ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน

สิ่งแวดล้อม
26 ก.ค. 67
11:43
9,017
Logo Thai PBS
หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไบโอไทย เปิดหลักฐานใหม่ เชื่อมโยงฟาร์มยี่สารของซีพี ศูนย์กลางการระบาด "ปลาหมอคางดำ"ทั่วประเทศ พบเส้นทางการแพร่ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน ไม่ได้นำเข้าหลายครั้ง

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ในเวทีเสวนาเรื่อง "หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ" นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เปิดหลักฐานใหม่กรณีปลาหมอคางดำระบาด โดยนำมาเผยแพร่ในเวทีเสวนา

ความสำคัญของหลักฐานใหม่

  • สังคมถูกทำให้เชื่อว่าปลา 2,000 ตัว ตายไปหมดภายใน 16 วัน และถูกฝังกลบไว้ที่ฟาร์มยี่สาร และสร้างตึกทับ
  • สังคมถูกทำให้เชื่อว่าซีพี ส่งตัวอย่างปลา 50 ตัว ให้กรมประมงแล้ว ตั้งแต่ ม.ค.2554 และกรมประมงถูกกดดันตกเป็นเป้าว่า ทำตัวอย่างปลาหาย
  • ไบโอไทย ก็ถูกทำให้เชื่อเช่นนั้น เมื่ออดีตพนักงานของฟาร์มยี่สารเริ่มต้นเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในฟาร์มยี่สาร เพราะคำถามแรกของเรา คือพวกเขาฝังปลาไว้ที่ไหน?
  • ข้อมูลและภาพทั้งหมดที่ได้รับ ตอบคำถามได้ทั้งหมดว่าทำไมศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ จึงมาจากคลองที่ล้อมรอบ และผ่านกลางฟาร์มของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด

อ่านข่าว : วิกฤต “ปลาหมอคางดำ” (Blackchin Tilapia) รุกราน-ระบาดทั่วโลก

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ข้อมูลต่อมาทำไมฟาร์มยี่สาร จึงเป็นศูนย์กลางการระบาด

  • ซีพีเอฟเป็นบริษัทเอกชนรายเดียวที่นำเข้าปลาหมอคางดำเมื่อปี 2553 จากใบขออนุญาต ทั้งหมด 448 รายการ (อนุญาต 381 รายการ /ไม่อนุญาต 60 รายการ /ชะลอนำเข้า 7 รายการ)
  • รายงานของกสม.ระบุชัดเจนว่า ซีพีละเมิดระเบียบความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • เอกสารรายงานของกรมประมง ระบุชัดเจนว่า เริ่มต้นจาก คลองดอนจั่น คลองหลวงคลองเจ๊ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลองตามน และคลองผีหลอก ในเขต ต.ยี่สาร และ ต.แพรกหนามแดง

อ่านข่าว : "ซีพีเอฟ" แจงอนุ กมธ.ปมนำเข้า "ปลาหมอคางดำ"

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หมายเหตุ ข้อมูลในประเทศไทย มีรายงานการนำเข้ามาตั้งแต่ ปี 2553 (ชัยวุฒิ สุดทองคง และคณะ,2017) พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอสีคางดำ ในคลองดอนจั่น คลองหลวง คลองเจ็ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลอง
ตามน และคลองผีหลอก ใน ต.แพรกหนามแดง กับ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ. สมุทรสาคร

อ่านข่าว : ปลาหมอคางดำระบาด 16 จังหวัด กรมประมง เปิด 6 มาตรการเร่งด่วน

และยังเข้าไปแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงปลา บ่อกุ้ง เกือบ 10,000 ไร่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปยังจังหวัดข้างเคียง อ.บ้านเหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่คลอง

ส่วนรายงานการศึกษาการวิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำในเขตพื้นที่ชายฝั่งของไทย จากโครงสร้างพันธุกรรมของประชากร โดยพบว่า 

  • การระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน
  • ไม่ได้นำเข้ามาหลายครั้ง 

ผลการศึกษาช่วยยืนยันที่มาของการแพร่ระบาด โดยข้อมูลระยะห่างทางพันธุศาสตร์ ลำดับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ

ชี้ให้เห็นว่า ประชากรปลาหมอสีคางดำที่แพร่ระบาดในมีแหล่งที่มาร่วมกัน

ในประเทศไทยมีแหล่งที่มาร่วมกัน และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม haplotype อยู่ในระดับการเปลี่ยนแปลงเพียง 1-2 ลำดับเบสเท่านั้น (ภาพที่ 4) ซึ่งสามารถอธิบายความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรแต่ละจังหวัดไว้ว่า เกิดจากกลไกของจีเนติกดริฟท์ หรือความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งเกิดจากปลาที่นำไปพื้นที่ใหม่มีจำนวนน้อย ขาดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างประชากร มากกว่าเกิดจากการนำเข้าหลายครั้ง

อ่านข่าว :

รู้หรือไม่ “ปลาหมอสีคางดำ” เข้ามาระบาดในไทยได้ยังไง

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง