ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไขคำตอบ ฟองขาว ๆ บนตัว "หมูเด้ง" คืออะไร

สิ่งแวดล้อม
29 ต.ค. 67
10:59
30,318
Logo Thai PBS
ไขคำตอบ ฟองขาว ๆ บนตัว "หมูเด้ง" คืออะไร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หาคำตอบ ฟองขาว ๆ บนตัว "หมูเด้ง" คืออะไร? ไม่ใช่แชมพูตกค้าง พร้อมทำความรู้จัก "ฮิปโปแคระ" ให้มากขึ้น กับเรื่องน่ารู้

มะ มะ มะ หมูเด้ง หมูเด้ง หมูเด้ง

อ่ะโดดดึ๋ง ๆ ๆ ๆ ๆ ต้าวหมูเด้ง (เนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่กำลังโด่งดังในโซเซียลฯ)

ยังเป็นกระแสให้ถูกพูดถึง และถูกหยิบนำไปเป็น "มีม" ตลอด นาทีนี้ก็ยังคงเป็น "หมูเด้ง" ฮิปโปแคระ ซุปตาร์ดังระดับโลก จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี ที่ยังคงดุ๊กดิ๊กจนครองใจผู้คนจากทั่วโลก ปีนี้ 2567 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของ "ฮิปโปแคระหมูเด้ง" เลยก็ว่าได้ เพราะใคร ๆ ก็ต่างพากันสาดสปอร์ตไลท์มาที่เธอ

"หมูเด้ง" ฮิปโปแคระ เพศเมีย ลูกพ่อโทนี่ แม่โจน่า ที่ตอนนี้เข้าสู่วัย 3 เดือน (เกิดวันที่ 10 กรกฎาคม 2567) กับน้ำหนักตัวที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 35.7 กิโลกรัม (ชั่งน้ำหนัก เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2567)

อ่านข่าว : เปิดใจแอดมิน "เบนซ์" ผู้จัดการ "หมูเด้ง" ดาราสาวแห่งเขาเขียว

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ความดังและถูกจับตามองทำให้ "หมูเด้ง" ถูกพูดถึงอีกครั้งกับภาพล่าสุด พร้อมตั้งคำถามถึงผิวหนังของเธอที่เต็มไปด้วย ฟองสีขาว ๆ ว่า คืออะไร ล่าสุดเพจ "ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง" ได้ออกมาให้คำตอบแล้วว่า สิ่งที่แฟนคลับเห็นเป็นอะไรกันแน่

รุ่นนี้ผลิตฟองเองได้ ไม่ต้องง้อแชมพู

ฟองที่เห็นอยู่นั้น คือ "เหงื่อเมือก" เกิดจากการที่น้องมีเหงื่อแล้วน้องก็เอาตัวถูไปถูมา เช่นเดินถูกับแม่ ก็จะกลายเป็นเมือก พร้อมบรรยายใต้ภาพเพิ่มเติมว่า ในรูปไม่ได้ถูกกับอะไร ผมเอามือถูเอง 

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ฮิปโปแคระ จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ครั้งนี้ได้รู้แล้ว ฟองขาว ๆ บนตัวหมูเด้งคืออะไร และวันนี้จะพาไปทำความเข้าใจ และเรื่องชวนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ฮิปโปโปเตมัสแคระ หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า "ฮิปโปแคระ" ให้มากยิ่งขึ้น

ฮิปโปแคระ เป็น ฮิปโปโปเตมัส สายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดของโลก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ในบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ซึ่งฮิปโปแคระในป่าธรรมชาติเหลืออยู่เพียงไม่กี่พันตัว เท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ฮิปโปแคระเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ คือ คุกคามแหล่งที่อยู่อาศัย และการถูกล่า นั้นเอง   

ฮิปโปแคระ พบในทวีปแอฟริกาตะวันตก แหล่งกระจายพันธุ์หลักในประเทศไลบีเรีย ที่อุทยานแห่งชาติซาโป และยังพบในประเทศเซียลาเรียโอนและกีนี ส่วนใหญ่ถูกเพาะเลี้ยงในสวนสัตว์เพื่อการอนุรักษ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ฮิปโปแคระ กับ ฮิปโปโปเตมัส มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ขนาดร่างกาย แต่มีสิ่งที่คล้ายกัน นั้นคือ ปากที่อ้าได้กว้าง ขาใหญ่สั้น ลำตัวสั้นและเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนลักษณะที่ต่างกันอีกนั้นคือ ดวงตาของ ฮิปโปแคระ จะค่อนมาทางด้านหน้ามากกว่าที่จะอยู่ด้านหลังแบบ ฮิปโปโปเตมัส

"ผิวหนัง" ของฮิปโปแคระ ด้านบนลำตัวสีดำเหลือบเขียว ด้านข้างลำตัวสีเทา นิ้วเท้าของ "ฮิปโปแคระ" จะกางออกจากกัน และเล็บมีความคม ส่วน "ฮิปโปโปเตมัส" จะมีแผ่นหนังเชื่อมระหว่างนิ้ว 

ฮิปโปโปเตมัส เมื่อมองลำตัวดูคล้ายกับไม่มีขน แต่ที่จริงแล้วลำตัวของฮิปโปโปเตมัส มีขนเส้นที่เล็กมาก ๆ และกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน หนังหนามีต่อมเมือก ต่อมใต้ผิวหนังจะผลิตเมือกเหลวออกมา เมื่อโดนแสงแดดจะค่อย ๆ กลายเป็นสีแดงอ่อนคล้ายเลือด นั้น มีเหตุผล เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด  ทั้งยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของตัวอิปโปด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ยังช่วยยังยั้งเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการติดเชื้อเมื่อเกิดแผล อีกด้วย 

"ฮิปโปโปเตมัส" ทั่วไปที่มักใช้ชีวิตเป็นฝูง อาศัยอยู่ในน้ำ บริเวณน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย ๆ ช่วงกลางวัน และขึ้นบกมาหากินกลางคืน แต่ "ฮิปโปแคระ" มีนิสัยชอบอยู่ตัวเดียว ชอบอยู่ตามลำน้ำและหนองบึงในป่า ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง มักอยู่เดี่ยวหรืออยู่คู่ จะขึ้นจากน้ำตอนกลางคืน เมื่อตกใจมันมักไปซ่อนในป่า แทนที่จะหนีลงในน้ำ

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

ภาพ : ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง

สัตว์แต่ละชนิด มีการลดอุณหภูมิร่างกายอย่างไร หรือไม่ 

ไม่เพียง ฮิปโปโปเตมัส สัตว์บางชนิดก็มีต่อมเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ขณะที่บางชนิดใช้กลไกอื่นในการรักษาอุณหภูมิ แล้วมีอะไรบ้าง

ในสัตว์เล็ก อย่าง สุนัขและแมว ไม่มีต่อมเหงื่อทั่วร่างกาย เหมือนมนุษย์ แต่พวกมันก็มีต่อมเหงื่อ

  • สุนัข : มีเพียงไม่กี่จุด ซึ่งอยู่ตามผิวหนังในบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุม เช่นที่อุ้งเท้า และ จมูก จะควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลงโดยวิธีการหอบ และการระบายความร้อนทางจมูก
  • แมว : มีต่อมเหงื่อที่บริเวณอุ้งเท้า ข้างริมฝีปาก มุมคาง และใกล้รูทวาร แมวระบายความร้อนโดยการเลียตามอุ้งเท้า หรือเลียตามตัว
  • ช้าง : เป็นสัตว์ผิวหนังหนา ระบายความร้อนผ่านหูใหญ่ ที่มีเส้นเลือดจำนวนมาก โดยการสะบัดหูช่วยลดอุณหภูมิ ผิวหนังช้างมีรอยย่น เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวช่วยระบายความร้อน    
  • นก : ไม่มีต่อมเหงื่อ  พวกมันระบายความร้อนด้วยการระเหยน้ำจากปอดและถุงลมโดยตรง

สัตว์หลายชนิดพัฒนา กลไกเฉพาะตัว ในการควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจากเหงื่อไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับทุกชนิด เช่น สุนัขหอบเพื่อระบายความร้อน ขณะที่ช้างใช้หูเพื่อลดอุณหภูมิ ซึ่งสะท้อนถึงวิวัฒนาการที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละชนิด

อ้างอิงข้อมูล องค์การสวนสัตว์ฯ, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

อ่านข่าว : TIME ยก "หมูเด้ง" ไอคอน A-list ฮิปโปแคระสุดปัง

แมนฯ ยูไนเต็ด ปลด "เทน ฮาก" พ้นผู้จัดการทีม

ชาวตรังร้องค่าตั๋วเครื่องบินพุ่ง 3,570 บาทต่อเที่ยว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง