดำเนินการยืนยันหลักหมุดแนวเขตพ.ศ.2543 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน  

เรื่องนี้เป็นการพิจารณาตามคิว ต้องการแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อน กับในบัญชีที่รัฐถือ หากรวมกันจะมีมากกว่า 300 ล้านไร่ ซึ่งไม่ถูกต้อง ทั้งที่ในความเป็นจริงรัฐมีที่ดินกว่า 100 ล้านไร่ 

ระวิวรรณ ภูริเดช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) บอกว่า ที่ผ่านมามีการใช้แผนที่คนละสเกล แผนที่ไม่มีกฎกระทรวงแนบท้าย และสทคช.จะมีความชัดเจนในการใช้แผนที่ One Map 1:4000 เพื่อให้มีการพัฒนาในพื้นที่ ไม่เช่นนั่นที่ดินจะถูกแช่แข็งเอาไว้ เช่น เหมืองแร่จะขออนุญาตหน่วยงานไหน แนวคิดดังกล่าวทำให้แล้วเสร็จ ได้เริ่มมาหลายครั้งหลายยุค แต่ยังทำไม่ได้ข้อยุติ สคทช.รับมอบภารกิจมาจากกระทรวงยุติธรรม 

ต้องเคลียร์ริ่งที่ดินรัฐที่ซ้อนทับกัน และกลุ่มละ 11 จังหวัด เป้าหมาย 7 กลุ่ม โดย 2 กลุ่มผ่านครม.และกลุ่มที่ 3 มี 11 จังหวัดคือนครราชสีมา และอื่นๆ

ผอ.สคทช.ระบุอีกว่า คนเดือดร้อน คือชาวบ้านไม่รู้ว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใด เช่นระหว่าง ส.ป.ก.กับอุทยาน แล้วจะทำตามกฎหมายฉบับไหน หากใช้พื้นที่ทำการเกษตรจะทับซ้อนซ้อนทับที่ป่าไม้หรือไม่

หากถามว่าถ้าผ่านอนุกรรมการแล้วจะรีเซ็ตได้หรือไม่ ตามขั้นตอนยังไม่สามารถรีเซ็ตได้ ต้องเข้าพิจารณาใน คทช.ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐ มนตรี เป็นประธาน และครม.และดำเนินการปรับเส้น และถ้าครม.เห็นชอบก็จะมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวข้อง

โครงการวันแมบ จะมีกฎเกณฑ์มาตรการ และไทมไลน์ การประกาศว่าใครเป็นผู้ครอบครองก่อนหลัง และป่าไม้ อุทยานฯ ต้องปรับแผนที่แนบท้ายประกาศ และมอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำนินการตามอำนาจหน้าที่ในทางกฎหมายต้องปรับแผนที่แนบท้ายประกาศ และครม.ให้เวลา 360 วันในการปรับ พ.ร.ก.

ส่วนจะมีการกันพื้นที่รอบอุทยานแห่งชาติทับลานออกไป เพราะมีรีสอร์ตถึง 400-500 แห่งนั้น ผอ.สคทช.ระบุว่า แก้ปัญหาให้กับชาวบ้านไม่ได้อนุมัติให้นายทุน และเป็นไปไม่ได้จะยกที่ดินให้นายทุน

ทำตามหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐที่ซ้อนทับกันอยู่ ไม่ได้ให้ที่ดินกับเอกชนรายใด แต่เนื่องจากทับลาน เป็นพื้นที่เรื่องความมั่นคง แก้ปัญหาที่ดินทำกิน มีมติครม.หลายฉบับ ซึ่งมีปัญหามาก่อนหน้านี้

ยันไม่ยกที่ดินให้เอกชน 

เรื่องดังกล่าวเป็นข้อสรุปของ สคทช. แต่ยืนยันว่าที่ดินหลวงของรัฐจะไปอยู่ในมือเอกชนไม่ได้ และกฎหมายต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริงต้องทำอย่างเด็ดขาด ไม่มีใครจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ยืนยันว่าหลักคิด คือการจัดที่ดินของหลวงเท่านั้น คงไม่ได้ทำให้ที่หลวงกลายเป็นที่ดินเอกชนไปได้

One Map คือการจัดแผนที่ดินให้ต้องถูกต้องตามกฎหมาย 

ทั้งนี้ ปลัดทส.ระบุว่า กระทรวงฯ มอบนโยบายให้กรมอุทยานฯ แก้ไขปัญหา คดีเก่าที่ค้างและดำเนินการให้ถึงที่สุด ผิดคือผิด ถูกคือถูก จบ ทำแผนที่ของรัฐให้เป็นมาตราส่วนเดียวกัน แต่ถ้ามีการบุกรุกต้องว่ากันให้เสร็จสิ้น

ไม่ใช่แก้แนวเเขตเพื่อให้คดีหลุด คดีก็ต้องว่ากันไป เพราะคนที่ถือสิทธิ์แต่ละประเภท ต้องแผนที่ One Map พิสูจน์ความถูกต้อง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สคทช.กางไทม์ไลน์ One Map แก้ที่ดินทับลานกันออก 1.1 แสนไร่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง