"Baby Car seat" อ้อมกอดที่ปลอดภัยสำหรับลูกบนท้องถนน

ไลฟ์สไตล์
2 ส.ค. 67
18:57
130
Logo Thai PBS
"Baby Car seat" อ้อมกอดที่ปลอดภัยสำหรับลูกบนท้องถนน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
Baby Car Seat คืออุปกรณ์สำคัญสำคัญปกป้องชีวิตและลดการบาดเจ็บของเด็ก กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การเลือกที่นั่งนิรภัยเด็กที่เหมาะสม ได้มาตรฐานจะช่วยให้การเดินทางของเด็กปลอดภัยยิ่งขึ้น พ่อแม่-ผู้ปกครองควรใส่ใจเพราะนั่นคืออ้อมกอดที่ปลอดภัยของลูกบนท้องถนน
เพราะอ้อมกอดแม่คือสิ่งที่ปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับการขับขี่บนท้องถนนไม่ใช่

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า แม่ส่วนใหญ่ให้ลูกนั่งตักแล้วกอด ซึ่งเท่ากับ "การรักลูกที่ผิดทาง" เพราะการที่ผู้ปกครองอุ้มเด็กบนตักขณะนั่งในรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะมีโอกาสถูกแรงกระแทกมหาศาลจากการปะทะกับอุปกรณ์ในรถ หรือ ทะลุกระจกออกไปนอกตัวรถ มีโอกาสเสียชีวิตสูง

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562 – 2566) มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 89,569 คน เฉลี่ย 17,914 คน/ปี ซึ่งในช่วง 5 ปี ดังกล่าว มีเด็กไทยอายุ 0 – 6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,010 คน โดย 117 คน เป็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ เฉลี่ย 24 คน/ปี และในส่วนของการบาดเจ็บ มีเด็กไทยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์และรถกระบะ 8,810 คน เฉลี่ย 1,763 คน/ปี และจากข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่า การใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือ Baby Car seat จะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตของเด็กได้มากถึงร้อยละ 70

เด็กที่นั่งเบาะหน้ารถยนต์และไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก จะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงสูงกว่าเด็กที่นั่งด้านหลังและใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ถึง 5 เท่า

Baby Car seat สำคัญตรงไหน ? 

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (Baby Car Seat) เป็นมากกว่าที่นั่งสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ในแง่ของความปลอดภัย เบาะนั่งที่ดีจะสามารถลดการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ช่วยลดแรงกระแทกที่ส่งผลต่อร่างกายของเด็กได้ โดยที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่ดี ต้องออกแบบให้รองรับสรีระของเด็ก ช่วยยึดร่างกายของเด็กให้อยู่กับที่ ป้องกันไม่ให้เด็กกระเด็นไปชนกับส่วนอื่น ๆ ของรถหากเกิดเหตุร้าย เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี และมีความสูงน้อยกว่า 135 เซนติเมตร ควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเสมอเมื่อเดินทางด้วยรถยนต์ และในหลายประเทศก็มีกฎหมายบังคับให้เด็กต้องนั่งคาร์ซีทขณะเดินทางโดยรถยนต์ด้วย

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายบังคับให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งคาร์ซีทขณะเดินทางโดยรถยนต์ ยกเว้นรถสาธารณะและรถรับจ้าง การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

รูปแบบการติดตั้งคาร์ซีท

1.ที่นั่งแบบหันหน้าไปทางด้านหลัง (Rear-Facing Seats) เหมาะสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงประมาณ 2-3 ปี หรือจนกว่าน้ำหนักและความสูงของเด็กจะเกินกว่าข้อกำหนดของที่นั่งที่ใช้ ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยลดแรงกระแทกต่อศีรษะ คอ และกระดูกสันหลังของเด็ก

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

2.ที่นั่งแบบหันหน้าไปทางด้านหน้า (Forward-Facing Seats) ใช้สำหรับเด็กที่มีอายุประมาณ 2-7 ปี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและความสูงของเด็ก ที่นั่งประเภทนี้มักมีระบบรัดเข็มขัด 5 จุดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

3.ที่นั่งเสริม (Booster Seats) สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-12 ปี ที่ยังไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ได้ ที่นั่งเสริมช่วยยกระดับเด็กให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการคาดเข็มขัดนิรภัย

วิธีการเลือกที่คาร์ซีท

  1. ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย เลือกอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยจากองค์กรที่เชื่อถือได้
  2. เลือกตามอายุ น้ำหนัก และความสูงของเด็ก
  3. พิจารณาการติดตั้ง เลือกที่นั่งที่สามารถติดตั้งได้ง่ายและปลอดภัย เหมาะสมกับรถยนต์ของเรา โดยระบบการติดตั้งที่นิยมคือระบบ ISOFIX ที่ช่วยให้การติดตั้งที่นั่งทำได้ง่ายและแน่นหนามากขึ้น
  4. งบประมาณ คาร์ซีทมีราคาแตกต่างกันไป เลือกให้เหมาะสมกับงบประมาณ
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

ฝึกลูกนั่งคาร์ซีทแบบแฮปปี้

ทางการแพทย์แนะนำว่าพ่อแม่ควรฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่แรกเกิด เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเคยชิน โดยอาจฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทด้วยการลองนั่งไปในระยะทางใกล้ ๆ เช่น นั่งออกไปหน้าปากซอย ออกไปซื้อของที่บริเวณใกล้บ้าน จะช่วยทำให้ลูกเกิดความเคยชิน เพราะเด็กช่วงอายุประมาณ 8 เดือนถึง 1 ขวบ เริ่มเรียนรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนอง อาจจะมีอาการร้องไห้งอแง พ่อแม่ต้องอดทน เมื่อลูกร้องไห้พ่อแม่อาจจอดหรือหยุดรถก่อนแล้วพาลูกไปเดินเล่นหรือหาของเล่นให้ลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย แล้วค่อยเดินทางต่อ

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการใช้คาร์ซีท

  1. ติดตั้งไม่แน่นหนาทำให้ไม่สามารถปกป้องเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สายรัดที่หลวมเกินไปอาจทำให้เด็กกระเด็นออกจากคาร์ซีทได้
  3. การหันคาร์ซีทจากด้านหลังไปด้านหน้าเร็วเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่คอ เมื่อรถเบรกได้
  4. การใช้คาร์ซีทเสื่อมสภาพ

อ่านข่าวอื่น :

ปฏิทินสิงหาคม 2567 หยุดยาว 3 วันติด ชาร์จพลังก่อนลุยงานต่อ!

เปิดอัตราเงินเดือนข้าราชการใหม่ ปี 2567 หลัง ครม.เคาะปรับขึ้น 10%

ปฏิทินจ่ายเงินเดือน ปี 2567 ข้าราชการ-ลูกจ้างประจำ 2 รอบ - เงินบำนาญ เช็กเงินเข้าวันไหน? 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง