ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

20 ปีพบศพนิรนามกว่า 5,000 ศพ เสนอจัดทำกฎหมายแก้ปัญหา

สังคม
31 ต.ค. 67
19:20
2,293
Logo Thai PBS
20 ปีพบศพนิรนามกว่า 5,000 ศพ เสนอจัดทำกฎหมายแก้ปัญหา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปัจจัยที่ทำให้การพิสูจน์ทราบศพนิรนามทำได้ยาก เพราะข้อมูลคนหายกับศพนิรนาม ไม่มีการจัดการระบบควบคู่กัน ข้อมูลศพนิรนามกระจายไปหลายหน่วยงาน ทางออกของการแก้ปัญหาคือ ต้องมีกฎหมาย และระบบกลาง รวบรวมข้อมูลศพนิรนามทั่วประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้การพิสูจน์ทราบศพนิรนามทำได้ยาก เพราะข้อมูลคนหายกับศพนิรนาม ไม่มีการจัดการระบบควบคู่กัน ข้อมูลศพนิรนามกระจายไปหลายหน่วยงาน ทางออกของการแก้ปัญหาคือ ต้องมีกฎหมาย และระบบกลาง รวบรวมข้อมูลศพนิรนามทั่วประเทศ

จากตัวอย่างคดีของ น.ส.มยุรี หรือ หลิว สะท้อนให้เห็นอุปสรรค ความยากลำบากในการพิสูจน์ตัวตนศพนิรนาม สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์คนหาย และศพ

อ่านข่าว : ศาลฎีกา ยืนจำคุกตลอดชีวิต "ผอ.ตุ๊" ฆ่าอำพราง "น้องหลิว"

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา

นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมูลนิธิกระจกเงา ได้รวบรวมสถิตินิรนามของประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีบุคคลสูญหายมากกว่า 3,000 คน แต่พบเพียง 897 คน และมีศพนิรนาม กว่า 5,000 คน แต่พิสูจน์ศพได้เพียง 2,489 คน 

ปัจจัยที่ทำให้การยืนยันตัวตนศพนิรนามทำได้ยาก เพราะญาติบุคคลที่สูญหาย ไม่สามารถไปขอตรวจดีเอ็นเอ เพื่อเปรียบเทียบกับศพนิรนามที่สงสัยว่าเป็นบุคคลในครอบครัวได้ แต่ญาติต้องไปหาข้อมูลเพื่อมาชี้เฉพาะกับศพนิรนามนั้นๆ

นอกจากนั้นข้อมูลคนหายกับข้อมูลศพนิรนาม ก็ไม่มีการจัดการเก็บรวบรวมควบคู่กัน

แม้มีความพยายามของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จัดการข้อมูลศพนิรนาม แต่ยังมีข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง ที่อยู่ในแผนกนิติเวช โรงพยาบาลต่างๆ ที่มีหลายสังกัด เช่น โรงเรียนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งวิธีการจัดการข้อมูลของศพนิรนามโรงพยาบาลสังกัดต่างๆ ก็แตกต่างกันไป

"ทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญ จัดส่งข้อมูลเข้ามาให้ประชาชนเข้าถึง ข้อมูลได้โดยง่าย ทุกวันนี้ก็ยังไม่ง่าย ต่อให้การเก็บดีเอ็นเอโดยกระทรวงยุติธรรม ญาติก็ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพ ซึ่งหลายคนก็ต้องถอดใจ ซึ่งมีหลายคนที่ต้องถอดใจ ซึ่งรู้สึกว่ากระบวนการยุ่งยาก"

 

ศพนิรนามส่วนใหญ่เสียชีวิต 2 ลักษณะ คือ ถูกฆาตกรรม พบมากในกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มาทำงานไกลจากภูมิลำเนา บางกรณีอาจมาจากปัญหาความสัมพันธ์ หรือคนที่ทำงานกลางคืน

ลักษณะที่ 2 คือ เกิดจากอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มผู้ป่วยจิตเวช หลายกรณีคนกลุ่มนี้ถูกรถชน แล้วผู้ก่อเหตุหนีไป

นายเอกลักษณ์ ยังระบุถึงการแก้ปัญหาศพนิรนามที่สำคัญ หน่วยงานรัฐ ควรมีระบบข้อมูลกลาง ที่รวบรวมข้อมูลศพนิรนามทั่วประเทศ สำหรับให้ญาติผู้สูญหาย ใช้เป็นข้อมูลติดตามและพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล รวมทั้งมีกฎหมายกำหนดหน้าที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

อ่านข่าว :

แจ้งข้อหาเมาแล้วขับ "เจ้าอาวาสวัดเชียงใหม่" พุ่งชน ผอ.ฝ่ายฯ เรือนจำ

อดีตเกษตรอำเภอแม่สอด ยิงชายเมาเสียชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง