"ก้าวไกล" เรียกร้องรัฐบาลใส่ใจแก้ปัญหาหนี้ชาวนา แนะเร่งปรับโครงสร้างหนี้

การเมือง
15 ก.พ. 65
17:34
308
Logo Thai PBS
"ก้าวไกล" เรียกร้องรัฐบาลใส่ใจแก้ปัญหาหนี้ชาวนา แนะเร่งปรับโครงสร้างหนี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ก้าวไกล" เรียกร้องรัฐบาลใส่ใจแก้ปัญหาหนี้ชาวนา เผย กลไก "กองทุนฟื้นฟูฯ" ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ได้มาก แต่ต้องเร่งทำกว่านี้

ต่อกรณีที่ กลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) เคลื่อนขบวนไปปักหลักชุมนุมบริเวณใกล้ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยมีข้อเรียกร้องสำคัญ คือ ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ชะลอการฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของสมาชิก และเร่งดำเนินการโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) พร้อมกับขยายเพดานวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาทเพื่อออกเป็นมติ ครม.นั้น

นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ขอให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกรที่กำลังต่อสู้กับภาระหนี้สินทุกคน หนี้สินเหล่านี้ต้องบอกว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอันเนื่องมาจากการมีรัฐบาลที่ไม่เคยใส่ใจปัญหาของพี่น้องเกษตรกรมาอย่างยาวนาน ปล่อยละเลยให้ต้องเผชิญชะตากรรมและแบกรับผลกระทบจากนโยบายเกษตรแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เรื่อยมา ตนเองเป็นเกษตรกรก่อนจะมาเป็นผู้แทนราษฎรจึงรู้สภาพปัญหาเหล่านี้ดี

รัฐบาลบอกเสมอว่า ลดต้นทุนการผลิตสิ แต่ไม่เคยช่วยอย่างจริงจังอะไรเลย ทุกวันนี้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทุกอย่าง น้ำไม่มีต้องไปหา ค่าปุ๋ยไม่ต้องพูดถึงแพงมากโดยที่รัฐแทบไม่ได้ช่วย สวนทางกับราคาพืชผลการเกษตรที่มีแต่ต่ำลง ๆ ภาพแบบนี้เกิดขึ้นวนเวียนจนเป็นวงจรหนี้ของเกษตรกรตามมาด้วยดอกเบี้ยสถานบันการเงิน ยิ่งถมทับมากขึ้นๆ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายกลายเป็นมากกว่าเงินต้น แล้วแบบนี้พวกเขาจะลืมตาอ้าปากได้อย่างไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังต้องผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รายได้นอกภาคเกษตรลดลงอีก เมื่อก่อนยังมีเงินจากลูกหลานที่ออกไปทำงานในกรุงเทพฯส่งกลับมาจุนเจือได้ ตอนนี้ก็ลำบากเหมือนกัน บางคนต้องกลับมาบ้านแต่งานใหม่ก็ยังไม่มี ผมจึงอยากให้รัฐบาลฟังเสียงเรียกร้องของเกษตรและชาวนาเพื่อตัดสินใจทางนโยบายที่เหมาะสมโดยเร็วด้วย

นายคำพองยังกล่าวว่า ผมคิดว่าหลังสถานการณ์โควิด ข้อเรียกร้องการพักหนี้ ชะลอหนี้ หรือการเยียวยาเป็นสิ่งที่รับฟังได้ พี่น้องเกษตรกรได้รับผลกระทบไม่แตกต่าง ๆ จากกลุ่มอื่น พวกเขาควรได้รับความเห็นใจจากรัฐบาลในการเจรจาหรือช่วยพยุงสถานทางเศรษฐกิจไม่ให้ทรัพย์สินของเขาถูกยึด ขณะเดียวกัน การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการซื้อหนี้จากสถาบันการเงินไปให้กองทุนฟื้นฯ ดูแลต่อ เพื่อให้พวกเขาจ่ายหนี้ได้ยาวขึ้น ดอกเบี้ยต่ำลง ทรัพย์สินไม่สูญหาย พอจ่ายได้จนครบก็ได้รับที่ดินกลับคืน นี่เป็นแนวทางที่แก้ปัญหาได้จริง

แต่เท่าที่ทราบ ที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูได้รับงบประมาณน้อยไม่มีเงินไปซื้อหนี้ได้มากนัก จนทำให้คิวยาวพอมากเข้าเป็นล็อตใหญ่ก็อาจสร้างความกังวลให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ เมื่อภาครัฐเห็นปัญหาแบบนี้ก็ควรต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อทำให้การโอนหนี้ไปให้กองทุนฟื้นฟูฯทำได้คล่องตัว หลังจากนั้นจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อทำให้กองทุนเป็นกลไกปกติที่เกษตรกรสามารถพึ่งพาได้เหมือนการรีไฟแนนซ์ในธุรกิจอื่น

ด้าน เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต พรรคก้าวไกล ( Think Forward Center : TFC ) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กองทุนฟื้นฟูฯมีข้อจำกัด คือการได้รับจัดสรรทรัพยากรในการชำระหนี้แทนเกษตรกรน้อย ปี 2560-2563 กองทุนฯ สามารถชำระหนี้แทนเกษตรกรได้เฉลี่ยปีละ 320 ราย คิดเป็นวงเงินโดยเฉลี่ย 105 ล้านบาท/ปี เท่านั้น ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการชำระหนี้แทนเกษตรกรได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง