ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อ.ปริญญา" เผย 3 แนวทางตัดสินคดี "พิธา-ก้าวไกล" หาเสียงยกเลิก ม.112

การเมือง
25 ม.ค. 67
12:22
3,053
Logo Thai PBS
"อ.ปริญญา" เผย 3 แนวทางตัดสินคดี "พิธา-ก้าวไกล" หาเสียงยกเลิก ม.112
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ผศ.ศร.ปริญญา" บอกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "พิธา" รอดคดีหุ้นไอทีวี ไม่ได้เกินคาดหมาย เผยมี 3 แนวทางคดีหาเสียงยกเลิก ม.112 ล้มล้างการปกครอง หรือไม่ 31 ม.ค.นี้ คาดไม่ถึงขั้นยุบพรรค

วันนี้ (25 ม.ค.2567) ผศ.ศร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถึงสถานภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)กรณีถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ว่าเป็นที่คาดหมายไว้ได้ โดยนายคิมห์ สิริทวีชัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานประชุมผู้ถือหุ้น ITV ยืนยันไอทีวีไม่มีการประกอบกิจการ 

อ่านข่าว : ชี้ชะตา "พิธา-ก้าวไกล" คดีล้มล้างการปกครอง 31 ม.ค.นี้

อ่านข่าว : "พิธา" รอด! ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน สมาชิกภาพ สส.ไม่สิ้นสุด ชี้ไอทีวีไม่ใช่สื่อ

เมื่อมีการชี้แจงผู้ถือหุ้นยืนยันที่บันทึกการประชุมไปไม่ได้มีความหมายว่าดำเนินการกิจการสื่อ เพียงแต่ยืนยันว่ายังไม่ได้ดำเนินกิจการ เป็นการให้การในชั้นไต่สวนของศาล เมื่อไม่มีการดำเนินกิจการใดๆ ก็ไม่ใช่สื่อ แม้จะมีวัตถุประสงค์ในการทำสื่อก็ตาม

ทั้งนี้เมื่อ ปี 2563 คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง 29 สส.ฝั่งรัฐบาล แม้ว่าบริษัทของ สส.ทั้ง 29 คนจะมีวัตถุประสงค์ในการทำสื่อ แต่ไม่ได้มีการเปิดดำเนินการจริงๆ

ผช.ศร.ปริญญา กล่าวว่าเรื่องใหญ่กว่า ก็คงเป็นเรื่องถัดไป คือวันที่ 31 ม.ค. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยคดีหาเสียงของพรรคก้าวไกล ยกเลิก มาตรา 112 ล้มล้างการปกครอง ที่หลายฝ่ายอาจจะกังวลว่าจะถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ แต่เนื่องจากคำร้องขอให้หยุดการกระทำ ไม่ได้ขอให้ยุบพรรค ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยเกินคำร้องของผู้ร้อง

โดยหลักแล้วเรื่องการยุบพรรคเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสมาชิกพรรค กรรมการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ สส ในสภาต่างๆ การที่ศาลจะวินิจฉัยเกินคำร้องขอในการยุบพรรคไม่น่าจะเป็นแบบนั้น แต่ก็เป็นไปได้ ประเด็นว่าถ้าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการกระทำเกิดขึ้นจริงเข้าข่ายล้มล้างระบอบการปกครองจริง ก็อาจจะมีการไปร้องอีกครั้งหนึ่ง เพราะเข้าข่ายที่จะต้องถูกยุบพรรคด้วย

สิ่งที่น่าห่วงคือสิ่งที่จะตามมา ต้องดูว่าการหาเสียงเรื่องแก้ไขมาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งต้องรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้มองว่าการที่มีพรรคการเมืองหาเสียงจะแก้ไขกฎหมายมาตราหนึ่งมาตราใดยังไม่สามารถที่จะพูดได้ว่านั่นเป็นการล้มล้างการปกครอง

สำหรับใน 31 ม.ค. คำวินิจฉัย ความเป็นไปได้จะมี 3 แนวทาง

1. ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคำสั่งยกคำร้อง
2. ศาลวินิจฉัยว่าไม่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สั่งให้หยุดการกระทำ
3.ศาลวินิจฉัยว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้ยุบพรรค

ซึ่งส่วนตัวมองว่าแนวทางทางที่ 3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไปไกลเกินคำร้อง เพราะคำร้องไม่ได้ขอในประเด็นนี้

ทั้งนี้ ผศ.ศร.ปริญญา ระบุว่า แนวทางที่เป็นไปได้คือ แนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 ซึ่งเชื่อมาจะออกมาแนวทางที่ 2 แต่ถ้าศาลสั่งให้หยุดการกระทำต้องดูเนื้อหาต่อไป หยุดไม่ให้ใช้หาเสียงในวันข้างหน้า หรือหมายรวมถึงการกระทำเรื่องนี้ เช่นเรื่องการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องรอดูคำวินิจฉัยในวันที่ 31 ม.ค.นี้

อ่านข่าวอื่นๆ :

"พิธา" เปิดใจหลังได้สมาชิกสภาพ สส. กลับคืนมา

เลขาธิการสภาฯ ยัน "พิธา" กลับเข้าสภาได้ทันที-รับเงินเดือนย้อนหลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง