ปล่อยงูเห่า-จงอาง "สะเดาะเคราะห์" เข้าข่ายค้าสัตว์ป่า

สังคม
16 ม.ค. 62
13:02
8,384
Logo Thai PBS
ปล่อยงูเห่า-จงอาง "สะเดาะเคราะห์" เข้าข่ายค้าสัตว์ป่า
เตือนทำพิธีสะเดาะเคราะห์ปล่อย “งูเห่า-งูจงอาง” ผิดกฎหมายชัดเจน เนื่องจากงูทั้ง 2 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ภายใต้พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 พบการบริจาคเงินเข้าข่ายค้าสัตว์ป่า

กรณีที่มีการเผยแพร่คลิปผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พิธีปล่อยงูเห่า งูจงอาง กว่า 10 ตัว ลงสระน้ำภายในวัด วัดสว่างโสภณ ต.ตานี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยมีพระครูสมุห์โบรี ธีรมุนี หรือพระอาจารย์โบรี ธีรมุนี รักษาการเจ้าอาวาสนำคณะลูกศิษย์ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา ด้วยการโดยผู้สะเดาะเคราะห์ต้องบริจาคสำหรับปล่อยงูตัวขนาดใหญ่ 8,000 บาท และงูตัวเล็ก 2,000 บาท 

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูลจากนักวิชาการด้านสัตว์ป่า เนื่องจากเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการกระทำดังกล่าวว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะ งูเห่า และงูจงอาง" เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครอง

นักวิชาการสัตว์ป่า ยืนยันว่า การนำงูเห่า งูจงจางมาใช้ในพิธีกรรมนี้ ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะภายใต้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 งูจงอาง งูเห่า เป็นสัตว์ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งไม่เพียงแค่ทั้ง 2 ชนิด แต่ยังมีงูอีก 12 สายพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

การนำไปปล่อยในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ถือว่าผิดกฎหมายอยู่แล้ว ขณะเดียวกันสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่มีพิษ สามารถทำอันตรายต่อชีวิต และถือเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ หากถูกงูกัด และทำร้ายขึ้นมา 

กรณีนี้เข้าข่ายความผิดทั้งการครอบครองสัตว์ป่า และเข้าข่ายการค้าขายสัตว์ป่า เนื่องจากมีการจ่ายเงินบริจาคเพื่อสะเดาะเคราะห์ กลายเป็นการค้าไม่ใช้การทำบุญ

นอกจากนี้ ยิ่งมีการนำไปปล่อยในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่อนุรักษ์ก็จะมีความผิด ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหากนำไปปล่อยพื้นที่ชุมชน ก็อาจจะไปผิดกฎหมายของเทศบาล ของชุมชนในพื้นที่ หรือไม่ 

ชี้อันตรายกับตัวงูและคนในชุมชน

นักวิชาการด้านสัตว์ป่า กล่าวอีกว่า ส่วนเหตุผลของการปล่อยที่อ้างว่าจะช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น กลับมองว่าจะเป็นการทำให้ชีวิตงูแย่ขึ้น เพราะไม่รู้ว่างูเหล่านี้ถูกจับมาจากที่ไหนบ้าง เวลามาปล่อยในพื้นที่เมื่อเข้าไปในบ้านเรือน คนอาจมีการปกป้องตนเอง มีการทำร้ายงู ตีงูจนตาย มันเป็นการปล่อยทุกข์มาที่งู ชาวบ้านก็เดือดร้อน งูก็เดือดร้อน ต้องปรับตัวเรียนรู้กับสถานที่ที่ถูกปล่อยใหม่ รวมถึงการหาวิธีเอาตัวรอดใหม่ซึ่งมองว่าไม่ได้เป็นผลดีกับงูเลย

บาปตกอยู่ที่งู ปล่อยแล้วบาปไม่ไปไหน เป็นการเพิ่มบาปด้วยซ้ำ เพิ่มบาปให้กับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่ต้องเผชิญหน้ากับงู
ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ภาพ : เพจบิ๊กเกรียน

ส่วนกระบวนการของการได้มาของงู ทางพื้นที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จ.อุบลราชธานี จะมีการติดตาม มีการส่งทีมไปติมตามถึงแหล่งที่มาของงูว่านำมาจากไหน ส่วนวิธีการทำบุญ ยังมีทางเลือกอื่นๆเช่น การปลูกต้นไม้ 

อยากให้ร่วมกันปลูกต้นไม้ ซึ่งถือเป็นการทำบุญที่ดีที่สุด แล้วคุณก็ได้บุญเดี่ยวนั้นด้วย ทำจิตใจให้สงบ แล้วสิ่งดีๆ จะตามมาเอง

งูชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


นายถิรเดช ปาละสุวรรณ หัวหน้าชุดปฎิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช กล่าวว่า งู 14 สายพันธุ์ ที่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ประกอบไปด้วย 1.งูเขียวกาบหมาก 2.งูจงอาง 3.งูสิง 4. .งูสิงหางดำ 5.งูสิงหางลาย หรือ งูสิงลาย 6.งูแสงอาทิตย์ 7. งูเหลือม 8. งูหลาม 9.งูหลามปากเป็ด

งูจงอาง ภาพ : Suwit Punnadee

งูจงอาง ภาพ : Suwit Punnadee

งูจงอาง ภาพ : Suwit Punnadee

และกลุ่มสุดท้าย 10.งูทางมะพร้าวเขียว 11.งูทางมะพร้าวดำ หรือ งูทางมะพร้าวมลายู หรือ งูหลุนชุน 12.งูทางมะพร้าวแดง 13.งูทางมะพร้าวลายขีด 14.งูทางมะพร้าวหางดำ

ภาพ : siamensis.org

ภาพ : siamensis.org

ภาพ : siamensis.org


เจองูในบ้านตีหรือกำจัดได้หรือไม่

นายถิรเดช กล่าวว่า โดยปกติแล้วงูจะอาศัยอยู่ภายในชุมชน หรือในสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับบ้านพักอาศัยของประชาชน เนื่องจากมีแหล่งอาหารจำพวกหนู กบ เขียด บางครั้งคนที่อยู่ในบ้านเมื่อเจองูจะตกใจ ทำร้าย หรือทำอันตรายได้ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย ที่ให้สามารถป้องกันตนเอง และทรัพย์สิน ซึ่งสามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ส่วนกระทำการแบบไหนถือว่าผิดกฎหมาย นายถิรเดช กล่าวว่า หากไปทำร้ายงูแล้วไปใช้ประโยชน์ จากตัวงู จากเนื้อหนัง ก็จะเป็นความผิด เนื่องจากไม่ได้เป็นการใช้ประโยชน์จากการป้องกันตัวเองจากงู 

ภาพ : siamensis.org

ภาพ : siamensis.org

ภาพ : siamensis.org

 

นายภิรเดช กล่าวว่า ในกรณีที่เจองูในบ้านควรทำอย่างไร ให้แจ้งหน่วยงานสาธารณภัย ซึ่งมีอยู่ในทุกท้องที่ในเขตอำเภอนั้นๆ หรือสามารถโทรไปที่สายด่วนกรมอุทยานฯ (ศูนย์สายด่วยพิทักษ์ป่า) 1362 จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปจับให้

ที่ผ่านมามีสัตว์ป่าที่กรมอุทยานฯ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปช่วยเหลือมาจะมีการอนุบาลดูแลสักระยะหนึ่ง ก่อนนำไปคืนสู่ธรรมชาติในแหล่งที่อยู่อาศัยตามปกติของสัตว์เหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้รบกวนกับประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง