บางคนอาจมีเหตุจำเป็นหรือติดภารกิจจนไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ หลายคนอยากรู้ทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร
สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก่อนวันเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 4-10 พฤษภาคม 2568) และในช่วงหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2568) ด้วยวิธี ดังนี้
1. แจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์
ไม่ได้กลับบ้านไปเลือกตั้งเทศบาล ให้ยื่นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางออนไลน์ได้ โดยแจ้งชื่อและเหตุจำเป็นผ่าน ระบบการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์การเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ : www.bora.dopa.go.th
2. แจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Smart Vote
เลือกเมนู “เลือกตั้งท้องถิ่น”
เลือกเมนู “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง”
หากมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ให้ไปที่เมนู “แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง”
ผู้ใช้งานจะต้องกรอกเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิด เพื่อดำเนินการต่อ
3. แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ใช้แบบฟอร์ม ส.ถ./ผ.ถ. 1/8 หรือ ทำเป็นหนังสือระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน >> ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ส.ถ./ผ.ถ. 1/8
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ มีอะไรบ้าง
• มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
• เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
• เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
• เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
• มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
• ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
• มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
• ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้
หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะเสียสิทธิอะไรบ้าง
• สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น สว.
• สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
• เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
• ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
• ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
• ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
ทั้งนี้ การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ข้อมูล : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
บางคนอาจมีเหตุจำเป็นหรือติดภารกิจจนไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ หลายคนอยากรู้ทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร
สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก่อนวันเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 4-10 พฤษภาคม 2568) และในช่วงหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2568) ด้วยวิธี ดังนี้
1. แจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์
ไม่ได้กลับบ้านไปเลือกตั้งเทศบาล ให้ยื่นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางออนไลน์ได้ โดยแจ้งชื่อและเหตุจำเป็นผ่าน ระบบการแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์การเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ : www.bora.dopa.go.th
2. แจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Smart Vote
เลือกเมนู “เลือกตั้งท้องถิ่น”
เลือกเมนู “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง”
หากมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ให้ไปที่เมนู “แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง”
ผู้ใช้งานจะต้องกรอกเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิด เพื่อดำเนินการต่อ
3. แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
ใช้แบบฟอร์ม ส.ถ./ผ.ถ. 1/8 หรือ ทำเป็นหนังสือระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน >> ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ส.ถ./ผ.ถ. 1/8
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ มีอะไรบ้าง
• มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
• เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
• เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
• เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
• มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
• ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
• มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
• ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้
หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะเสียสิทธิอะไรบ้าง
• สมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น สว.
• สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
• เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
• ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
• ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
• ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
ทั้งนี้ การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ข้อมูล : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย