Google เปิดเผยรายงานการค้นหา Year in Search ของประเทศไทย พบว่า ในปี 2022 คนไทยสนใจเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศ” มากขึ้น เห็นได้จาก การค้นหา คำว่า "LGBTQ" เพิ่มขึ้น 110% ขณะที่ การค้นหาคำว่า "สมรสเท่าเทียม" เพิ่มขึ้น 800%
.
นอกจากนี้ Google ยังได้รวบรวมเทรนด์การค้นหาที่น่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับ Pride ในประเทศไทย เช่น ความสนใจในการค้นหาเกี่ยวกับ non-binary gender, queer, pansexuality, LGBT, rainbow flag, LGBT pride, sexual orientation และ homophobia พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
.
ในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2566 ความสนใจในการค้นหาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่ “rainbow flag” เพิ่มขึ้น 180% ความสนใจในเรื่อง “gender fluidity” เพิ่มขึ้น 140% ความสนใจเรื่อง “homophobia” เพิ่มขึ้น 130% และ “non-binary gender” เพิ่มขึ้น 110%
.
ขณะเดียวกัน Wisesight เช็กกระแส “บางกอกไพรด์ 2023” บนโลกออนไลน์ ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE วันที่ 1 - 11 มิ.ย. 66 พบว่า มีการพูดถึง 38,547 ข้อความ มี
Engagement 26,993,306 ครั้ง โดยมีการพูดถึงผ่านแพลตฟอร์มของ Facebook มากที่สุด รองลงมาเป็น Twitter, Instagram และอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปภาพงานเดินขบวนพาเหรดผ่านแฮชแท็ก #BangkokPride2023 และ #บางกอกไพรด์2023
.
Pride Month การตลาดหรือผลักดันกฎหมาย ? ชวนทุกคนสำรวจผ่าน Thai PBS Trending in Number ในรูปแบบ DataVisualization ได้ที่ www.thaipbs.or.th/now/content/184
Google เปิดเผยรายงานการค้นหา Year in Search ของประเทศไทย พบว่า ในปี 2022 คนไทยสนใจเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศ” มากขึ้น เห็นได้จาก การค้นหา คำว่า "LGBTQ" เพิ่มขึ้น 110% ขณะที่ การค้นหาคำว่า "สมรสเท่าเทียม" เพิ่มขึ้น 800%
.
นอกจากนี้ Google ยังได้รวบรวมเทรนด์การค้นหาที่น่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับ Pride ในประเทศไทย เช่น ความสนใจในการค้นหาเกี่ยวกับ non-binary gender, queer, pansexuality, LGBT, rainbow flag, LGBT pride, sexual orientation และ homophobia พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
.
ในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2566 ความสนใจในการค้นหาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่ “rainbow flag” เพิ่มขึ้น 180% ความสนใจในเรื่อง “gender fluidity” เพิ่มขึ้น 140% ความสนใจเรื่อง “homophobia” เพิ่มขึ้น 130% และ “non-binary gender” เพิ่มขึ้น 110%
.
ขณะเดียวกัน Wisesight เช็กกระแส “บางกอกไพรด์ 2023” บนโลกออนไลน์ ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE วันที่ 1 - 11 มิ.ย. 66 พบว่า มีการพูดถึง 38,547 ข้อความ มี
Engagement 26,993,306 ครั้ง โดยมีการพูดถึงผ่านแพลตฟอร์มของ Facebook มากที่สุด รองลงมาเป็น Twitter, Instagram และอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปภาพงานเดินขบวนพาเหรดผ่านแฮชแท็ก #BangkokPride2023 และ #บางกอกไพรด์2023
.
Pride Month การตลาดหรือผลักดันกฎหมาย ? ชวนทุกคนสำรวจผ่าน Thai PBS Trending in Number ในรูปแบบ DataVisualization ได้ที่ www.thaipbs.or.th/now/content/184