"จองเปรียง" เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม เมื่อเวลาผ่านไป กษัตริย์เริ่มนับถือศาสนาพุทธ พิธีกรรมนี้จึงเปลี่ยนเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระจุฬามณี และ พระพุทธบาท
อ่าน : ความเชื่อ "ผี" ขอขมาน้ำ-ดิน สู่ประเพณีลอยกระทง
พิธีจองเปรียง ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา เป็นพิธีกรรมที่กษัตริย์ต้องทำเป็นประจำทุกปี กล่าวถึงพระราชพิธีที่ต้องกระทำทั้ง 12 เดือน
เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสองพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
หรือ
เดือน 11 แข่งเรือ เดือน 12 ลดชุดลอยโคม
อันมีใจความว่า เมื่อเดือน 11 แข่งเรือเสี่ยงทายแล้ว ในเดือน 12 จะจัดพิธีกรรมขอขมาดินกับน้ำ มีการชักโคมไฟขึ้นสู่ยอดเสา และการลอยโคมลงน้ำ ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์เรียกว่า "ลอยกระทง"
อ่าน : ปักหมุด 34 สวนสาธารณะ ลอยกระทง 27 พ.ย.นี้

พิธีจองเปรียง ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง
พิธีจองเปรียง ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง
พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม
- จองเปรียญ คือ โคมไฟที่ได้จากการจุดไฟเผาน้ำมันเนย การชักโคมขึ้นสู่ยอดเสาเพื่อให้แสงส่องสว่างอยู่ท่ามกลางความมืด เมื่อระยะเวลาผ่านไปโคมจะตกลงสู่แม่น้ำ เป็นการขอขมาดินและน้ำที่ทำให้พืชผลเติบโตสมบูรณ์
จอง มาจากคำว่า "จง" ในภาษาเขมร แปลว่า ผูก หรือ โยง หมายถึง การประคับประคองให้มีแสงสว่าง และ เปรียง มาจากคำว่า "เปฺรง" ในภาษาเขมร แปลว่า น้ำมัน ในที่นี้หมายถึงน้ำมันเนยที่ได้จากน้ำนมของวัว หรือควาย ผสมกับน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน - ลดชุด แท้จริงแล้วยังไม่พบนิยามหรือคำอธิบายที่แน่ชัด แต่ในแง่ศัพท์ ลดชุด หมายถึง เครื่องจองเปรียงขนาดเล็ก จัดวางเป็นแถวตามแนวไฟในช่องที่เจาะไว้ตามผนังกำแพงเมือง หรือกำแพงวัง
เมื่อลาลูแบร์ ทูตจากฝรั่งเศส นั่งเรือหลวงมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ในช่วงเดือน 12 แล้ว ได้เห็นบรรยากาศการชักโคมลอยโคม จึงบรรยายไว้ว่า เมื่อไปถึงเมืองละโว้ในยามกลางคืน เห็นไฟเรียงเป็นแนวตามกำแพงเมืองและวังเป็นระยะๆ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระแม่ธรณี ที่ทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงปีใหม่
อ่าน : แจกพิกัด 13 จุดลอยกระทง ทั่วไทย เริ่ม 18 - 28 พ.ย.66
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่พัฒนามาจากพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม และเป็นขนบธรรมเนียมที่เกิดมาจากความเชื่อของคนไทย จนกลายเป็นประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานจวบจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : จากหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ฯ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร สำนักพิมพ์ก้าวหน้า พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2510 หน้า 215-216
อ่านข่าวเพิ่ม :
ตรวจ "โป๊ะ-ท่าเรือ" ก่อนลอยกระทง - เตือนงดใช้ 13 จุดริมเจ้าพระยา