“ศิลป์ พีระศรี” คือใคร ? ทำไมได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย

“ศิลป์ พีระศรี” คือใคร ? ทำไมได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย

14 ก.ย. 66

15 กันยายน ของทุกปี “วันศิลป์ พีระศรี” ชวนรู้จัก “ศิลป์ พีระศรี” ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย 

  • ศ. ศิลป์ พีระศรี มีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์  เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในไทย สมัยรัชกาลที่ 6
  • เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญ ผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม นับเป็นโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทย ซึ่งต่อมาคือ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก  และยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งแรก ในปี 2492 เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปะในวงกว้าง และส่งเสริมศิลปินพร้อมกับการเติบโตของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ท่านก่อตั้ง
  • อนุสาวรีย์ที่สำคัญหลายแห่งในไทยมาจากฝีมือการปั้นหล่อและออกแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์
    • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 
    • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
       
  • เจ้าของวลี  “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” [Ars longa, vita brevis] สุภาษิตละตินที่ ศ. ศิลป์ พีระศรี มักหยิบยกมาสอนลูกศิษย์ ให้ตระหนักว่า ชีวิตเราแสนสั้น แต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบ

เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทุกวันที่ 15 กันยายน จึงถูกกำหนดให้เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อร่วมกันรำลึกถึงครูผู้อุทิศชีวิตเพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

“ศิลป์ พีระศรี” คือใคร ? ทำไมได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย

14 ก.ย. 66

15 กันยายน ของทุกปี “วันศิลป์ พีระศรี” ชวนรู้จัก “ศิลป์ พีระศรี” ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย 

  • ศ. ศิลป์ พีระศรี มีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์  เข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในไทย สมัยรัชกาลที่ 6
  • เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญ ผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม นับเป็นโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทย ซึ่งต่อมาคือ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก  และยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งแรก ในปี 2492 เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปะในวงกว้าง และส่งเสริมศิลปินพร้อมกับการเติบโตของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ท่านก่อตั้ง
  • อนุสาวรีย์ที่สำคัญหลายแห่งในไทยมาจากฝีมือการปั้นหล่อและออกแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
    • พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์
    • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 
    • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
       
  • เจ้าของวลี  “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” [Ars longa, vita brevis] สุภาษิตละตินที่ ศ. ศิลป์ พีระศรี มักหยิบยกมาสอนลูกศิษย์ ให้ตระหนักว่า ชีวิตเราแสนสั้น แต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบ

เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทุกวันที่ 15 กันยายน จึงถูกกำหนดให้เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อร่วมกันรำลึกถึงครูผู้อุทิศชีวิตเพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง