ปัจจุบันผู้ชมผู้ฟังสามารถแสดงความคิดเห็น ท้วงติง และตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ทันที ผ่านการตั้งกระทู้หรือเขียนคอมเมนต์ในสื่อออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่ผู้ชมไม่เห็นด้วยกับการนำเสนอของสื่อ และร่วมกันแสดงออกผ่านการสร้าง hashtag ต่าง ๆ เช่น hashtag คำว่า #สื่อไร้จรรณยาบรรณ หรือ #แบนสื่อ จนทำให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อแวดวงสื่อมวลชนทุกแขนง ให้กับมาทบทวนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของตนเอง แต่การจับตาดูการทำงานของสื่อ ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ อย่างในประเทศอังกฤษ เคยมีเหตุการณ์ที่ประชาชนออกมาเรียกร้อง ต่อต้านการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนและละเมิดสิทธิมนุษยชน จนทำให้สื่อเหล่านั้นถึงกับเสียหลัก ยอดขายตกต่ำและต้องปิดตัวลงไป อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายเหตุการณ์ทำให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับจริยธรรมของสื่อไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น เหตุการณ์ "ถ้ำหลวง" ผู้ชมทางบ้านก็ได้แสดงความคิดเห็นขณะที่สื่อมวลชนรายงานข่าว เกาะติดภารกิจช่วยเหลือน้อง ๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี ซึ่งผู้ชมได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของญาติผู้สูญหาย การสัมภาษณ์ความรู้สึกของน้อง ๆ หลังออกจากถ้ำ หรือไม่ต้องการให้สื่อมวลชนกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนห่วงใยต่อความรู้สึกของผู้ที่ตกเป็นข่าว มากกว่าการอยากรู้รายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือเหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนจำนวนมากก็ได้ออกมาเรียกร้องให้สื่อนำเสนอข่าวอย่างระมัดระวัง เน้นย้ำให้สื่อไม่เปิดเผยการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในการเหตุการณ์เป็นสำคัญ การลุกขึ้นมาแสดงความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ไปรู้เท่าทันสื่อกัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ปัจจุบันผู้ชมผู้ฟังสามารถแสดงความคิดเห็น ท้วงติง และตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ทันที ผ่านการตั้งกระทู้หรือเขียนคอมเมนต์ในสื่อออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่ผู้ชมไม่เห็นด้วยกับการนำเสนอของสื่อ และร่วมกันแสดงออกผ่านการสร้าง hashtag ต่าง ๆ เช่น hashtag คำว่า #สื่อไร้จรรณยาบรรณ หรือ #แบนสื่อ จนทำให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อแวดวงสื่อมวลชนทุกแขนง ให้กับมาทบทวนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของตนเอง แต่การจับตาดูการทำงานของสื่อ ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ อย่างในประเทศอังกฤษ เคยมีเหตุการณ์ที่ประชาชนออกมาเรียกร้อง ต่อต้านการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนและละเมิดสิทธิมนุษยชน จนทำให้สื่อเหล่านั้นถึงกับเสียหลัก ยอดขายตกต่ำและต้องปิดตัวลงไป อย่างในประเทศไทยเองก็มีหลายเหตุการณ์ทำให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับจริยธรรมของสื่อไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น เหตุการณ์ "ถ้ำหลวง" ผู้ชมทางบ้านก็ได้แสดงความคิดเห็นขณะที่สื่อมวลชนรายงานข่าว เกาะติดภารกิจช่วยเหลือน้อง ๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี ซึ่งผู้ชมได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของญาติผู้สูญหาย การสัมภาษณ์ความรู้สึกของน้อง ๆ หลังออกจากถ้ำ หรือไม่ต้องการให้สื่อมวลชนกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนห่วงใยต่อความรู้สึกของผู้ที่ตกเป็นข่าว มากกว่าการอยากรู้รายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือเหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนจำนวนมากก็ได้ออกมาเรียกร้องให้สื่อนำเสนอข่าวอย่างระมัดระวัง เน้นย้ำให้สื่อไม่เปิดเผยการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในการเหตุการณ์เป็นสำคัญ การลุกขึ้นมาแสดงความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ไปรู้เท่าทันสื่อกัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS