"ฉางเอ๋อ" เทพีแห่งดวงจันทร์ ที่มาเทศกาลไหว้พระจันทร์ สู่ชื่อยานอวกาศของจีน

"ฉางเอ๋อ" เทพีแห่งดวงจันทร์ ที่มาเทศกาลไหว้พระจันทร์ สู่ชื่อยานอวกาศของจีน

17 ก.ย. 67

เปิดตำนานที่มา วันไหว้พระจันทร์  อีกหนึ่งวันสำคัญของชาวจีนที่จะมีการไหว้พระจันทร์ในช่วงเย็น ด้วย "เปี้ยหรือปิ่ง" ซึ่งก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ผลไม้ อาหารเจ เครื่องสำอาง อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะบูชา ก็คือ "เนี้ยเก็ง" หรือ "วังเจ้าแม่" ที่มีหลายขนาดและจะต้องมีภาพเจ้าแม่และคณะโป๊ยเซียนยืน 2 องค์ประจำยามที่ประตูวัง

ตำนานเกี่ยวกับที่มา เทศกาลไหว้พระจันทร์ มีหลายตำนาน แต่ที่แพร่หลายและรู้จักดี หนึ่งในนั้นคือ ตำนานเทพีแห่งดวงจันทร์ นามว่า "ฉางเอ๋อ"

ในอดีตกาล "โฮ่วอี้" นักยิงธนู มีคนรักนามว่า "ฉางเอ๋อ" ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์พระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน 10 ดวง สร้างความเดือดร้อนให้ชาวโลก โฮ่วอี้จึงใช้ธนูยิงพระอาทิตย์ดับไป 9 ดวง ผู้คนต่างยินดีและแซ่ซ้อง เทพเจ้าท่านหนึ่งพอใจ จึงประทานยาอายุวัฒนะให้ แต่ยานั้นเพียงพอสำหรับคนเดียว โฮ่วอี้ไม่ต้องการเป็นอมตะโดยไม่มีคนรัก จึงให้ฉางเอ๋อเก็บยานั้นไว้

ต่อมา "เฝิงเหมิง" ลูกศิษย์ของโฮ่วอี้ ใช้อุบายหลอกลวงหวังขโมยยา แต่ฉางเอ๋อไม่ยอม เมื่อเกิดคับขัน นางจึงตัดสินใจดื่มยานั้นเอง เพื่อไม่ให้ยาตกอยู่ในมือคนชั่ว เธอจึงลอยขึ้นไปบนฟ้า กลายเป็น "เทพีแห่งดวงจันทร์" ตรงกับวันเพ็ญเดือนแปด จันทร์งามกระจ่าง โฮ่วอี้จึงจัดเครื่องเซ่นบูชาพระจันทร์ รำลึกถึงคนรัก กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานที่มาเทศกาลไหว้พระจันทร์นั่นเอง

  • จากตำนาน สู่ชื่อยานอวกาศสำคัญของจีน

ปัจจุบันจีนพัฒนายานอวกาศจาก "ฉางเอ๋อ-1" มาถึง "ฉางเอ๋อ-6" โดยชื่อนั้นมีที่มาจากชื่อ "ฉางเอ๋อ" ที่คนจึนเชื่อกันว่าเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งภารกิจล่าสุดของฉางเอ๋อ-6 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลก ที่ได้มีการนำตัวอย่างดินและหินจากด้านไกล (ที่มองไม่เห็นจากโลก) ของดวงจันทร์ กลับมาถึงโลกได้ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 67 ที่ผ่านมา 

ปัจจุบัน การไหว้พระจันทร์อาจเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน และเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ขนมไหว้พระจันทร์ค่อนข้างมีราคาสูง แต่ในขณะเดียวกันยังมีบางชุมชนที่มีการรื้อฟื้นการไหว้พระจันทร์ขึ้นใหม่ เช่น ชุมชนเจริญไชย เยาวราช ที่ได้ร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่องเพื่อบอกเล่าประวัติความเป็นมาและความสำคัญของย่านเจริญไชย พร้อมกับรื้อฟื้นประเพณีไหว้พระจันทร์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมและประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

"ฉางเอ๋อ" เทพีแห่งดวงจันทร์ ที่มาเทศกาลไหว้พระจันทร์ สู่ชื่อยานอวกาศของจีน

17 ก.ย. 67

เปิดตำนานที่มา วันไหว้พระจันทร์  อีกหนึ่งวันสำคัญของชาวจีนที่จะมีการไหว้พระจันทร์ในช่วงเย็น ด้วย "เปี้ยหรือปิ่ง" ซึ่งก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ผลไม้ อาหารเจ เครื่องสำอาง อีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะบูชา ก็คือ "เนี้ยเก็ง" หรือ "วังเจ้าแม่" ที่มีหลายขนาดและจะต้องมีภาพเจ้าแม่และคณะโป๊ยเซียนยืน 2 องค์ประจำยามที่ประตูวัง

ตำนานเกี่ยวกับที่มา เทศกาลไหว้พระจันทร์ มีหลายตำนาน แต่ที่แพร่หลายและรู้จักดี หนึ่งในนั้นคือ ตำนานเทพีแห่งดวงจันทร์ นามว่า "ฉางเอ๋อ"

ในอดีตกาล "โฮ่วอี้" นักยิงธนู มีคนรักนามว่า "ฉางเอ๋อ" ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์พระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน 10 ดวง สร้างความเดือดร้อนให้ชาวโลก โฮ่วอี้จึงใช้ธนูยิงพระอาทิตย์ดับไป 9 ดวง ผู้คนต่างยินดีและแซ่ซ้อง เทพเจ้าท่านหนึ่งพอใจ จึงประทานยาอายุวัฒนะให้ แต่ยานั้นเพียงพอสำหรับคนเดียว โฮ่วอี้ไม่ต้องการเป็นอมตะโดยไม่มีคนรัก จึงให้ฉางเอ๋อเก็บยานั้นไว้

ต่อมา "เฝิงเหมิง" ลูกศิษย์ของโฮ่วอี้ ใช้อุบายหลอกลวงหวังขโมยยา แต่ฉางเอ๋อไม่ยอม เมื่อเกิดคับขัน นางจึงตัดสินใจดื่มยานั้นเอง เพื่อไม่ให้ยาตกอยู่ในมือคนชั่ว เธอจึงลอยขึ้นไปบนฟ้า กลายเป็น "เทพีแห่งดวงจันทร์" ตรงกับวันเพ็ญเดือนแปด จันทร์งามกระจ่าง โฮ่วอี้จึงจัดเครื่องเซ่นบูชาพระจันทร์ รำลึกถึงคนรัก กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานที่มาเทศกาลไหว้พระจันทร์นั่นเอง

  • จากตำนาน สู่ชื่อยานอวกาศสำคัญของจีน

ปัจจุบันจีนพัฒนายานอวกาศจาก "ฉางเอ๋อ-1" มาถึง "ฉางเอ๋อ-6" โดยชื่อนั้นมีที่มาจากชื่อ "ฉางเอ๋อ" ที่คนจึนเชื่อกันว่าเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งภารกิจล่าสุดของฉางเอ๋อ-6 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลก ที่ได้มีการนำตัวอย่างดินและหินจากด้านไกล (ที่มองไม่เห็นจากโลก) ของดวงจันทร์ กลับมาถึงโลกได้ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 67 ที่ผ่านมา 

ปัจจุบัน การไหว้พระจันทร์อาจเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน และเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ขนมไหว้พระจันทร์ค่อนข้างมีราคาสูง แต่ในขณะเดียวกันยังมีบางชุมชนที่มีการรื้อฟื้นการไหว้พระจันทร์ขึ้นใหม่ เช่น ชุมชนเจริญไชย เยาวราช ที่ได้ร่วมกันก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่องเพื่อบอกเล่าประวัติความเป็นมาและความสำคัญของย่านเจริญไชย พร้อมกับรื้อฟื้นประเพณีไหว้พระจันทร์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมและประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน