ความเชื่อน่ารู้ใน "สงกรานต์" แต่ละท้องถิ่น

ความเชื่อน่ารู้ใน "สงกรานต์" แต่ละท้องถิ่น

11 เม.ย. 67

“สงกรานต์” เทศกาลฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ แต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน แต่ในล้านนาซึ่งเรียกเทศกาลสงกรานต์ ว่า “ปเวณีปี๋ใหม่” บางปีอาจอยู่ในช่วงวันที่ 14 - 16 เมษายน และมีความเชื่อว่าการนำไม้ง่ามไปค้ำต้นโพธิ์ ถือเป็นการค้ำจุนศาสนาให้ยืนยาวต่อไป

ส่วนภาคอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป 7 วัน บางแห่งอาจถึง 15 วัน และในภาคใต้ จะเรียกช่วงสงกรานต์ว่าเป็น “วันว่าง” ถือเป็นวันที่ต้องว่างจากการทำงานทุกชนิด ในภาคกลางจะนิยมทำบุญตักบาตรในวันที่ 13 เมษายน เพราะถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่

ความเชื่อน่ารู้ใน "สงกรานต์" แต่ละท้องถิ่น

11 เม.ย. 67

“สงกรานต์” เทศกาลฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ แต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน แต่ในล้านนาซึ่งเรียกเทศกาลสงกรานต์ ว่า “ปเวณีปี๋ใหม่” บางปีอาจอยู่ในช่วงวันที่ 14 - 16 เมษายน และมีความเชื่อว่าการนำไม้ง่ามไปค้ำต้นโพธิ์ ถือเป็นการค้ำจุนศาสนาให้ยืนยาวต่อไป

ส่วนภาคอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป 7 วัน บางแห่งอาจถึง 15 วัน และในภาคใต้ จะเรียกช่วงสงกรานต์ว่าเป็น “วันว่าง” ถือเป็นวันที่ต้องว่างจากการทำงานทุกชนิด ในภาคกลางจะนิยมทำบุญตักบาตรในวันที่ 13 เมษายน เพราะถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่