"ประวัติศาสตร์อาหารกระป๋อง" ที่เกิดในยุคสงครามนโปเลียน

"ประวัติศาสตร์อาหารกระป๋อง" ที่เกิดในยุคสงครามนโปเลียน

19 เม.ย. 67

จักรพรรดินโปเลียนตั้งรางวัล เพื่อค้นหาวิธีถนอมอาหารสำหรับเดินทางไกลในยามออกรบช่วงสงคราม จนเกิดเป็นอาหารกระป๋อง 

"กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ไม่ใช่เพียงคำพูดเล่น ๆ ก่อนมื้ออาหารเท่านั้น ความเป็นจริงแล้วมาจากยุทธศาสตร์การรบในช่วงสงครามที่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่าง นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เคยกล่าวเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่นโปเลียนให้ความสำคัญในการวางแผนการทำสงครามในอดีตที่ต้องออกเดินทางไกลและใช้เวลานานแรมปี ก็คือการเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อมเพื่อเสริมศักยภาพความเก่งกล้าของเหล่าทหารในกองทัพ

ยุคสมัยสงครามนโปเลียน มักพบกับปัญหาอาหารบูดเน่าไม่สามารถเก็บได้เป็นเวลานานอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งนโปเลียนได้ประกาศหาบุคคลที่สามารถคิดค้นวิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้เป็นเวลานาน และสามารถพกพาออกเดินทางไกลได้ โดยจะมอบรางวัลให้เป็นเงินจำนวน 12,000 ฟรังก์ หรือประมาณ 5 ล้านบาท

นิโคล่า อัปแปร์ (Nicolas Appert) ได้รางวัลนี้ไปครอง และได้รับขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งอาหารกระป๋องของโลก จากการค้นพบวิธีการรักษาอาหารให้อยู่ได้ยาวนานโดยการเอาอาหารใส่ไว้ในขวดโหลที่ทำมาจากแก้ว จากนั้นปิดปากขวดด้วยจุกก๊อกให้สนิท และซีลอีกรอบด้วยขี้ผึ้ง ก่อนจะนำไปต้มในน้ำร้อนจนกว่าอาหารที่อยู่ข้างในจะสุก ซึ่งเป็นวิธีการฆ่าเชื้อเพื่อหยุดยั้งการเน่าเสียและการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้สามารถถนอมอาหารไว้ได้นานนับปี แต่ต้องระวังไม่ให้ฝามีรอยรั่วให้อากาศผ่านเข้าไปได้ เพราะจะทำให้อาหารเน่าเสีย

น่าเสียดายที่วิธีการถนอมอาหารของนิโคล่า อัปแปร์ ยังไม่ทันได้แสดงศักยภาพภาพในกองทัพอย่างเต็มที่ เนื่องจากนโปเลียนสั่งถอยทัพกลับจากรัสเซียเพราะสู้ความหนาวไม่ไหว แต่ถึงกระนั้นการใช้ขวดแก้วในการถนอมอาหารยังคงสร้างปัญหาอยู่มาก เพราะแตกหักง่าย ทำให้ไม่สะดวกต่อการขนย้ายและการเดินทาง นักประดิษฐ์และพ่อค้าชาวอังกฤษที่ชื่อว่าปีเตอร์ ดูแรนด์ (Peter Durand) ได้เสนอให้ใช้กระป๋องมาบรรจุอาหารแทนขวดแก้ว ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่องการขนส่งไปได้ค่อนข้างมาก อีกทั้งปีเตอร์ยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตรฉบับแรกสำหรับแนวคิดการเก็บรักษาอาหารไว้ในกระป๋อง

อาหารกระป๋องได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในช่วงทศวรรษ 1830 โดยพ่อค้าชาวสกอตแลนด์ถือเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่นำปลามาบรรจุในกระป๋องเพื่อลำเลียงและจำหน่ายออกสู่ตลาด และมีอีกหลายประเทศที่นำปลามาบรรจุในกระป๋องจำหน่ายจนเกิดเป็นปลากระป๋องในซอสต่าง ๆ ซึ่งปลาที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำปลากระป๋อง คือ ปลาซาร์ดีน และ ปลาแมกเคอเรล โดยคาดว่าประเทศแรกที่ใช้ปลาชนิดนี้น่าจะเป็นประเทศสเปนและอิตาลี เพราะมีขนาดที่ค่อนข้างเหมาะสม มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และมีจำนวนมากในทะเลทั่วโลก จนกลายมาเป็นปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศในปัจจุบัน

📌อ่านต่อ : https://thaip.bs/PtWvbxe 

 

"ประวัติศาสตร์อาหารกระป๋อง" ที่เกิดในยุคสงครามนโปเลียน

19 เม.ย. 67

จักรพรรดินโปเลียนตั้งรางวัล เพื่อค้นหาวิธีถนอมอาหารสำหรับเดินทางไกลในยามออกรบช่วงสงคราม จนเกิดเป็นอาหารกระป๋อง 

"กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ไม่ใช่เพียงคำพูดเล่น ๆ ก่อนมื้ออาหารเท่านั้น ความเป็นจริงแล้วมาจากยุทธศาสตร์การรบในช่วงสงครามที่จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่าง นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เคยกล่าวเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่นโปเลียนให้ความสำคัญในการวางแผนการทำสงครามในอดีตที่ต้องออกเดินทางไกลและใช้เวลานานแรมปี ก็คือการเตรียมเสบียงอาหารให้พร้อมเพื่อเสริมศักยภาพความเก่งกล้าของเหล่าทหารในกองทัพ

ยุคสมัยสงครามนโปเลียน มักพบกับปัญหาอาหารบูดเน่าไม่สามารถเก็บได้เป็นเวลานานอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งนโปเลียนได้ประกาศหาบุคคลที่สามารถคิดค้นวิธีถนอมอาหารให้อยู่ได้เป็นเวลานาน และสามารถพกพาออกเดินทางไกลได้ โดยจะมอบรางวัลให้เป็นเงินจำนวน 12,000 ฟรังก์ หรือประมาณ 5 ล้านบาท

นิโคล่า อัปแปร์ (Nicolas Appert) ได้รางวัลนี้ไปครอง และได้รับขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งอาหารกระป๋องของโลก จากการค้นพบวิธีการรักษาอาหารให้อยู่ได้ยาวนานโดยการเอาอาหารใส่ไว้ในขวดโหลที่ทำมาจากแก้ว จากนั้นปิดปากขวดด้วยจุกก๊อกให้สนิท และซีลอีกรอบด้วยขี้ผึ้ง ก่อนจะนำไปต้มในน้ำร้อนจนกว่าอาหารที่อยู่ข้างในจะสุก ซึ่งเป็นวิธีการฆ่าเชื้อเพื่อหยุดยั้งการเน่าเสียและการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้สามารถถนอมอาหารไว้ได้นานนับปี แต่ต้องระวังไม่ให้ฝามีรอยรั่วให้อากาศผ่านเข้าไปได้ เพราะจะทำให้อาหารเน่าเสีย

น่าเสียดายที่วิธีการถนอมอาหารของนิโคล่า อัปแปร์ ยังไม่ทันได้แสดงศักยภาพภาพในกองทัพอย่างเต็มที่ เนื่องจากนโปเลียนสั่งถอยทัพกลับจากรัสเซียเพราะสู้ความหนาวไม่ไหว แต่ถึงกระนั้นการใช้ขวดแก้วในการถนอมอาหารยังคงสร้างปัญหาอยู่มาก เพราะแตกหักง่าย ทำให้ไม่สะดวกต่อการขนย้ายและการเดินทาง นักประดิษฐ์และพ่อค้าชาวอังกฤษที่ชื่อว่าปีเตอร์ ดูแรนด์ (Peter Durand) ได้เสนอให้ใช้กระป๋องมาบรรจุอาหารแทนขวดแก้ว ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่องการขนส่งไปได้ค่อนข้างมาก อีกทั้งปีเตอร์ยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตรฉบับแรกสำหรับแนวคิดการเก็บรักษาอาหารไว้ในกระป๋อง

อาหารกระป๋องได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในช่วงทศวรรษ 1830 โดยพ่อค้าชาวสกอตแลนด์ถือเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่นำปลามาบรรจุในกระป๋องเพื่อลำเลียงและจำหน่ายออกสู่ตลาด และมีอีกหลายประเทศที่นำปลามาบรรจุในกระป๋องจำหน่ายจนเกิดเป็นปลากระป๋องในซอสต่าง ๆ ซึ่งปลาที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำปลากระป๋อง คือ ปลาซาร์ดีน และ ปลาแมกเคอเรล โดยคาดว่าประเทศแรกที่ใช้ปลาชนิดนี้น่าจะเป็นประเทศสเปนและอิตาลี เพราะมีขนาดที่ค่อนข้างเหมาะสม มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และมีจำนวนมากในทะเลทั่วโลก จนกลายมาเป็นปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศในปัจจุบัน

📌อ่านต่อ : https://thaip.bs/PtWvbxe