วิจัยชี้เยาวชน 15-24 ปี กว่า 1.4 ล้านคน ไม่เรียน-ไม่ทำงาน

สังคม
28 มี.ค. 66
12:18
1,686
Logo Thai PBS
วิจัยชี้เยาวชน 15-24 ปี กว่า 1.4 ล้านคน ไม่เรียน-ไม่ทำงาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผลวิจัยชี้เยาวชนไทย อายุ 15-24 ปี กว่า 1.4 ล้านคน ไม่เรียน ไม่ทำงาน ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ เผยผลวิจัยเยาวชนไทย อายุ 15-24 ปี กว่า 1.4 ล้านคน ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และไม่ได้ทำงาน เสี่ยงส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจระยะยาว

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศไทย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดแรงงาน โดยผู้สูงอายุในไทยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทำให้แรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานลดลงต่อเนื่อง

ล่าสุด งานวิจัยที่ทำร่วมกันขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบกับข้อกังวลใหม่ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเยาวชน อายุ 15-24 ปี ที่ไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกอบรม หรือ เยาวชนกลุ่ม NEET (Youth Not in Employment, Education, or Training) ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตตามอัตภาพ และพึ่งพาอาศัยครอบครัว

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ข้อมูลล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO แสดงให้เห็นว่า มีเยาวชนกลุ่ม NEET ในไทย ถึง 1,400,000 คน ขณะที่จำนวนเยาวชนในตลาดแรงงานลดลงจากปี 2554 ที่มี 4,800,000 คน คงเหลือที่ 3,700,000 คน ในปี 2564 และอัตราการว่างงานของเด็กจบใหม่ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลปี 2564 มีผู้เรียนจบปริญญาตรีว่างงานสูงถึง 290,000 คน

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

ยูนิเซฟ-กระทรวงแรงงาน-จุฬาฯ ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม หรือ NEET

สาเหตุที่ทำให้เยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกอบรม มีหลายปัจจัยทับซ้อนกันอยู่ ทั้งระบบการศึกษาที่ยังทำให้เด็กมองไม่เห็นอนาคต จนเกิดความท้อ บางคนจึงเลิกเรียนกลางคัน ขณะที่ความยากจน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา

เพศยังเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสที่จะเป็นกลุ่ม NEET มากกว่าเพศชาย จากปัญหาการท้องไม่พร้อม การถูกจำกัดหน้าที่ให้เลี้ยงลูก และทำงานบ้าน

ขณะเดียวกัน เยาวชนที่มีโอกาสได้เรียนจนจบปริญญาตรีหลายคน ก็เข้ามาอยู่ในกลุ่ม NEET เนื่องจากทักษะที่เรียนจบมา ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือ บางคนเบื่อหน่ายกับระบบการทำงาน จึงเลือกที่จะไม่ทำงาน และไม่ศึกษาต่อ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มคนพิการ และกลุ่มไร้สัญชาติ ที่ถูกด้อยค่าจากสังคม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเรียน และเข้าทำงาน

รศ.ดร.รัตติยา ภูลออ รองคณบดี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.รัตติยา ภูลออ รองคณบดี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.รัตติยา ภูลออ รองคณบดี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.รัตติยา ภูลออ รองคณบดี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาเยาวชนไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกงาน แต่ปัญหานี้ กำลังเป็นเทรนด์โลกที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น

ผลที่ตามมาในอนาคต คือการถดถอยของสังคม และระบบเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชน และครอบครัว ยังไม่สามารถหาทางออกของปัญหานี้ได้

โรงเรียนเป็นพื้นฐานมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไม่ได้เห็นภาพตัวเองเรื่องการวางแผนอนาคต เรามีแต่แนะแนวอาชีพ แต่เราไม่ได้มีแนะแนวชีวิตประเมินเป็นช่วง ๆ จะต้องมองทั้งกระบวนการของชีวิตว่า เขาจะพัฒนาตัวเองตลอดทั้งชีวิตได้อย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง