รู้จัก 8 ชุดไทยพระราชนิยม มรดกแห่งความงามไทย

รู้จัก 8 ชุดไทยพระราชนิยม มรดกแห่งความงามไทย

9 ก.ค. 68

ชุดไทย” ไม่ใช่เพียงเสื้อผ้า หากแต่เป็นภาพแทนของรากเหง้า ศิลปะ และภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินไทย ล่าสุดประเทศไทยเตรียมผลักดัน “ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ” เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในเวทีระดับโลก 



นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยรายงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจ้งว่าองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) แจ้งยืนยันว่ารายการ "ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ" (Chud Thai: The Knowledge, Craftsmanship and Practices of the Thai National Costume) จะถูกบรรจุเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) สมัยที่ 21 ในปี 2569 ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการผลักดัน Soft Power ไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก 


กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินนโยบายอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ขึ้นบัญชีในระดับชาติแล้วถึง 396 รายการ โดย “ชุดไทยพระราชนิยม” ได้รับการขึ้นบัญชีดังกล่าวเมื่อปี 2566 และได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ให้เสนอขึ้นทะเบียนในระดับนานาชาติ


ชุดไทยพระราชนิยม” เป็นเครื่องแต่งกายที่มีคุณค่าไม่เพียงในเชิงสุนทรียภาพ แต่ยังสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นไทยผ่านศิลปะการตัดเย็บ การเลือกใช้ผ้า และลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม งานช่างฝีมือเหล่านี้เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้และฝีมือของช่างในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ

อ่าน : ไทยเสนอ "ชุดไทย" เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ "ยูเนสโก" ในปี 2569


ต้นกำเนิดของชุดไทยพระราชนิยม เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเห็นความสำคัญของการแต่งกายแบบไทยในเวทีนานาชาติ จึงโปรดให้มีการศึกษาค้นคว้า ฟื้นฟู และออกแบบชุดไทยสำหรับสตรี โดยทรงฉลองพระองค์ในการเสด็จฯ ร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2503


ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชุดไทยพระราชนิยมได้กลายเป็นแบบอย่างที่ชาวไทยนิยมสวมใส่ในงานสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธี งานมงคลสมรส หรือโอกาสพิเศษอื่น ๆ ไม่เพียงเพื่อความงาม แต่ยังเพื่อแสดงความเคารพต่อวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดกันมา
 

8 ชุดไทยพระราชนิยม


ความงดงามของ “ชุดไทยพระราชนิยม” แบ่งออกเป็น 8 แบบหลัก โดยแต่ละชุดมีรูปแบบ ความประณีต และความเหมาะสมต่อโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
 

1. ชุดไทยเรือนต้น

ชื่อ “เรือนต้น” ได้รับแรงบันดาลใจจากเรือนต้นใน พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นพระตำหนักที่มีบรรยากาศสงบ เรียบง่าย และอบอุ่น เช่นเดียวกับลักษณะของชุดนี้

ด้วยรูปแบบที่เรียบ สุภาพ และสะดวกในการเคลื่อนไหว ชุดไทยเรือนต้นจึงเหมาะสำหรับงานกึ่งทางการหรืองานที่ไม่เป็นพิธีรีตองนัก เช่น งานเลี้ยงแบบไม่เป็นทางการ งานบำเพ็ญกุศลทางศาสนา หรือกิจกรรมที่ต้องการความเรียบร้อยแต่ไม่จำเป็นต้องหรูหรา ปัจจุบันยังนิยมใช้เป็น ชุดเจ้าสาวในพิธีหมั้นหรืองานช่วงเช้า ด้วยภาพลักษณ์ที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมด้วยความละเมียดละไมของความเป็นไทย
 

2. ชุดไทยจิตรลดา

“ชุดไทยจิตรลดา” ได้รับการตั้งชื่อตาม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักในพระราชวังดุสิต เรียบง่าย แต่เปี่ยมด้วยความสง่างาม เช่นเดียวกับลักษณะของชุดนี้ มักถูกเลือกสวมใส่ในโอกาสที่เป็นทางการ อาทิ การต้อนรับแขกเมือง งานพระราชพิธี หรือพิธีสวนสนาม ปัจจุบันยังได้รับความนิยมอย่างยิ่งในฐานะ ชุดเจ้าสาวสำหรับพิธีสมรสช่วงเช้า เพราะให้ภาพลักษณ์ที่งามสง่าและทรงคุณค่า
 

3. ชุดไทยอมรินทร์ 

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย สถานที่สำคัญในพระราชวัง ที่สะท้อนความสง่างามและความเป็นทางการของชุดนี้ ตัวเสื้อเป็นคอกลมแขนยาว มักปักดิ้นทองหรือดิ้นเงิน เพิ่มความงดงาม เหมาะใส่ในงานพิธีการตอนค่ำ เหมาะสำหรับงานพิธีที่เป็นทางการและมีความสำคัญ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือพิธีการราชการต่าง ๆ ที่ต้องการความสง่างามอย่างเต็มเปี่ยม

4. ชุดไทยบรมพิมาน

ชุดไทยบรมพิมานได้รับการตั้งชื่อตาม พระที่นั่งบรมพิมาน อันเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามและความวิจิตรในราชสำนัก ตัวเสื้อเป็นแขนยาว คอตั้ง คล้ายชุดจิตรลดา แต่มีผ้าสไบหรือผ้าพาดไหล่ ใช้ในงานพิธีที่ต้องการความสุภาพและความสง่า เหมาะสำหรับงานพิธีการระดับสูงทั้งในช่วงกลางวันและงานราตรี เช่น งานราตรีสโมสร ปัจจุบันยังได้รับความนิยมในฐานะชุดเจ้าสาวสำหรับพิธีรดน้ำสังข์

5. ชุดไทยดุสิต

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ให้ความรู้สึกทันสมัยกว่าแบบอื่น ตัวเสื้อเป็นแขนกุด คอกลมหรือคอเหลี่ยม มักประดับด้วยลูกไม้หรือดิ้นเงิน หรือเลื่อมอย่างประณีต เสื้อกับซิ่นเย็บติดกันหรือแยกกันได้ ใช้ในงานพิธีตอนกลางคืน แทนชุดราตรีแบบตะวันตก ปัจจุบันนิยมเป็นชุดเจ้าสาวในพิธีรดน้ำสังข์

6. ชุดไทยจักรี

ชื่อชุดมาจากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นชุดไทยยอดนิยมในงานพิธีสำคัญ ตัวเสื้อเป็นแขนหนึ่งเดียว อีกข้างพันผ้าสไบเฉียงดูหรูหรา ใช้ผ้ายกดิ้นทองหรือเงิน นิยมใส่ในงานแต่งงานหรืองานกลางคืน ปัจจุบันนิยมเป็นชุดเจ้าสาวในงานเลี้ยงฉลองสมรสตอนค่ำ
 

7. ชุดไทยศิวาลัย

ชุดไทยศิวาลัยได้รับชื่อจาก พระที่นั่งศิวาลัย ซึ่งสะท้อนถึงความวิจิตรที่เป็นเอกลักษณ์ ตัวเสื้อแขนยาว คอตั้ง ใช้ผ้ายกหรือผ้าไหม นิยมใช้ในงานพระราชพิธี หรือพิธีทางศาสนา พิธีการที่มีหมายกำหนดการอย่างเคร่งครัด ทั้งในระดับเครื่องแบบและครึ่งยศ สามารถใส่ได้ทั้งในงานกลางวันและงานกลางคืน เช่น งานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ที่ต้องการความสง่างามและความสุภาพสูงสุด
 

8. ชุดไทยจักรพรรดิ

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หรูหราที่สุดในบรรดาชุดไทยพระราชนิยม ใช้ผ้ายกดิ้นทอง หรือผ้ายกไหมที่มีลวดลายงดงาม ตัดเย็บอย่างประณีต สวมใส่ในงานพระราชพิธีสำคัญหรือโอกาสพิเศษที่ต้องการความโอ่อ่า ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมนำมาเป็นชุดเจ้าสาว
 

ทั้ง 8 ชุดต่างสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมผ่านศิลปะการทอผ้า การปัก และการตัดเย็บอย่างละเอียดอ่อน และยังเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่านักออกแบบไทยร่วมสมัยสร้างสรรค์ชุดไทยที่ยังคงความงามตามแบบแผนแต่ผสานความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัว
 

นับว่า “ชุดไทย” ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องนุ่งห่ม แต่เป็นสื่อกลางแห่งความภาคภูมิใจ เป็นเครื่องบอกเล่าประวัติศาสตร์ และเป็นสมบัติที่ควรค่าแก่การจารึกไว้ในมรดกของมวลมนุษยชาติ…ซึ่งในไม่ช้านี้ อาจได้จารึกอยู่ในบัญชีมรดกโลกของยูเนสโกในนามประเทศไทย

รู้จัก 8 ชุดไทยพระราชนิยม มรดกแห่งความงามไทย

9 ก.ค. 68

ชุดไทย” ไม่ใช่เพียงเสื้อผ้า หากแต่เป็นภาพแทนของรากเหง้า ศิลปะ และภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินไทย ล่าสุดประเทศไทยเตรียมผลักดัน “ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ” เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในเวทีระดับโลก 



นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยรายงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจ้งว่าองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) แจ้งยืนยันว่ารายการ "ชุดไทย: ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ" (Chud Thai: The Knowledge, Craftsmanship and Practices of the Thai National Costume) จะถูกบรรจุเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) สมัยที่ 21 ในปี 2569 ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการผลักดัน Soft Power ไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก 


กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินนโยบายอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ขึ้นบัญชีในระดับชาติแล้วถึง 396 รายการ โดย “ชุดไทยพระราชนิยม” ได้รับการขึ้นบัญชีดังกล่าวเมื่อปี 2566 และได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ให้เสนอขึ้นทะเบียนในระดับนานาชาติ


ชุดไทยพระราชนิยม” เป็นเครื่องแต่งกายที่มีคุณค่าไม่เพียงในเชิงสุนทรียภาพ แต่ยังสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นไทยผ่านศิลปะการตัดเย็บ การเลือกใช้ผ้า และลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม งานช่างฝีมือเหล่านี้เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้และฝีมือของช่างในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ

อ่าน : ไทยเสนอ "ชุดไทย" เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ "ยูเนสโก" ในปี 2569


ต้นกำเนิดของชุดไทยพระราชนิยม เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเห็นความสำคัญของการแต่งกายแบบไทยในเวทีนานาชาติ จึงโปรดให้มีการศึกษาค้นคว้า ฟื้นฟู และออกแบบชุดไทยสำหรับสตรี โดยทรงฉลองพระองค์ในการเสด็จฯ ร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2503


ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชุดไทยพระราชนิยมได้กลายเป็นแบบอย่างที่ชาวไทยนิยมสวมใส่ในงานสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธี งานมงคลสมรส หรือโอกาสพิเศษอื่น ๆ ไม่เพียงเพื่อความงาม แต่ยังเพื่อแสดงความเคารพต่อวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดกันมา
 

8 ชุดไทยพระราชนิยม


ความงดงามของ “ชุดไทยพระราชนิยม” แบ่งออกเป็น 8 แบบหลัก โดยแต่ละชุดมีรูปแบบ ความประณีต และความเหมาะสมต่อโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
 

1. ชุดไทยเรือนต้น

ชื่อ “เรือนต้น” ได้รับแรงบันดาลใจจากเรือนต้นใน พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นพระตำหนักที่มีบรรยากาศสงบ เรียบง่าย และอบอุ่น เช่นเดียวกับลักษณะของชุดนี้

ด้วยรูปแบบที่เรียบ สุภาพ และสะดวกในการเคลื่อนไหว ชุดไทยเรือนต้นจึงเหมาะสำหรับงานกึ่งทางการหรืองานที่ไม่เป็นพิธีรีตองนัก เช่น งานเลี้ยงแบบไม่เป็นทางการ งานบำเพ็ญกุศลทางศาสนา หรือกิจกรรมที่ต้องการความเรียบร้อยแต่ไม่จำเป็นต้องหรูหรา ปัจจุบันยังนิยมใช้เป็น ชุดเจ้าสาวในพิธีหมั้นหรืองานช่วงเช้า ด้วยภาพลักษณ์ที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมด้วยความละเมียดละไมของความเป็นไทย
 

2. ชุดไทยจิตรลดา

“ชุดไทยจิตรลดา” ได้รับการตั้งชื่อตาม พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักในพระราชวังดุสิต เรียบง่าย แต่เปี่ยมด้วยความสง่างาม เช่นเดียวกับลักษณะของชุดนี้ มักถูกเลือกสวมใส่ในโอกาสที่เป็นทางการ อาทิ การต้อนรับแขกเมือง งานพระราชพิธี หรือพิธีสวนสนาม ปัจจุบันยังได้รับความนิยมอย่างยิ่งในฐานะ ชุดเจ้าสาวสำหรับพิธีสมรสช่วงเช้า เพราะให้ภาพลักษณ์ที่งามสง่าและทรงคุณค่า
 

3. ชุดไทยอมรินทร์ 

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย สถานที่สำคัญในพระราชวัง ที่สะท้อนความสง่างามและความเป็นทางการของชุดนี้ ตัวเสื้อเป็นคอกลมแขนยาว มักปักดิ้นทองหรือดิ้นเงิน เพิ่มความงดงาม เหมาะใส่ในงานพิธีการตอนค่ำ เหมาะสำหรับงานพิธีที่เป็นทางการและมีความสำคัญ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือพิธีการราชการต่าง ๆ ที่ต้องการความสง่างามอย่างเต็มเปี่ยม

4. ชุดไทยบรมพิมาน

ชุดไทยบรมพิมานได้รับการตั้งชื่อตาม พระที่นั่งบรมพิมาน อันเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามและความวิจิตรในราชสำนัก ตัวเสื้อเป็นแขนยาว คอตั้ง คล้ายชุดจิตรลดา แต่มีผ้าสไบหรือผ้าพาดไหล่ ใช้ในงานพิธีที่ต้องการความสุภาพและความสง่า เหมาะสำหรับงานพิธีการระดับสูงทั้งในช่วงกลางวันและงานราตรี เช่น งานราตรีสโมสร ปัจจุบันยังได้รับความนิยมในฐานะชุดเจ้าสาวสำหรับพิธีรดน้ำสังข์

5. ชุดไทยดุสิต

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ให้ความรู้สึกทันสมัยกว่าแบบอื่น ตัวเสื้อเป็นแขนกุด คอกลมหรือคอเหลี่ยม มักประดับด้วยลูกไม้หรือดิ้นเงิน หรือเลื่อมอย่างประณีต เสื้อกับซิ่นเย็บติดกันหรือแยกกันได้ ใช้ในงานพิธีตอนกลางคืน แทนชุดราตรีแบบตะวันตก ปัจจุบันนิยมเป็นชุดเจ้าสาวในพิธีรดน้ำสังข์

6. ชุดไทยจักรี

ชื่อชุดมาจากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นชุดไทยยอดนิยมในงานพิธีสำคัญ ตัวเสื้อเป็นแขนหนึ่งเดียว อีกข้างพันผ้าสไบเฉียงดูหรูหรา ใช้ผ้ายกดิ้นทองหรือเงิน นิยมใส่ในงานแต่งงานหรืองานกลางคืน ปัจจุบันนิยมเป็นชุดเจ้าสาวในงานเลี้ยงฉลองสมรสตอนค่ำ
 

7. ชุดไทยศิวาลัย

ชุดไทยศิวาลัยได้รับชื่อจาก พระที่นั่งศิวาลัย ซึ่งสะท้อนถึงความวิจิตรที่เป็นเอกลักษณ์ ตัวเสื้อแขนยาว คอตั้ง ใช้ผ้ายกหรือผ้าไหม นิยมใช้ในงานพระราชพิธี หรือพิธีทางศาสนา พิธีการที่มีหมายกำหนดการอย่างเคร่งครัด ทั้งในระดับเครื่องแบบและครึ่งยศ สามารถใส่ได้ทั้งในงานกลางวันและงานกลางคืน เช่น งานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ที่ต้องการความสง่างามและความสุภาพสูงสุด
 

8. ชุดไทยจักรพรรดิ

ตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หรูหราที่สุดในบรรดาชุดไทยพระราชนิยม ใช้ผ้ายกดิ้นทอง หรือผ้ายกไหมที่มีลวดลายงดงาม ตัดเย็บอย่างประณีต สวมใส่ในงานพระราชพิธีสำคัญหรือโอกาสพิเศษที่ต้องการความโอ่อ่า ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมนำมาเป็นชุดเจ้าสาว
 

ทั้ง 8 ชุดต่างสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมผ่านศิลปะการทอผ้า การปัก และการตัดเย็บอย่างละเอียดอ่อน และยังเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่านักออกแบบไทยร่วมสมัยสร้างสรรค์ชุดไทยที่ยังคงความงามตามแบบแผนแต่ผสานความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัว
 

นับว่า “ชุดไทย” ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องนุ่งห่ม แต่เป็นสื่อกลางแห่งความภาคภูมิใจ เป็นเครื่องบอกเล่าประวัติศาสตร์ และเป็นสมบัติที่ควรค่าแก่การจารึกไว้ในมรดกของมวลมนุษยชาติ…ซึ่งในไม่ช้านี้ อาจได้จารึกอยู่ในบัญชีมรดกโลกของยูเนสโกในนามประเทศไทย