ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตาทุจริตเลือกตั้งเหนือล่าง

ภูมิภาค
15:20
566
จับตาทุจริตเลือกตั้งเหนือล่าง
ภาคีพลเมืองสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ภาคเหนือตอนล่างร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กร โดยมีบทบาทหน้าที่ คืองานรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง งานตรวจสอบ งานสังเกตการณ์ และงานจับตาทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในกลุ่ม 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

นายประพจน์ ศรีเทศ ภาคีพลเมืองสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ภาคเหนือตอนล่าง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กร โดยมีบทบาทหน้าที่ คืองานรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง งานตรวจสอบ งานสังเกตการณ์ และงานจับตาทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในกลุ่ม 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มี ส.ส.36 เขตเลือกตั้ง มี 37 พรรคการเมืองเข้าร่วมแข่งขันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 บางจังหวัดมีพรรคการเมืองสมัครค่อนข้างเยอะ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ มี 16 พรรค จังหวัดพิษณุโลก 15 พรรค เป็นต้น พรรคหลักสมัครกันครบทุกพื้นที่


ใน 37 พรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีเพียงแค่ 6พรรคหลักเท่านั้นมีสิทธิ์ชนะการเลือกตั้ง เช่นพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคก้าวไกล ที่คาดว่าจะมีการแข่งขันกันอย่างจริงจัง และพรรคที่สอดแทรกเข้ามาบ้างคือ พรรคไทยสร้างไทย และพรรคชาติพัฒนากล้า เพราะฉะนั้นในแต่ละจังหวัดมีรูปแบบการหาเสียง คือ รูปแบบการชูนโยบายของพรรค โดยนำหัวหน้าพรรคหรือแกนนำของพรรคลงมาพบปะช่วยเหลือลูกพรรคในการหาเสียง รูปแบบการชูอุดมการณ์ทางการเมือง มีอยู่2ฝ่ายคือ ฝ่ายที่อ้างว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายอำนาจนิยมหรืออนุรักษ์นิยม ควบคู่กับการชูนโยบาย ลดแลกแจกแถม ตามที่ปรากฏ และมีการประกาศความพร้อมเป็นฝ่ายรัฐบาล ไม่มีใครประกาศพร้อมเป็นฝ่ายค้านเลย นี่คือความเข้มข้นของการเลือกตั้งในครั้งนี้


ในสนามการเลือกตั้งครั้งนี้ ในแต่ละจังหวัด เราพบว่ามีบางจังหวัด มีการแข่งขันที่เราใช้ว่า พื้นที่จับตามองในการแข่งขันที่เข้มข้นมาก รวมไปถึงตำรวจภูธรภาค 6 มีการแถลง พื้นที่จับตามองค่อนข้างเข้มข้น คือ จังหวัด พิจิตร 3 เขต และจังหวัดนครสวรรค์ด้วย


ในมิติมุมมองขององค์กรภาคประชาชน ภาคีพลเมือง เห็นว่าที่จังหวัดพิจิตร 3 เขต เนื่องจากว่าเป็นพื้นที่ของบ้านใหญ่ ขาใหญ่ ทั้ง 3 เขต มีความพร้อมและเป็นพรรคหลัก เข้มข้นในการหาเสียงทุกรูปแบบ และจะพบว่าจะมีผู้นำพรรคการเมือง ทั้งที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลหรือแกนนำพรรค ลงมาสู่ในจังหวัดที่พิจิตร ครบกันหมดเพราะว่า สถานะของผู้แข่งขันพอๆ กัน แพ้ไม่ได้ คาดว่าการต่อสู้ที่นี่ค่อนข้างเข้มข้น น่าจับตามอง รวมไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ก็เช่นเดียวกัน เพราะแกนนำหลักของพรรค มีการย้ายพรรค เพราะฉะนั้นการแข่งขันค่อนข้างเข้มข้นดุเดือด และเกรงว่าจะเกิดมีแรงปะทะ ของผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นการที่ตำรวจตั้งเป้าหมายเอาไว้ก็ถูกต้อง ตามนั้น แต่พื้นที่เข้มข้นทางการเลือกตั้ง มิใช่เฉพาะที่จังหวัดพิจิตรและนครสวรรค์เพียงอย่างเดียว และยังเกรงว่าจะมีพื้นที่ที่จังหวัดตากด้วย


จังหวัดตากมี 3 เขต พื้นที่น่าจับตามองในครั้งนี้ คือพื้นที่ เขต 1 และ 2 เนื่องจาก เขต 2 เป็นพื้นที่บ้านใหญ่ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ลงสมัคร จึงทำให้เกิดผู้สมัครขาใหม่ ขึ้นมาแข่งขันและเป็นพรรคหลัก ค่อนข้างเข้มข้นและจริงจัง ในการปักหลักลงในพื้นที่จังหวัดตาก เช่นเดียวกับเขต 1 มีการย้ายพรรค พรรคคู่แข่งขันก็เป็นถึงอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้ฐานเสียงสนับสนุน ที่แสดงท่าทีจริงจังต่อกัน ส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 เนื่องจากเป็นบ้านใหญ่ลงสมัคร และพรรคหลักลงครบหมด จากทั้งหมดที่สมัคร 15 พรรค และ 6-7 พรรคหลักมีสถานะที่จะได้ส.ส. จึงมีการแข่งขันค่อนข้างสูง จะเห็นได้ว่าผู้นำพรรคที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล หมุนเวียนกันมาที่นี่ รวมถึงแกนนำพรรคอีกฝ่ายก็ลงมาที่นี่ มันนำไปสู่การตื่นตัวของผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายที่อ้างว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ของฝ่ายค้าน และฝ่ายอำนาจนิยมหรืออนุรักษ์นิยม ก็มีการแข่งขันค่อนข้างสูง และพฤติกรรมที่เราเห็นว่าจะรวมกัน เว้นจังหวัดกำแพงเพชรมีดิวกัน เนื่องจากทุกพรรคในภาคเหนือตอนล่าง พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ส่งคนสมัครลงที่จังหวัดกำแพงเพชร คาดว่าจะมีการดิวกันกับคนในพื้นที่ จึงเว้นไม่ส่งคนลงสมัครเป็นปัจจัยในการแข่งขันกัน อย่างไรก็ตามจากรวมๆ เหล่านี้ เรามาดูในสนามการแข่งขันการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสนามการแข่งขัน ปัจจัยหลักคือ 4 เสาหลักแค่นั้นเอง ก่อนที่จะนำไปสู่การพบเห็น ที่พฤติกรรมการแสดงออก ถึงการแข่งขันและนำไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียง ในรูปแบบต่างๆ


อันที่หนึ่ง บทบาทของ กกต.ครั้งนี้ เราจับตาดู ไม่ใช่ผู้สมัครและพรรคการเมือง การซื้อสิทธิขายเสียง เกรงว่าจะผิดกฎกติกา แต่ครั้งนี้ประชาชนจับตา กกต.ด้วย คิดว่าวางตัวเป็นกลางหรือไม่ และแสดงออกถึงคำมั่น ในการจัดการเลือกตั้ง ให้บริสุทธิ์ โปร่งใส ได้หรือไม่อย่างไร อันนี้สังคมตรวจสอบและจับตาดูอยู่


และอีกส่วนหนึ่งก็คือ ที่มีบทบาทมากในการจัดการเลือกตั้ง คืออำนาจกลไกรัฐของแต่ละจังหวัด เช่นมหาดไทย ผู้ว่าราชาการจังหวัด และนายอำเภอ มีภาระบทบาทรับมอบหมายมาจาก กกต. ในการจัด กกต.เขต กปน.และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กกต. เพราะฉะนั้นบทบาทการจัดการเลือกตั้ง ที่แท้จริง คืออยู่ในฝ่ายอำนาจรัฐ ฝ่ายปกครอง ซึ่งสังคมก็ห่วงใย ว่าจะดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยหรือไม่ ในประเด็นของการนับคะแนน รวมคะแนนเป็นต้น หรือเป็นกลางหรือไม่อย่างไร แล้วเราจะมาตรวจสอบอีกทีว่า พฤติกรรมมันบ่งบอกออกมาที่สังคม ไม่ไว้วางใจหรือห่วงใย ประเด็นในเชิงทุจริตต่างๆ หรือไม่


ส่วนที่สาม ผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ลงแข่งขัน เราพบว่าในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดพิษณุโลก หรือ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีพฤติกรรมที่ชาวบ้านบอกว่า มันเป็นการทุจริต เมื่อก่อนเราบอกว่าทุจริต การซื้อสิทธิขายเสียง ในส่วนของชาวบ้านหรือหัวคะแนนไปซื้อเสียง แต่ครั้งนี้ก่อนจะมีการสมัคร มันมีการทุจริต ประพฤติมิชอบหรือใช้กลโกงอิทธิพล ให้ส.ส.จากพรรคหนึ่งย้ายมาอีกพรรคหนึ่ง เป็นการทุจริตก่อนสมัคร รวมไปถึงผู้เป็นดาวเด่น ดาวรุ่งในท้องถิ่น ก็ถูกโน้มน้าวให้มาสมัครกับพรรคของตนเอง จนชาวบ้านตั้งข้อสงสัยว่า ไปลงสมัครกับพรรคนั้นได้อย่างไร กับพฤติกรรมที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้แสดงออกอีกด้านหนึ่ง บทบาทหนึ่ง แต่กลับไปลงสมัครอีกพรรคหนึ่ง ขัดตาขัดใจ ความรู้สึกของชาวบ้าน สรุปก็คือ มีการทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือใช้กลโกง ซื้อก่อนสมัครรับเลือกตั้งยกหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินเยอะพอสมควร ตามที่สังคมเข้าใจหรือรับรู้ในเชิงของคำว่า งูเห่าย้ายพรรค


ในส่วนของประชาชนครั้งนี้ ซึ่งเป็นประชาชนภาคอาสา ไม่มีเงินงบประมาณสนับสนุน ก็ทำให้เกิดภาคีต่างๆ ในการเฝ้าระวัง ยกตัวอย่างเช่น ในส่วนของภาคประชาชนใหญ่ๆ ดีใจที่มีสื่อหลักรวมตัวกันในนามของ สมาคมสื่อดิจิตอล กับพันธมิตร 50 องค์กรหลัก บวกกับภาคีภาคประชาชนส่วนต่างๆ มารวมกัน ในการที่จัดหาอาสาสมัคร 100,000 คน เพื่อจับตาเฝ้าดูผลการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง ขณะนี้สมาคมสื่อดิจิตอลและภาคีคนสื่อทั้งหมด ภาคประชาชน รวมกันด้วยความเรียบร้อย


ส่วนภาคีพลเมืองสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ภาคเหนือตอนล่าง ได้รับแจ้ง พบเห็นรู้จากส่วนต่างๆ เข้ามา เรื่องการทุจรติขายเสียง ในรูปแบบต่างๆ ใหม่ๆ ต่างไปจากเก่าอย่างไรบ้าง สรุปจนถึง ณ เวลานี้ ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนมีการเลือกตั้ง สิ่งที่เราพบ คือการเอาเงินไปซื้อสิทธิขายเสียงเป็นปกติ แต่สิ่งที่เราพบรูปแบบใหม่ ในการเลือกตั้งปี 66 ครั้งนี้ อยู่หลายประการ


1.พบว่ามี ผู้สมัครในพรรคของคู่แข่งของตนเอง ไปจดรายชื่อและสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ซื้อเสียง นัดมาจ่ายเงินแต่ก็ไม่มาจ่าย ให้กับชาวบ้านที่รวบรวมรายชื่อหรือจดรายชื่อไปแล้ว ทำให้ชาวบ้านโมโหและโกธร ว่าเป็นผู้แทนผู้สมัครที่สัญญาว่า จะนำเอาเงินมาให้แล้วไม่เอาเงินมาให้ ทำให้ชาวบ้านโกธรผู้สมัครที่แอบอ้างชื่อ ผู้สมัครและผู้สนับสนุนอีกพรรคหนึ่ง ก็ไปบอกกับชาวบ้านว่าไม่มีนโยบาย ไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เห็น จึงนำเอาข้อมูลนี้มาบอกกล่าวว่า เป็นการแอบอ้าง มีการซื้อเสียงและไม่ไปจ่ายเงิน ทำให้ตัวของผู้สมัครและพรรคได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นพรรคที่กระแสกำลังมาแรง จึงสังเกตได้ว่า กลยุทธ์นี้ เป็นพรรคที่มีผลโพลสูง เป็นการใช้กลยุทธ์เด็ดพาย ที่จะเจาะตัดคะแนนของคู่แข่ง ข้อสังเกตเราพบว่า ในพื้นที่ เขต 2 จังหวัดพิษณุโลก และบางจังหวัดก็ใช้กลยุทธ์นี้ พิเคราะห์แล้วว่าทำไมจึงเกิดขึ้นหลายจังหวัด รูปแบบใกล้เคียงกัน จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการวางกลยุทธ์ ของคู่แข่งเพื่อ ตัดฐานคะแนน ของพรรคที่มีฐานเสียงหรือได้รับความนิยม ในพื้นที่นั้นๆ ลงไป นี่คือรูปแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อน จึงอยากฝากว่าการใช้กลยุทธ์นี้อยากให้ยุติ อยากให้หาเสียงกันอย่างตรงไปตรงมา

2.พบว่า กลไกลภาครัฐ ทั้งก่อนสมัคร หรือหลังสมัคร ช่วงเวลานี้ ก่อนสมัครใช้ฐานเสียง กลไกลภาคีรัฐสนับสนุน เอื้อให้ผู้สมัคร ที่มาในนามของพรรค พบปะประชาชน มีตำแหน่งใหญ่โต ก็เอื้อขนคน ผู้นำชุมชนไปต้อนรับ อันนี้ ตนเองคิดว่าควรลดและเลิก ไม่อยากจะเห็นภาพอันนี้เกิดขึ้น ให้ฟรีแอนด์แฟร์การหาเสียง


ในส่วนต่อมาเราพบว่า ที่น่าสำคัญและหลากหลาย วิตกกังวลสำหรับคนที่เฝ้าจับตาทุจริตการเลือกตั้งครั้งนี้ คือบางพรรคเป็นพรรคใหญ่ และบทบาท ในหน่วยงานหลักที่ดูแลอยู่ ใช้ภาคกลไกลอาสาสมัครของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานในด้านสุขภาพอนามัย ไปทำหน้าที่ฐานเสียง หัวคะแนนหลัก ครบเกือบทุกจังหวัด ซึ่งน่าเสียใจ กลไกลภาคีหน่วยงานรัฐ ที่ยอมไปเป็นหัวคะแนน ฐานเสียง จดรายชื่อ ซื้อเสียง สนับสนุน เกื้อหนุน ทำงานอย่างแข็งขัน คล้ายกับเป็นตัวแทน ของพรรคการเมืองนั้นไป ในฐานะของตนเองเป็นอาสาสมัคร องค์กรภาครัฐ อยากให้ยุติและทบทวนในอนาคตว่า หน่วยงานนี้เป็นอย่างไร


ต่อมาคือเรื่องการขนคน ซื้อสิทธิขายเสียง เวลาผู้สมัครหรือตัวแทนพรรคมาปราศรัย พบปะประชาชนในเขตเลือกตั้งต่างๆ ก็จะมีการให้หัวคะแนนขนคนขึ้นรถกระบะนำมา แล้วจ่ายเป็นค่าพาหนะเดินทาง อันนี้พบเยอะทั้งในตัวเมืองและต่างอำเภอ เกือบจะทุกพรรค ที่มีการระดมคนเข้ามา แล้วอ้างว่าเป็นค่าตอบแทน ซึ่งจะมีการจดชื่อและมอบผ่าน ตัวแทนผู้ประสานงานของแต่ละกลุ่ม จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนไป เหล่านี้คือรูปแบบปกติ ส่วนข้อห่วงใย อยากฝากบอกผู้คนและสังคม ช่วยกันตระหนักคือ

1.เราพบว่าเงินไปซื้อสิทธิ์ขายเสียง จำนวนหลัก 100-500 หรือ 1,000 บาท อยากให้มีความเข้มงวด หรือมีกฎกติกาว่าไปเบิกถอน จากสถาบันหน่วยงานของรัฐ น่าจะมีหน่วยงานใดสื่อสาร ว่าเบิกถอนจำนวนมากๆ ง่ายเกินไป น่าจะมีการควบคุมหรือสื่อสาร ไปยังสถาบันการเงินของรัฐ ในการควบคุมเบิกถอน เงินจำนวนมากๆ อาจจะเตรียมไปซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยมากๆ

2. การทุจริตในรูปแบบที่ชาวบ้านห่วงใยมาก คือ การรวมผลคะแนนที่ กกต.เขต หลังจากมีการรวมคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งแล้ว ซึ่งมีประชาชนและหน่วยงานเจ้าหน้าที่ช่วยกันดู ว่ามีการนับผิดนับถูก การกา การขีดบัตรเลือกตั้ง การติดประกาศผลคะแนนที่หน้าหน่วย มีหลายฝ่ายช่วยกันควบคุมดูแล แต่เมื่อมีการรายงานผลจาก กปน. มาที่กกต.เขตแล้ว ตรงนี้คือช่องโหว่ใหญ่ ตามที่ คะแนนออกลูกออกหลาน กกต.เขตรวมคะแนนอยู่ในห้อง ซึ่งไม่ให้ใครเข้าไปตรวจสอบได้ ชาวบ้านเกรงบัตรจะออกลูก ออกหลาน บัตรจะเขย่ง ทำอย่างไรจะให้มีการรวมคะแนน โปร่งใส รายงานประชาชน ภาคประชาชนจึงได้รวมกันกับสมาคมสื่อดิจิตอล ภาคสังคมต่างๆ ให้อาสาสมัคร ถ่ายผล การเลือกตั้งทุกหน่วย และอยากเรียกร้อง ตัวแทนของพรรค อาสาสมัครของพรรคประจำหน่วย รายงานผลไปและนำไปรวมคะแนนอีกส่วนหนึ่ง หรือ พรรคที่มีงบน้อย อาจจะจ้างเจ้าหน้าที่ หลังการนับคะแนนแล้ว มีการปิดประกาศผลการเลือกตั้ง ไปถ่ายภาพ และนำมารวมผลคะแนนและรวม กับภาคประชาชน นำมาเทียบกับของ กกต.เขต ว่าตรงกันหรือไม่ ซึ่งจะป้องกัน บัตรหรือคะแนน ออกลูกออกหลาน หรือบัตรเขย่ง จะไม่เกิดขึ้น เพราะจะต้องตรงกันกับหลายส่วน ทั้งในส่วนของพรรคการเมือง ภาคประชาชน และกกต. โดยมานำมาเทียบกันทั้ง 400 เขต ถ้าตรงกันก็จบ โปร่งใส แต่ถ้าไม่ตรง เพราะอะไร ออกลูกออกหลานมาได้อย่างไร จะได้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน นี่คือความห่วงใย เรื่องการทุจริต ไม่โปร่งใส จากการนับและรวมคะแนน เมื่อปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา กับครั้งนี้ต้องต่างกัน และบัตร 2 ใบ ต้องแจ้ง และคาดหวังว่า การนับคะแนนครั้งนี้ จะมีหลายฝ่าย เข้หรือช่องทางต่างๆ มาจับตาดู จะทำให้ กกต. มีความระมัดระวังในการวมคะแนน ไม่พลาดและรายงานให้ประชาชนทราบ ผ่านช่องทางสื่อหรือช่องทางต่างๆ ได้ด้วย


สุดท้ายอยากเรียนให้ประชาชน ที่รักประชาธิปไตย รักบ้านเมือง ห่วงใย อนาคตทุกปีกทุกฝ่าย ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และก่อนไป ยังมีเวลาตรวจสอบสิทธิของตนเอง ไปเลือกตั้งที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ จะได้ประหยัดเวลาและใช้สิทธิได้ถูก และครั้งนี้ มีบัตร 2 ใบ บัตรเขียวเลือกคน บัตรม่วงเลือกพรรค ไม่ต้องห่วงว่าจะเบอร์ของผู้สมัครหรือพรรคไม่ได้ เพราะ ครั้งนี้ กกต.ทำได้ดี น่าสนับสนุน คือ ทุกคนก่อนที่จะเข้าไปคูหา กาเบอร์ที่เลือก สามารถมองเห็นป้ายไวนิล บอกชื่อ บอกพรรค ก่อนเลือก เพราะกกต.ทำเอาไว้ให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กาไม่ผิด และขอฝาก กกต.เขต กลไกล ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในนามของ ภาคีพลเมืองสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ภาคเหนือตอนล่าง ยังคงห่วงใยมากๆ ต่อผู้พิการ คนสูงอายุ คนเจ็บคนป่วย ถ้า กกต.จะปรับจุดลงคะแนน ขอความกรุราอย่าปรับพื้นที่คูหาสูง หรือมีบันได เดินขึ้นลง ทำให้ผู้พิการ สูงวัย ต้องถือไม้เท้า ลำบาก ขอให้เป็นหน่วยคูหาราบ เรียบ ให้คนพิการ คนสูงวัย สามารถเดินเข้าคูหาใช้สิทธิได้สะดวก อย่าใช้คูหา เขย่งหรือสูงเกินไป เพราะจะทำให้ลำบาก

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-