อิทธิพลของเพลงร็อคสู่ "เสื้อยืด" สะท้อนตัวตนผู้สวมใส่

Logo Thai PBS
อิทธิพลของเพลงร็อคสู่ "เสื้อยืด" สะท้อนตัวตนผู้สวมใส่

หลายครั้งที่เสียงดนตรีสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟังได้ไม่น้อย มีนักออกแบบที่ชื่นชอบดนตรีร็อคและนำมาถ่ายทอดเป็นลายบนเสื้อยืด นอกจากสะท้อนตัวตนผู้สวมใส่ ยังใช้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็น

ลงเส้นปากกาด้วยมือก่อนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลายเส้นของผมดูพลิ้วไหวสมจริง แต่กลับมีผ้าปิดตาสื่อถึงการไม่รู้ไม่เห็น เหมือนกับเพลงร็อคที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะคนทั่วไปไม่รู้จัก คือภาพวาดที่ ภัครดา หิรัญ ได้แรงบันดาลใจจากดนตรีแนว Post Rock ที่มีจังหวะไม่หนักหน่วงรุนแรงเหมือนเพลงร็อคทั่วไป ส่วนหนึ่งจากทั้งหมดกว่า 20 ลายที่เคยอยู่แต่บนกระดาษวาดเขียน มาเป็นลวดลายบนเสื้อยืดที่เธอออกแบบด้วยตัวเอง กว่าจะได้เสื้อยืดลายสวยต้องใช้ฝีมือออกแบบลาย รวมถึงต้องเลือกชนิดหมึกให้เหมาะสมกับสีเสื้อเพื่อให้ลายเส้นคมชัด

ในช่วงที่เพลงร็อคได้รับความนิยมสูงสุด วงดนตรีต่างๆก็นำเสื้อยืดมาสกรีนลายเป็นชื่อวงของตัวเองบ้าง หรือสัญลักษณ์ประจำวงบ้างเพื่อเอาใจแฟนเพลง การใส่เสื้อยืดจึงกลายเป็นการบอกรสนิยมของผู้ใส่ไปในตัว แต่ก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่เสื้อยืดเพียงตัวเดียวสามารถใช้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นได้ โดยเฉพาะในวงการบันเทิง

I Hate Pink Floyd ข้อความบนเสื้อยืดที่ จอห์น ไลด้อน นักร้องนำของวง The Sex Pistols ใส่เมื่อปี 1976 เพื่อประกาศแนวคิดต่อต้านแนวเพลงโปรเกรสซีฟร็อคของวง Pink Floyd ที่เขามองว่ายังห่างไกลผู้ฟัง ต่างจากเพลงพังค์ที่เข้าถึงหนุ่มสาวยุคใหม่ได้มากกว่า หรือเสื้อยืดคอลเลคชั่น War and Peace ฝีมือการออกแบบของเจ้าแม่จอมขบถแห่งวงการแฟชั่น วิเวียน เวสต์วู้ด เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว(2555) ที่ไม่เพียงฉลองการครบ 3 ทศวรรษในวงการแฟชั่น แต่ยังเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ผู้ลี้ภัยทางธรรมชาติที่ต้องอพยพจากบ้านเกิด

<"">
<"">

 

"ลูกค้าที่มาซื้อเสื้อยืดสกรีนเป็นคำพูด ส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีผู้ชายที่เป็นมือกลอง ที่จะอารมณ์แรงๆอยู่แล้ว พวกนี้เป็นพวกมีอะไรในใจแต่ไม่แสดงอารมณ์ออกมาข้างนอก ก็ใช้เสื้อยืดเป็นตัวแทนเอา" ภัครดา หิรัญ ผู้ออกแบบลายเสื้อยืด

ตำนานของเสื้อยืดกับเพลงร็อคมีมายาวนานร่วม50ปี ที่ดนตรีร็อคมีอิทธิพลไปทั่วโลก นักดนตรีร็อคนิยมใส่เสื้อยืดจนกลายเป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็น เดอะ โรลลิ่งสโตน (The Rolling Stone) หรือเลด เซปลิน (Led Zeplin) เสื้อยืดที่ใส่กันอย่างแพร่หลายโดยมีคนดังเป็นต้นแบบทำให้แบรนด์เสื้อผ้าในตลาดสูง เช่น คาลวิน ไคลน์ (Calvin Klein) เริ่มทำเสื้อยืดออกมาเอาใจผู้สวมใส่ เสื้อยืดจึงไม่ได้จำกัดอยู่ในวงร็อคแต่เพียงอย่างเดียว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง