1040x1300.jpg

ควรทำอย่างไร? เมื่อคนข้างกายป่วยไบโพลาร์ และเสี่ยงฆ่าตัวตาย

28 มี.ค. 66

30 มีนาคม ของทุกปี วันไบโพลาร์โลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1.5 - 5 สาเหตุหลักของไบโพลาร์ เกิดมาจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ และอาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมของคน ๆ นั้น โดบมีอาการระหว่างคึกคักสลับกับซึมเศร้า นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป

ขั้วแมเนีย (อารมณ์คึกคัก สนุกสนาน) เช่น

  • หงุดหงิดง่าย 
  • นอนไม่หลับ 2-3 วัน 
  • พูดมากขึ้น 
  • อารมณ์ครื้นเครงผิดปกติ 
  • มีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ขั้วเศร้า  (อารมณ์ซึมเศ้า) เช่น

  • เศร้าผิดปกติ 
  • บ่นว่าตัวเองไร้ค่า 
  • รู้สึกอยากตาย 
  • เริ่มเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้
     

คนรอบตัวผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการ หากพบผู้ป่วยมีอาการข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนอาการกำเริบไปกว่านี้ เพราะการ "ป่วยโรคจิตเวช" เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนฆ่าตัวตายสำเร็จ มากถึง 24.2% ในเพศชาย และ 30.2% ในเพศหญิง จากข้อมูลสถิติจากใบมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (เดือน ต.ค. 64 - ส.ค. 65)  นอกจากนี้ คนรอบตัวผู้ป่วยไบโพลาร์ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

  1. ดูแลผู้ป่วยให้กินยาเคร่งครัด อย่าหยุดกินยาเอง 
  2. เข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยไม่ดี
  3. เปิดใจรับฟัง ฟังให้เป็น ไม่ตัดสิน 
  4. คุยด้วยน้ำเสียง คำพูดที่เหมาะสม 
  5. อย่ากระตุ้นด้วยคำพูดที่เหมือนโต้แย้ง ท้าทาย ชวนทะเลาะ 
  6. เก็บสิ่งของที่ผู้ป่วยอาจใช้เป็นอาวุธให้มิดชิด 
  7. เตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉินต่าง ๆ ไว้เผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น สพฉ. 1669 
  8. รู้จักแบ่งเวลาดูแลตัวเอง ไม่ให้เครียดเกินไป เพราะการดูแลผู้ป่วยต้องใช้ความอดทน และความเข้าใจเป็นอย่างมาก 

Thai PBS ชวนทำความเข้าใจไบโพลาร์ให้มากขึ้น ผ่านหนัง  Happy Bad Day กำกับโดย “นนทรีย์ นิมิบุตร”

ควรทำอย่างไร? เมื่อคนข้างกายป่วยไบโพลาร์ และเสี่ยงฆ่าตัวตาย

28 มี.ค. 66

30 มีนาคม ของทุกปี วันไบโพลาร์โลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 1.5 - 5 สาเหตุหลักของไบโพลาร์ เกิดมาจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ และอาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมของคน ๆ นั้น โดบมีอาการระหว่างคึกคักสลับกับซึมเศร้า นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป

ขั้วแมเนีย (อารมณ์คึกคัก สนุกสนาน) เช่น

  • หงุดหงิดง่าย 
  • นอนไม่หลับ 2-3 วัน 
  • พูดมากขึ้น 
  • อารมณ์ครื้นเครงผิดปกติ 
  • มีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ขั้วเศร้า  (อารมณ์ซึมเศ้า) เช่น

  • เศร้าผิดปกติ 
  • บ่นว่าตัวเองไร้ค่า 
  • รู้สึกอยากตาย 
  • เริ่มเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้
     

คนรอบตัวผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการ หากพบผู้ป่วยมีอาการข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนอาการกำเริบไปกว่านี้ เพราะการ "ป่วยโรคจิตเวช" เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนฆ่าตัวตายสำเร็จ มากถึง 24.2% ในเพศชาย และ 30.2% ในเพศหญิง จากข้อมูลสถิติจากใบมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (เดือน ต.ค. 64 - ส.ค. 65)  นอกจากนี้ คนรอบตัวผู้ป่วยไบโพลาร์ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

  1. ดูแลผู้ป่วยให้กินยาเคร่งครัด อย่าหยุดกินยาเอง 
  2. เข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยไม่ดี
  3. เปิดใจรับฟัง ฟังให้เป็น ไม่ตัดสิน 
  4. คุยด้วยน้ำเสียง คำพูดที่เหมาะสม 
  5. อย่ากระตุ้นด้วยคำพูดที่เหมือนโต้แย้ง ท้าทาย ชวนทะเลาะ 
  6. เก็บสิ่งของที่ผู้ป่วยอาจใช้เป็นอาวุธให้มิดชิด 
  7. เตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉินต่าง ๆ ไว้เผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น สพฉ. 1669 
  8. รู้จักแบ่งเวลาดูแลตัวเอง ไม่ให้เครียดเกินไป เพราะการดูแลผู้ป่วยต้องใช้ความอดทน และความเข้าใจเป็นอย่างมาก 

Thai PBS ชวนทำความเข้าใจไบโพลาร์ให้มากขึ้น ผ่านหนัง  Happy Bad Day กำกับโดย “นนทรีย์ นิมิบุตร”