วานนี้ (15 พ.ค. 68) ศาลออกหมายจับผู้ต้องหา เหตุอาคาร สตง.ถล่ม ทั้งหมด 17 คน จาก 3 กลุ่ม โดยวันนี้ (16 พ.ค.) ผู้ต้องหาได้นัดเข้ามอบตัวรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่ง 1 ในผู้ต้องหา ที่เดินทางมาวันนี้แต่เช้าคือ นายเปรมชัย กรรณสูต ผู้บริหารอิตาเลียนไทยฯ แต่ยังปฏิเสธให้สัมภาษณ์กับสื่อ
กทม. ส่งคืนพื้นที่แก่ สตง. และมีตำรวจเข้าอายัดพื้นที่โครงการก่อสร้างอาคาร รวมถึงกองเศษซากอาคาร เนื่องจากตำรวจ และกรมโยธาธิการและผังเมือง ยังต้องเก็บหลักฐานเพิ่มเติม ขณะที่ ศาลอาญา ออกหมายจับกลุ่มผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างอาคาร สตง. รวม 17 หมายจับ และมีนายเปรมชัย กรรณสูตร รวมอยู่ด้วย ทั้งหมดขอเข้ามอบตัววันนี้ (16 พ.ค. 68) เวลา 09.00 น. ที่ สน.บางซื่อ
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร รายงานความคืบหน้าภารกิจค้นหาผู้สูญหายกรณีตึก สตง. ถล่ม หลังเปิดพื้นที่สุดท้ายบริเวณช่องลิฟต์ที่ต่ำกว่าพื้นชั้นใต้ดิน ได้ครบทั้ง 6 ช่อง ไม่พบร่างของผู้ประสบภัย หรือชิ้นส่วนอวัยวะ สำหรับภารกิจกู้ซากและค้นหาผู้ติดค้างภายใต้อาคาร สตง. ถล่ม ผ่านไปกว่า 45 วัน เจ้าหน้าที่พบผู้เสียชีวิต 89 คน ขณะที่ผู้สูญหายอีก 7 คน เชื่อว่าร่างไม่ได้อยู่ในพื้นที่แล้ว ส่วนชิ้นส่วนชิ้นเนื้อที่รอการพิสูจน์อัตลักษณ์ได้ส่งนิติเวชไปกว่า 300 ชิ้นแล้ว ในการยืนยันตัวตน
DSI เชิญตัวแทนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างตึก สตง.ให้ข้อมูล ทั้งผู้ก่อสร้าง ผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้าง หนึ่งในนั้น คือ กรรมการบริษัท ไมนฮาร์ท ในฐานะหัวหน้าผู้ออกแบบ ซึ่งช่วงหนึ่งตัวแทนบริษัทได้ให้ข้อมูลกับสื่อ ยอมรับว่า มีการปรับแก้แปลน "ผนังปล่องลิฟต์" จริง เพื่อให้ทางเดินมีความกว้างขึ้น
ครบรอบ 1 เดือน หลังเหตุแผ่นดินไหว คงมีหลายเหตุการณ์ที่ต้องถอดบทเรียน ทั้งตึกถล่ม ที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ และขยายผลไปถึงคดีนอมินี ขณะนี้ รื้อย้ายซากตึก จากความสูง 29 ชั้น ลงมาถึงชั้นที่ 1 แล้ว โจทย์ต่อไปคือ การเจาะพื้นปูนชั้นใต้ดิน เพื่อค้นหาผู้สูญหายที่เหลืออีก 31 คน
กรณีการตั้งข้อสังเกต สาเหตุอาคาร สตง. ถล่ม เกิดจากปล่องลิฟต์ที่ถล่มลงมาก่อน จากนั้นโครงสร้างทั้งหมดยุบตัวลงมา รวมทั้งพบว่ามีการแก้ไขแบบการก่อสร้าง ล่าสุด สตง. ออกเอกสาร ชี้แจงขั้นตอนการปรับแก้ผนังปล่องลิฟต์ ยืนยันว่าดำเนินการตามขั้นตอน และปรับแก้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
วันนี้ (19 เม.ย. 68) ความคืบหน้าการรื้อและขนย้ายซากอาคาร สตง. ถล่ม จากความสูงซากปูนเหล็กที่มีความสูงชัน ประมาณ 25 เมตร ขณะนี้เหลือเพียง 12 เมตร คาดว่าจะถึงบริเวณชั้นหนึ่งได้ ช่วงสิ้นเดือน เม.ย.นี้ เบื้องต้นจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญคาดว่าไม่น่าจะมีโพรงขนาดใหญ่แล้ว ตอนนี้ยังคงใช้แผนเดิมต่อไปยังไม่มีการปรับแผน แต่อุปสรรคที่มีอยู่ตอนนี้ คือเศษเหล็กเศษปูนที่นำออกมาแล้วไปไว้ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเริ่มมีพื้นที่ไม่พอ จึงประสานขอใช้พื้นที่เพิ่มเติม ขณะที่ยอดรวมผู้ประสบภัย 103 คน เสียชีวิต 44 คน บาดเจ็บ 9 คน ติดค้างอยู่ระหว่างติดตาม 50 คน
กรณีตึก สตง. ถล่ม ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบแบบโครงสร้าง พบว่ามีการแก้ไข “ปล่องลิฟต์” และปลอมลายเซ็นวิศวกรถึง 51 คน ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทยอยเชิญมาให้ข้อมูลนั้น รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการสภาวิศวกร และประธานคณะอนุกรรมการ สาขาวิศวกรรมโยธา สภาวิศวกร และในฐานะผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจสอบตึก สตง. ถล่มให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน เผยว่า การปลอมลายเซ็นวิศวกรออกแบบสร้างตึก สตง.สะเทือนภาพลักษณ์วิศวกรไทยอย่างมาก ทั้งนี้ ในช่วง 3 -4 ปีที่ผ่านมา มีวิศวกรออกแบบโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ รับงานลงนามรับรองออกแบบก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 5 คน ส่วนค่าจ้างที่จะได้รับตั้งแต่ 30,000-50,000 บาทต่อโครงการ ปีเดียวมีรายชื่อวิศวกรคนเดียวเซ็นรับรอง 30-40 โครงการ พอสอบข้อเท็จจริงก็อ้างว่าเป็นวิธีการยังชีพ ส่วนโทษของวิศวกร คือถอนใบอนุญาตวิชาชีพ
วันนี้ (17 เม.ย. 68) ครบ 21 วัน เหตุอาคาร สตง. ถล่ม การค้นหาผู้สูญหายยังดำเนินต่อเนื่อง โดยใช้ทั้งเครื่องจักรหนักและเจ้าหน้าที่เข้าตัดเหล็กเพื่อเปิดทาง ขณะเดียวกันต้องเตรียมรับมือฝนที่เริ่มตกในพื้นที่ รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุ มีการวางแผนระบายน้ำ พร้อมโรยปูนขาวฆ่าเชื้อก่อนปล่อยน้ำออกนอกพื้นที่ ขณะที่ พล.ต.ต. วาที อัศวุตมางกุร ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐานกลาง เผยว่า การพิสูจน์อัตลักษณ์ทำได้ยากขึ้น เพราะเวลาผ่านไปกว่า 20 วัน และมีฝนตก โดยจะใช้วิธีตรวจ DNA จากกระดูกที่ยังสมบูรณ์
ใกล้จะสิ้นสุดช่วงวันหยุดสงกรานต์แล้ว แต่มีหลายอาชีพ ที่ยังไม่ได้หยุดงาน หนึ่งในนั้น คือ เจ้าหน้าที่จากหลากหลายหน่วยงานที่ปักหลักกันอยู่บริเวณตึก สตง. โดยเฉพาะ "ตำรวจท้องที่" ที่ผลัดเวรกันอำนวยความสะดวกด้านจราจรให้กับหน่วยงานปฏิบัติภารกิจกู้ซากอาคาร ค้นหาผู้ประสบภัย รวมถึงดูแลความปลอดภัยของวัตถุพยานต่าง ๆ
วานนี้ (11 เม.ย. 68) ผู้ว่าฯ สตง. เปิดใจอย่างเป็นทางการครั้งแรก ไม่เดินหนีสื่อมวลชน หลังจากไปเยี่ยมให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัย ยืนยันให้ข้อมูลเต็มที่ และได้ทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด พร้อมกับแจงความสัมพันธ์ ส่วนตัวสนิทกับ "นายอนุทิน" จริง แต่ในฐานะเพื่อนเท่านั้น
วานนี้ (11 เม.ย. 68) เป็นความหวังญาติให้ได้ลุ้นปาฏิหาริย์อีกครั้ง หลังจากทีมกู้ภัยพบสัญญาณไฟใต้ซากตึก สตง. ที่ถล่ม ลึกลงไปประมาณ 3 เมตร คาดว่าอาจเป็นสัญญาณไฟจากมือถือของผู้รอดชีวิต ขณะที่ นายชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. เผย อยากให้เตรียมไว้ใจทั้ง 2 ด้าน ทั้งนี้จะทำให้ดีที่สุด โดยย้ำว่า "หน้าที่เราคือเอาทุกคนกลับบ้านให้ได้"
กรณีวานนี้ (10 เม.ย. 68) รองผู้ว่าฯ สตง. แจง กมธ. ติดตามงบฯ ว่าเข้าใจแต่แรกว่า บริษัท อิตาเลียนไทย สร้างตึกรายเดียว และแม้ผู้ว่าฯ สตง. จะออกมาเปิดใจเพิ่มเติม แต่ก็เหมือนเป็นการสร้างความผิดหวังซ้ำสอง เป็นการตอกย้ำปมเงื่อนสำคัญอยู่หลายเรื่อง
00:00
00:00