ที่มา "กำแพงเบอร์ลิน"

9 พ.ย. 65
พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อกองทัพสัมพันธมิตร ในเวลาต่อมา เยอรมนีถูก 4 มหาอำนาจในการสงครามนั้นเข้าปกครอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหภาพโซเวียต และทั้ง 4 ประเทศตกลงแบ่งเขตดูแลกันอย่างชัดเจน แต่ในการแบ่งเขตนั้น อาจจะดูไม่เป็นธรรมหาก “เบอร์ลิน” เมืองหลวงของเยอรมนี จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้ง 4 ประเทศจึงตกลง แบ่งเบอร์ลิน ออกเป็นอีก 4 ส่วนเช่นกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ต่างมีแนวคิดเรื่องระบอบเสรีนิยมเหมือนกัน จึงร่วมกันพัฒนา “เยอรมนีตะวันตก” ให้เจริญก้าวหน้า ในขณะที่สหภาพโซเวียตใช้วิธีปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลเท่านั้น ทำให้ผู้คนไม่อยากอยู่ใน “เยอรมนีตะวันออก” อีกต่อไป จึงพากันย้ายถิ่นฐานออกมา รัฐบาลเยอรมนีตะวันออก ตัดสินใจสร้างกำแพงขึ้น ตลอดแนวยาวของกรุงเบอร์ลิน ความยาวทั้งสิ้น 155 กม. ปิดกั้นพรมแดน เยอรมนีตะวันตก-เยอรมนีตะวันออก ยาวนาน 28 ปี จนกระทั่ง สมัย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ปธน.สหภาพโซเวียต ได้ทดลองปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันออก ทำให้ประชาชนเริ่มสามารถแสดงออกผ่านการประท้วงอย่างสงบ และกดดันรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง จนสุดท้าย มีการประกาศอนุญาตให้ผู้คนเดินทางข้ามแดนไปยังเยอรมนีตะวันตกได้ ในวันที่ 9 พ.ย.2532 ผู้คนมากมายจึงหลั่งไหลไปที่กำแพงเบอร์ลินเพื่อข้ามแดน บางคนทำลายกำแพงเบอร์ลิน เพื่อสื่อว่าสิ่งที่ปิดกั้นคน 2 ดินแดนได้ล่มสลายลงไปแล้ว แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2533 ปัจจุบัน จะยังเห็นกำแพงเบอร์ลินบางส่วนอยู่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต (ที่มา : Wikipedia)

ที่มา "กำแพงเบอร์ลิน"

9 พ.ย. 65
พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนีพ่ายแพ้ต่อกองทัพสัมพันธมิตร ในเวลาต่อมา เยอรมนีถูก 4 มหาอำนาจในการสงครามนั้นเข้าปกครอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหภาพโซเวียต และทั้ง 4 ประเทศตกลงแบ่งเขตดูแลกันอย่างชัดเจน แต่ในการแบ่งเขตนั้น อาจจะดูไม่เป็นธรรมหาก “เบอร์ลิน” เมืองหลวงของเยอรมนี จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้ง 4 ประเทศจึงตกลง แบ่งเบอร์ลิน ออกเป็นอีก 4 ส่วนเช่นกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ต่างมีแนวคิดเรื่องระบอบเสรีนิยมเหมือนกัน จึงร่วมกันพัฒนา “เยอรมนีตะวันตก” ให้เจริญก้าวหน้า ในขณะที่สหภาพโซเวียตใช้วิธีปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลเท่านั้น ทำให้ผู้คนไม่อยากอยู่ใน “เยอรมนีตะวันออก” อีกต่อไป จึงพากันย้ายถิ่นฐานออกมา รัฐบาลเยอรมนีตะวันออก ตัดสินใจสร้างกำแพงขึ้น ตลอดแนวยาวของกรุงเบอร์ลิน ความยาวทั้งสิ้น 155 กม. ปิดกั้นพรมแดน เยอรมนีตะวันตก-เยอรมนีตะวันออก ยาวนาน 28 ปี จนกระทั่ง สมัย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ปธน.สหภาพโซเวียต ได้ทดลองปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันออก ทำให้ประชาชนเริ่มสามารถแสดงออกผ่านการประท้วงอย่างสงบ และกดดันรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง จนสุดท้าย มีการประกาศอนุญาตให้ผู้คนเดินทางข้ามแดนไปยังเยอรมนีตะวันตกได้ ในวันที่ 9 พ.ย.2532 ผู้คนมากมายจึงหลั่งไหลไปที่กำแพงเบอร์ลินเพื่อข้ามแดน บางคนทำลายกำแพงเบอร์ลิน เพื่อสื่อว่าสิ่งที่ปิดกั้นคน 2 ดินแดนได้ล่มสลายลงไปแล้ว แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2533 ปัจจุบัน จะยังเห็นกำแพงเบอร์ลินบางส่วนอยู่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต (ที่มา : Wikipedia)