ลือหึ่ง, ลือสนั่น, คนวงในบอกว่า... พาดหัวข่าวเหล่านี้ได้ยินได้ฟังแล้วก็รู้ได้เลยว่าเป็น "ข่าวลือ" ที่ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน แต่ในทางกลับกัน มีบางคนปักใจเชื่อและพร้อมที่จะบอกต่อ "ข่าวลือ" นั้นออกไป ซึ่งก็น่าเป็นห่วงว่า "ข่าวลือ" ที่บอกกันไปแบบปากต่อปาก มักจะทำให้ข้อมูลหรือเรื่องราวนั้นผิดเพี้ยนไปเรื่อย ๆ และสร้างผลกระทบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเรา โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ "ข่าวลือ" สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ในปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "ข่าวลือท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองในทวิตเตอร์" พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ข่าวลือส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป เมื่อข่าวลือแพร่ออกไป สื่อมวลชนก็จะตรวจสอบและแก้ข่าวว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง แต่อย่างไรก็ตาม กระแสการไหลเวียนของข่าวลือและข่าวแก้มีแนวโน้มที่จะเป็นเส้นคู่ขนาน เพราะแม้มีข่าวแก้ออกมาแล้ว แต่ข่าวลือก็ยังกระจายตัวไปเรื่อย ๆ สะท้อนให้เห็นว่าพลังของ "ข่าวลือ" มีมากกว่า "ข่าวแก้" แล้วคุณผู้ชมสงสัยไหมว่า "ข่าวลือ" เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไม "ข่าวลือ" ถึงมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของเรา ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
ลือหึ่ง, ลือสนั่น, คนวงในบอกว่า... พาดหัวข่าวเหล่านี้ได้ยินได้ฟังแล้วก็รู้ได้เลยว่าเป็น "ข่าวลือ" ที่ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน แต่ในทางกลับกัน มีบางคนปักใจเชื่อและพร้อมที่จะบอกต่อ "ข่าวลือ" นั้นออกไป ซึ่งก็น่าเป็นห่วงว่า "ข่าวลือ" ที่บอกกันไปแบบปากต่อปาก มักจะทำให้ข้อมูลหรือเรื่องราวนั้นผิดเพี้ยนไปเรื่อย ๆ และสร้างผลกระทบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเรา โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ "ข่าวลือ" สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ในปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "ข่าวลือท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองในทวิตเตอร์" พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ข่าวลือส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วไป เมื่อข่าวลือแพร่ออกไป สื่อมวลชนก็จะตรวจสอบและแก้ข่าวว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง แต่อย่างไรก็ตาม กระแสการไหลเวียนของข่าวลือและข่าวแก้มีแนวโน้มที่จะเป็นเส้นคู่ขนาน เพราะแม้มีข่าวแก้ออกมาแล้ว แต่ข่าวลือก็ยังกระจายตัวไปเรื่อย ๆ สะท้อนให้เห็นว่าพลังของ "ข่าวลือ" มีมากกว่า "ข่าวแก้" แล้วคุณผู้ชมสงสัยไหมว่า "ข่าวลือ" เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไม "ข่าวลือ" ถึงมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของเรา ไปรู้เท่าทันสื่อเรื่องนี้กัน
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS