ส่อง 8 พฤติกรรมหญิงสาว ที่พระสงฆ์ต้องระวัง !

ส่อง 8 พฤติกรรมหญิงสาว ที่พระสงฆ์ต้องระวัง !

10 ชั่วโมงที่แล้ว

กรณีสีกา #สีกากอล์ฟ ไม่ใช่คดีแรกที่สีกามีข่าวพัวพันกับพระสงฆ์ แต่อะไรเป็นปัจจัยหรือแรงจูงใจที่ทำให้ผู้หญิงก้าวเกินขอบเขตเข้าไปเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร ผิดศีลธรรม และส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาในพุทธศาสนา 

 

รับชม : สรุปทุกปม “สีกากอล์ฟ” สะเทือนวงการสงฆ์ 

พศ. เชื่อเข้าข่ายมิจฉาชีพไม่กลัวบาป ใช้จุดอ่อนพระผู้ใหญ่

มุมมองของ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) มองปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากผู้หญิงที่เข้าหาพระโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป เพื่อหวังทำลายพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอ่อนต่อโลก แม้ว่าพระรูปนั้น ๆ จะเคยบวชเรียนและฝึกฝนมาอย่างไร แต่ไม่เคยได้ใกล้ชิดหรือมีโอกาสได้พบปะกับผู้หญิง ทำให้มีโอกาสที่จะหลงใหลหรือเข้าใจผิดไป

พร้อมยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เชื่อว่าเป็นการดำเนินการโดยวางแผนล่วงหน้า ไม่ได้ทำคนเดียว เป็นการทำในลักษณะมิจฉาชีพ เจาะจงเข้าหาพระสมณศักดิ์สูง เพื่อหวังข่มขู่และหวังในทรัพย์สิน
 

"เรื่องที่น่ากังวลคือมีมิจฉาชีพแฝงเข้ามาหลอกพระค่อนข้างมาก ซึ่งกลัวว่าจะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ถ้ามาทำอะไรกับพระแล้ว ขออะไรก็ต้องให้ เพราะพระผู้ใหญ่ซึ่งมีสมณศักดิ์สูงหรือมีตำแหน่ง เมื่อพลาดไปก็อยากที่จะปิดจบ ไม่อยากให้ไปไกลมากกว่านี้" นายบุญเชิด กล่าว
 

รองผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ มองว่าภัยทั้งหลายไม่ได้เกิดจากคนภายนอกเท่านั้น แต่ในทางหนึ่งก็เกิดจากภายในของพระสงฆ์เอง วันนี้สังคมเห็นแล้วว่าพระชั้นผู้ใหญ่มีโอกาสที่จะตกเป็นผู้เสียหายมากกว่าก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จุดประสงค์ของการออกกฎหมายคือการคุ้มครองพระดีและจัดการกับพระเสีย
 

ทั้งนี้ สำนักพุทธฯ เดินหน้าออกกฎหมายดำเนินคดีกับ "พระ-ฆราวาส" ที่ทำให้ศาสนาเสื่อม ขณะที่รอง ผอ.สำนักพุทธฯ ยังมองว่าภัยทั้งหลายไม่ได้เกิดจากคนภายนอกเท่านั้น แต่เกิดจากภายในของพระสงฆ์เอง สังคมเห็นแล้วว่าพระชั้นผู้ใหญ่มีโอกาสตกเป็นผู้เสียหายมากกว่า ซึ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นเช่นกัน เพราะจุดประสงค์ของการออกกฎหมายคือการคุ้มครองพระดีและจัดการกับพระไม่ดี

 

นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึง 8 พฤติกรรมหญิงสาว ที่พระสงฆ์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

1. หญิงสาวซึ่งมีบุคลิกและฐานะดี แต่งกายหรู ขับรถราคาแพง มาปฏิสันถาร ถวายทาน หรือเลี้ยงภัตตาหารด้วยท่าทีเลื่อมใส
2. จากนั้นก็จะแสดงความศรัทธาเป็นพิเศษอย่างเช่น ขอถวายตัวเป็นบุตรบุญธรรม เป็นโยมอุปัฏฐากประจำตัว หรือขอติดตามไปถวายงานในที่ต่างๆ
3. แล้วก็เริ่มต้นสนทนาด้วยเรื่องศาสนา เรื่องทั่วไปเพื่อให้พระรู้สึกสบายใจและลดความระมัดระวัง
4. อ้างความจำเป็นเพื่อที่จะขอช่องทางการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น ID Line เพื่อที่จะวิดีโอคอลเข้ามาพูดคุย
5. มีการสนทนาอย่างใกล้ชิด ตีสนิทจนพระรู้สึกไว้ใจและพูดคุยได้ทุกเรื่อง
6. สุดท้ายก็จะอ้างคำทำนาย เรื่องของอดีตชาติว่าเคยเป็นคู่ชีวิตกัน เพื่อให้พระเกิดความเชื่อและยึดมั่นในตัวหญิงคนนั้น
7. ยอมที่จะมอบทรัพย์หรือสิ่งของมีค่าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พระตายใจว่าตนมีฐานะที่มั่นคงก่อนที่จะหาทางถอนกลับมาในภายหลัง
8. ชักชวนให้พระร่วมกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจจะผ่านวิดีโอคอล หรือเสนอให้นัดพบเป็นการส่วนตัว ซึ่งหากถึงขั้นนั้นขอให้พระรีบหยุดการติดต่อทันที

 

นักจิตวิทยาชี้ "สีกาเข้าหาพระสงฆ์" เข้าข่ายไซโคพาธ

 

มุมมองนักจิตวิทยา "อัญชลี แสงชาญชัย" ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร พิชญานิน คลินิก เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล หรือปัจเจกบุคคล ที่ไม่เกี่ยวกับความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาที่ลดน้อยถอยลง แต่ปัจจัยหลักคือเจตนาลึกๆ และมีแรงจูงใจของบุคคล ซึ่งในกรณีนี้คือหญิงที่หวังผลของการกระทำโดยไม่สนใจศีลธรรม
 

หากดูจากการกระทำอาจเข้าข่ายโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคม หรือ Antisocial Personality Disorder ลักษณะของคนกลุ่มนี้คือ การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทำอะไรก็ได้ที่ได้ประโยชน์กับตนเอง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ขาดจิตสำนึก บางครั้งก็ไม่เกรงกลัวต่อบาป แต่ขอให้ได้สิ่งที่ต้องการ
 

ในกรณีนี้ อาจเป็นความต้องการมีอำนาจเหนือเพศชายที่สูงส่ง มีปมในใจเกี่ยวกับผู้ชายที่ดีเกินไป หรือเอื้อมไม่ถึง การครอบครองพระสงฆ์อาจเป็นการท้าทายศีลธรรม หรือเป็นการเติมเต็มความรู้สึกที่เหนือคนอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาปมในใจจากวัยเด็กหรือการเลี้ยงดูในอดีต จากนั้นจะเรียกร้องสิ่งที่ต้องการ หากไม่ได้ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง
 

“แรก ๆ ผู้หญิงกลุ่มไซโครพาธ จะยอมทุกอย่าง เมื่อฝ่ายชายมีก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เกิดความไว้วางใจ เรียกได้ว่าหลอกเหยื่อ เพื่อให้ทำตามสิ่งที่คาดหวังแต่ถ้าไม่ได้ก็จะมีการข่มขู่”
 

อาจารย์อัญชลี กล่าวอีกว่า พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นความผิดปกติ จำเป็นต้องพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ทำจิตบำบัดเพื่อหยุดพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและสังคม และป้องกันภัยที่อาจส่งผลเสียต่อสังคมในอนาคต

 

ส่อง 8 พฤติกรรมหญิงสาว ที่พระสงฆ์ต้องระวัง !

10 ชั่วโมงที่แล้ว

กรณีสีกา #สีกากอล์ฟ ไม่ใช่คดีแรกที่สีกามีข่าวพัวพันกับพระสงฆ์ แต่อะไรเป็นปัจจัยหรือแรงจูงใจที่ทำให้ผู้หญิงก้าวเกินขอบเขตเข้าไปเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร ผิดศีลธรรม และส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาในพุทธศาสนา 

 

รับชม : สรุปทุกปม “สีกากอล์ฟ” สะเทือนวงการสงฆ์ 

พศ. เชื่อเข้าข่ายมิจฉาชีพไม่กลัวบาป ใช้จุดอ่อนพระผู้ใหญ่

มุมมองของ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) มองปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากผู้หญิงที่เข้าหาพระโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป เพื่อหวังทำลายพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอ่อนต่อโลก แม้ว่าพระรูปนั้น ๆ จะเคยบวชเรียนและฝึกฝนมาอย่างไร แต่ไม่เคยได้ใกล้ชิดหรือมีโอกาสได้พบปะกับผู้หญิง ทำให้มีโอกาสที่จะหลงใหลหรือเข้าใจผิดไป

พร้อมยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เชื่อว่าเป็นการดำเนินการโดยวางแผนล่วงหน้า ไม่ได้ทำคนเดียว เป็นการทำในลักษณะมิจฉาชีพ เจาะจงเข้าหาพระสมณศักดิ์สูง เพื่อหวังข่มขู่และหวังในทรัพย์สิน
 

"เรื่องที่น่ากังวลคือมีมิจฉาชีพแฝงเข้ามาหลอกพระค่อนข้างมาก ซึ่งกลัวว่าจะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ถ้ามาทำอะไรกับพระแล้ว ขออะไรก็ต้องให้ เพราะพระผู้ใหญ่ซึ่งมีสมณศักดิ์สูงหรือมีตำแหน่ง เมื่อพลาดไปก็อยากที่จะปิดจบ ไม่อยากให้ไปไกลมากกว่านี้" นายบุญเชิด กล่าว
 

รองผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ มองว่าภัยทั้งหลายไม่ได้เกิดจากคนภายนอกเท่านั้น แต่ในทางหนึ่งก็เกิดจากภายในของพระสงฆ์เอง วันนี้สังคมเห็นแล้วว่าพระชั้นผู้ใหญ่มีโอกาสที่จะตกเป็นผู้เสียหายมากกว่าก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จุดประสงค์ของการออกกฎหมายคือการคุ้มครองพระดีและจัดการกับพระเสีย
 

ทั้งนี้ สำนักพุทธฯ เดินหน้าออกกฎหมายดำเนินคดีกับ "พระ-ฆราวาส" ที่ทำให้ศาสนาเสื่อม ขณะที่รอง ผอ.สำนักพุทธฯ ยังมองว่าภัยทั้งหลายไม่ได้เกิดจากคนภายนอกเท่านั้น แต่เกิดจากภายในของพระสงฆ์เอง สังคมเห็นแล้วว่าพระชั้นผู้ใหญ่มีโอกาสตกเป็นผู้เสียหายมากกว่า ซึ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นเช่นกัน เพราะจุดประสงค์ของการออกกฎหมายคือการคุ้มครองพระดีและจัดการกับพระไม่ดี

 

นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการสำนักพุทธฯ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึง 8 พฤติกรรมหญิงสาว ที่พระสงฆ์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

1. หญิงสาวซึ่งมีบุคลิกและฐานะดี แต่งกายหรู ขับรถราคาแพง มาปฏิสันถาร ถวายทาน หรือเลี้ยงภัตตาหารด้วยท่าทีเลื่อมใส
2. จากนั้นก็จะแสดงความศรัทธาเป็นพิเศษอย่างเช่น ขอถวายตัวเป็นบุตรบุญธรรม เป็นโยมอุปัฏฐากประจำตัว หรือขอติดตามไปถวายงานในที่ต่างๆ
3. แล้วก็เริ่มต้นสนทนาด้วยเรื่องศาสนา เรื่องทั่วไปเพื่อให้พระรู้สึกสบายใจและลดความระมัดระวัง
4. อ้างความจำเป็นเพื่อที่จะขอช่องทางการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น ID Line เพื่อที่จะวิดีโอคอลเข้ามาพูดคุย
5. มีการสนทนาอย่างใกล้ชิด ตีสนิทจนพระรู้สึกไว้ใจและพูดคุยได้ทุกเรื่อง
6. สุดท้ายก็จะอ้างคำทำนาย เรื่องของอดีตชาติว่าเคยเป็นคู่ชีวิตกัน เพื่อให้พระเกิดความเชื่อและยึดมั่นในตัวหญิงคนนั้น
7. ยอมที่จะมอบทรัพย์หรือสิ่งของมีค่าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พระตายใจว่าตนมีฐานะที่มั่นคงก่อนที่จะหาทางถอนกลับมาในภายหลัง
8. ชักชวนให้พระร่วมกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจจะผ่านวิดีโอคอล หรือเสนอให้นัดพบเป็นการส่วนตัว ซึ่งหากถึงขั้นนั้นขอให้พระรีบหยุดการติดต่อทันที

 

นักจิตวิทยาชี้ "สีกาเข้าหาพระสงฆ์" เข้าข่ายไซโคพาธ

 

มุมมองนักจิตวิทยา "อัญชลี แสงชาญชัย" ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร พิชญานิน คลินิก เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล หรือปัจเจกบุคคล ที่ไม่เกี่ยวกับความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาที่ลดน้อยถอยลง แต่ปัจจัยหลักคือเจตนาลึกๆ และมีแรงจูงใจของบุคคล ซึ่งในกรณีนี้คือหญิงที่หวังผลของการกระทำโดยไม่สนใจศีลธรรม
 

หากดูจากการกระทำอาจเข้าข่ายโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคม หรือ Antisocial Personality Disorder ลักษณะของคนกลุ่มนี้คือ การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทำอะไรก็ได้ที่ได้ประโยชน์กับตนเอง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ขาดจิตสำนึก บางครั้งก็ไม่เกรงกลัวต่อบาป แต่ขอให้ได้สิ่งที่ต้องการ
 

ในกรณีนี้ อาจเป็นความต้องการมีอำนาจเหนือเพศชายที่สูงส่ง มีปมในใจเกี่ยวกับผู้ชายที่ดีเกินไป หรือเอื้อมไม่ถึง การครอบครองพระสงฆ์อาจเป็นการท้าทายศีลธรรม หรือเป็นการเติมเต็มความรู้สึกที่เหนือคนอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาปมในใจจากวัยเด็กหรือการเลี้ยงดูในอดีต จากนั้นจะเรียกร้องสิ่งที่ต้องการ หากไม่ได้ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง
 

“แรก ๆ ผู้หญิงกลุ่มไซโครพาธ จะยอมทุกอย่าง เมื่อฝ่ายชายมีก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เกิดความไว้วางใจ เรียกได้ว่าหลอกเหยื่อ เพื่อให้ทำตามสิ่งที่คาดหวังแต่ถ้าไม่ได้ก็จะมีการข่มขู่”
 

อาจารย์อัญชลี กล่าวอีกว่า พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นความผิดปกติ จำเป็นต้องพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ทำจิตบำบัดเพื่อหยุดพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้กับตนเองและสังคม และป้องกันภัยที่อาจส่งผลเสียต่อสังคมในอนาคต