“มหาวิทยาลัยไทย” ปลายทาง นศ.จีน ธุรกิจการศึกษากับอนาคตของคนรุ่นใหม่

สังคม
21 มี.ค. 66
13:41
1,371
Logo Thai PBS
“มหาวิทยาลัยไทย” ปลายทาง นศ.จีน ธุรกิจการศึกษากับอนาคตของคนรุ่นใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จำนวนนักศึกษาจีน ที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยของไทย ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและเอกชน มีอัตรามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด

ไทยกลายเป็นหมุดหมายสำคัญ ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา อันดับต้นๆ ของนักศึกษาจีน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยิ่งในช่วงหลังโควิด-19 ก็มีแนวโน้มที่นักศึกษาจีนทั้งหน้าใหม่หน้าเก่า จะเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยของไทยมากยิ่งขึ้น

หยาง เย่าหง หรือ วิน นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากจีน เอกวิชาภาษาไทย เข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นเวลา 1 ปี ละครไทย วัฒนธรรมไทย อาหารไทย เป็นสิ่งที่วินชื่นชอบ และทำให้เลือกศึกษาภาษาไทยด้วยตัวเอง ตั้งแต่อายุ 16 ปี

จนตอนนี้ ผ่านมา 7 ปีแล้ว วินได้เลือกเรียนวิชาเอกภาษาไทย และพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ต่างจากคนไทย

หยาง เย่าหง หรือ วิน นักศึกษาจีนในห้องเรียนภาษาไทย ที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

หยาง เย่าหง หรือ วิน นักศึกษาจีนในห้องเรียนภาษาไทย ที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

หยาง เย่าหง หรือ วิน นักศึกษาจีนในห้องเรียนภาษาไทย ที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

วิน ยังบอกว่า มหาวิทยาลัยในจีนหลายแห่ง เริ่มมีการเปิดสาขาวิชาภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น และมีนักศึกษาจีนให้ความสนใจจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจและการท่องเที่ยวในจีนหลายอย่าง มีความสัมพันธ์กับไทย จึงมีความต้องการคนที่พูดภาษาไทยได้เข้าทำงาน ยิ่งมีประสบการณ์มาเรียนที่ไทย ก็มีโอกาสได้งาน และรายได้ที่สูงขึ้น

เราเคยฝึกงานในบริษัทของจีน เป็นงานเกี่ยวกับ Tiktok เคยสัมผัสกับงานพวกนี้ ซึ่งเงินเดือนค่อนข้างสูง ก็เลยรู้สึกว่าอยากทำ ซึ่งงานนี้ต้องติดต่อสัมพันธ์กับคนไทย
สำนวน คำคม เป็นสิ่งที่วินและนักศึกษาจีนยังเข้าใจยาก

สำนวน คำคม เป็นสิ่งที่วินและนักศึกษาจีนยังเข้าใจยาก

สำนวน คำคม เป็นสิ่งที่วินและนักศึกษาจีนยังเข้าใจยาก

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของจีน มีการแข่งขันสูง ด้วยระบบ “Gaokao” (เกาเข่า) ที่สอบเพียงปีละครั้ง ทำให้คนจีนไม่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ปีละเกือบ 3 ล้านคน คนจำนวนมากจึงมุ่งหน้าเข้ามาเรียนที่ประเทศไทย

การเลือกมาศึกษาที่ไทย หรือต่างประเทศ จึงเป็นทางเลือก ที่จะทำให้ผู้ที่สอบไม่ผ่านเหล่านี้ มีที่นั่งในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะส่งผลต่อการมีงานทำของพวกเขาในอนาคต

หลี่อี๋ หรือ เรนี่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ม.ธุรกิจบัณฑิต

หลี่อี๋ หรือ เรนี่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ม.ธุรกิจบัณฑิต

หลี่อี๋ หรือ เรนี่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ม.ธุรกิจบัณฑิต

หลี่อี๋ หรือ เรนี่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ตามพ่อแม่ซึ่งมาทำงานในประเทศไทยกว่า 15 ปี มาเรียนมหาวิทยาลัยที่ไทย

ซึ่งมหาวิทยาลัยในจีนนอกจากการสอบเข้าที่มีการแข่งขันสูงแล้ว การเรียนการสอนก็ยังมีการแข่งขันสูงอีกด้วย ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยของไทย ที่การเรียนค่อนข้างผ่อนคลาย มีเวลาว่างให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมต่างๆ

ถ้าเรียนที่ไทย มีกิจกรรมเยอะ เวลาว่างทำกิจกรรมที่ชอบได้ เช่น เต้นรำ วาดภาพ แต่ที่จีนสอบเยอะ ไม่มีเวลาว่างเลย

เทอมนี้ เป็นเทอมสุดท้ายที่เรนี่ จะเรียนจบปริญญาตรีแล้ว เป้าหมายต่อไป เรนี่หวังว่า จะฝึกงานที่บริษัทในประเทศไทย และหางานทำต่อที่ไทยเหมือนกับพ่อกับแม่ แม้เงินเดือนอาจจะไม่สูงเหมือนกับที่จีน แต่ค่าครองชีพ ความเรียบง่ายของการใช้ชีวิต และช่องทางในการทำธุรกิจต่อยอดกับจีน ก็ทำให้เรนี่ อยากจะใช้ชีวิตที่ไทย

เรนี่ เตรียมสอบวิชาภาษาอังกฤษ

เรนี่ เตรียมสอบวิชาภาษาอังกฤษ

เรนี่ เตรียมสอบวิชาภาษาอังกฤษ

การเข้ามาของนักศึกษาจีน นำมาสู่ “ธุรกิจด้านการศึกษา” ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติจีน และนักวิจัย มหาวิทยาธุรกิจบัณฑิต มองว่า แม้ธุรกิจด้านนี้ จะไม่ใหญ่เท่าธุรกิจอื่น ๆ แต่ก็น่าจับตามองและมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักศึกษาจีน สนใจเข้ามาศึกษาต่อที่ไทยมากขึ้น

สำหรับวิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ปัจจุบันมีนักศึกษาจีนเข้าเรียน เกือบ 3,000 คน ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ส่วนใหญ่ในสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการท่องเที่ยวและโรงแรม มากเกือบครั้งหนึ่งของนักศึกษาไทย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่ถูกรับรองจากหน่วยงานด้านการศึกษาของจีน จึงเป็นที่ยอมรับของนักศึกษาจีน

ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติจีนและนักวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิต

ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติจีนและนักวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิต

ดร.เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติจีนและนักวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิต

หลายมณฑล หลายมหาวิทยาลัยมีโควต้า สัดส่วนการสอบเข้าของนักศึกษาจึงน้อย นักศึกษาที่เหนื่อยล้าจึงเลือกมาศึกษาที่ไทย เพราะระบบการศึกษาบ้านเราได้รับการยอมรับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง