"โกง" โครงการรัฐ กว่าจะสร้างจบ มีช่องโหว่..ตรงไหนบ้าง ?

"โกง" โครงการรัฐ กว่าจะสร้างจบ มีช่องโหว่..ตรงไหนบ้าง ?

18 พ.ค. 68

เหตุการณ์ตึก สตง. พังถล่มจากการแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของโครงการรัฐในหลายประเด็น ประชาชนและสื่อมวลชนต่างสงสัยถึงความโปร่งใสในการก่อสร้าง ตลอดจนมาตรฐานการตรวจสอบของ สตง. เองที่ถือเป็นผู้พิทักษ์เงินแผ่นดิน ไม่เพี่ยงแค่ ตึก สตง. เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความโปร่งใสของโครงการรัฐทั่งประเทศ  

“โครงการรัฐ” หนึ่งโครงการ กว่าจะสร้างเสร็จ ไม่ใช่แค่เรื่องแบบ ก่อสร้าง งบ และเส้นตัดถนน แต่มันคือ “กระบวนการ” หลากหลายขั้นตอน ตั้งแต่การคิดแผน เสนอของบ ไปจนถึงส่งมอบงานให้ประชาชนใช้งาน จากการติดตามโครงการในพื้นที่จริงทั่วประเทศขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน พบว่าแทบทุกขั้นตอนล้วนมี “ช่องโหว่” ให้โกงได้

7 ขั้นตอน "โกง" โครงการรัฐ

• Step 1: เสนอแผน
บางโครงการถูกผลักดันโดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความต้องการของพื้นที่จริง ใช้เพียงตัวเลขเป้าจากนโยบายหรือการล็อบบี้ของกลุ่มทุน ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “โครงการลอย” สร้างสิ่งที่ชุมชนไม่ได้ต้องการ

• Step 2: ตั้งงบประมาณ
กระบวนการประเมินงบไม่โปร่งใส บางกรณีพบการบวกราคาสำรองเกินความเป็นจริง ใช้ “งบเผื่อโกง” ซุกไว้ในรายการเล็ก ๆ เพื่อให้เบิกเกินภายหลังได้โดยยากต่อการตรวจสอบ

• Step 3: เขียน TOR (ขอบเขตงาน)
จุดนี้เป็น “เครื่องมือล็อก” ที่ทรงพลังมาก สามารถเขียนให้เอื้อรายใดรายหนึ่งได้ เช่น กำหนดสเปคเฉพาะแบรนด์ ใช้ภาษาคลุมเครือที่เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตีความได้ภายหลัง ตั้งเงื่อนไขประสบการณ์เฉพาะที่ผู้เล่นหน้าเดิมเข้าถึงได้เท่านั้น

• Step 4: เปิดประมูล
แม้ระบบจะใช้ E-bidding แต่ช่องโหว่ของ “ฮั้วประมูล” ยังเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ผู้เสนอราคาจำนวนมากแต่ตกลงกันล่วงหน้า เสนอราคาห่างกันเพียงเล็กน้อยแบบ “แบ่งเค้ก” หรือบางครั้งมีการใช้ “นอมินี” มาประมูลแข่งกันเอง

• Step 5: ควบคุมงาน
หลายโครงการแม้เอกสารถูกต้อง แต่หน้างานจริงกลับใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เพราะเจ้าหน้าที่ควบคุมงานละเลย หรือตกลงใต้โต๊ะกับผู้รับเหมา ผลคือสิ่งปลูกสร้างที่พังง่าย เสื่อมสภาพเร็ว และอาจอันตรายต่อผู้ใช้งาน

• Step 6: ตรวจรับงาน
ตรวจรับแบบ “ผ่านไปก่อน” โดยไม่ตรวจเทียบกับ TOR หรือแบบที่กำหนด บางกรณีตรวจรับก่อนงานเสร็จจริง หรือรับมอบทั้งที่งานยังขาดบางส่วน เพื่อให้เบิกงวดสุดท้ายได้เร็ว ทั้งที่โครงการยังไม่สมบูรณ์

• Step 7: ซ่อมบำรุง
เมื่อโครงการเสร็จ หากไม่มีระบบติดตามที่ดี จะเปิดช่องให้มีการเบิกงบซ่อมซ้ำ ทั้งที่ไม่มีการซ่อมจริง หรือซ่อมแบบลวก ๆ โดยไม่มีใครกล้าท้ว

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียง “ข้อสังเกต” แต่คือ “ลักษณะพฤติกรรมทุจริต” ที่พบซ้ำแล้วซ้ำอีกจากโครงการในระบบรัฐ

ที่มา : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

"โกง" โครงการรัฐ กว่าจะสร้างจบ มีช่องโหว่..ตรงไหนบ้าง ?

18 พ.ค. 68

เหตุการณ์ตึก สตง. พังถล่มจากการแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของโครงการรัฐในหลายประเด็น ประชาชนและสื่อมวลชนต่างสงสัยถึงความโปร่งใสในการก่อสร้าง ตลอดจนมาตรฐานการตรวจสอบของ สตง. เองที่ถือเป็นผู้พิทักษ์เงินแผ่นดิน ไม่เพี่ยงแค่ ตึก สตง. เท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความโปร่งใสของโครงการรัฐทั่งประเทศ  

“โครงการรัฐ” หนึ่งโครงการ กว่าจะสร้างเสร็จ ไม่ใช่แค่เรื่องแบบ ก่อสร้าง งบ และเส้นตัดถนน แต่มันคือ “กระบวนการ” หลากหลายขั้นตอน ตั้งแต่การคิดแผน เสนอของบ ไปจนถึงส่งมอบงานให้ประชาชนใช้งาน จากการติดตามโครงการในพื้นที่จริงทั่วประเทศขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน พบว่าแทบทุกขั้นตอนล้วนมี “ช่องโหว่” ให้โกงได้

7 ขั้นตอน "โกง" โครงการรัฐ

• Step 1: เสนอแผน
บางโครงการถูกผลักดันโดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความต้องการของพื้นที่จริง ใช้เพียงตัวเลขเป้าจากนโยบายหรือการล็อบบี้ของกลุ่มทุน ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “โครงการลอย” สร้างสิ่งที่ชุมชนไม่ได้ต้องการ

• Step 2: ตั้งงบประมาณ
กระบวนการประเมินงบไม่โปร่งใส บางกรณีพบการบวกราคาสำรองเกินความเป็นจริง ใช้ “งบเผื่อโกง” ซุกไว้ในรายการเล็ก ๆ เพื่อให้เบิกเกินภายหลังได้โดยยากต่อการตรวจสอบ

• Step 3: เขียน TOR (ขอบเขตงาน)
จุดนี้เป็น “เครื่องมือล็อก” ที่ทรงพลังมาก สามารถเขียนให้เอื้อรายใดรายหนึ่งได้ เช่น กำหนดสเปคเฉพาะแบรนด์ ใช้ภาษาคลุมเครือที่เปิดทางให้เจ้าหน้าที่ตีความได้ภายหลัง ตั้งเงื่อนไขประสบการณ์เฉพาะที่ผู้เล่นหน้าเดิมเข้าถึงได้เท่านั้น

• Step 4: เปิดประมูล
แม้ระบบจะใช้ E-bidding แต่ช่องโหว่ของ “ฮั้วประมูล” ยังเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ผู้เสนอราคาจำนวนมากแต่ตกลงกันล่วงหน้า เสนอราคาห่างกันเพียงเล็กน้อยแบบ “แบ่งเค้ก” หรือบางครั้งมีการใช้ “นอมินี” มาประมูลแข่งกันเอง

• Step 5: ควบคุมงาน
หลายโครงการแม้เอกสารถูกต้อง แต่หน้างานจริงกลับใช้วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เพราะเจ้าหน้าที่ควบคุมงานละเลย หรือตกลงใต้โต๊ะกับผู้รับเหมา ผลคือสิ่งปลูกสร้างที่พังง่าย เสื่อมสภาพเร็ว และอาจอันตรายต่อผู้ใช้งาน

• Step 6: ตรวจรับงาน
ตรวจรับแบบ “ผ่านไปก่อน” โดยไม่ตรวจเทียบกับ TOR หรือแบบที่กำหนด บางกรณีตรวจรับก่อนงานเสร็จจริง หรือรับมอบทั้งที่งานยังขาดบางส่วน เพื่อให้เบิกงวดสุดท้ายได้เร็ว ทั้งที่โครงการยังไม่สมบูรณ์

• Step 7: ซ่อมบำรุง
เมื่อโครงการเสร็จ หากไม่มีระบบติดตามที่ดี จะเปิดช่องให้มีการเบิกงบซ่อมซ้ำ ทั้งที่ไม่มีการซ่อมจริง หรือซ่อมแบบลวก ๆ โดยไม่มีใครกล้าท้ว

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียง “ข้อสังเกต” แต่คือ “ลักษณะพฤติกรรมทุจริต” ที่พบซ้ำแล้วซ้ำอีกจากโครงการในระบบรัฐ

ที่มา : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน