ปคบ. ทลายแหล่งผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอม

อาชญากรรม
22 ก.ย. 65
10:56
1,273
Logo Thai PBS
ปคบ. ทลายแหล่งผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตำรวจ ปคบ. บุกตรวจค้น สถานที่ลักลอบผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอม อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ยึดของกลางเพียบ มูลค่ารวมกว่าล้านบาท

วันนี้ (22 ก.ย.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ปคบ. เข้าตรวจค้นโกดังแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ใน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี หลังสืบสวนพบว่า ลักลอบผลิตน้ำมันหล่อลื่นปลอม

ขณะเข้าตรวจค้นพบนางบี เป็นผู้ดูแลและยินยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น 2 ยี่ห้อดัง รวม 218 ลิตร , น้ำมันหล่อลื่นวัตถุดิบ บรรจุในถังขนาดบรรจุ 200 ลิตร จำนวน 23 ถัง รวมปริมาณ 4,600 ลิตร , กระป๋องเปล่า ขนาด 1 ลิตร จำนวน 200 กระป๋อง , แกลลอนเปล่า ขนาด 4 ลิตร และ 6 ลิตร

 

พร้อมติดเครื่องหมายการค้าบริษัทเชื้อเพลิงรายใหญ่ 2 ราย รวม จำนวน 150 แกลลอน รวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต บรรจุผลิตภัณฑ์ อีกหลายรายการ มูลค่ารวมกว่าล้านบาท

ตำรวจ ตรวจยึดของกลางทั้งหมด และควบคุมผู้ดำเนินกิจการ เพื่อดำเนินคดี โดยการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 ฐาน

  • ร่วมกันปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะหรือคุณภาพแตกต่างจากที่อธิบดีประกาศกำหนดฯ โทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงฯ โทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ปลอม และมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรฯ โทษ จําคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสี่ 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากเตือนภัย การตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นแท้ จะต้องมีลักษณะบรรจุภัณฑ์ยังซีลแน่น ไม่มีการเปิดใช้งานมาก่อนน้ำมันเครื่องปลอมมักจะใช้วิธีการกรอกใหม่ หรือผสมสารอื่นเข้าไป เจือจาง และไม่สามารถซีลฝากระป๋องใหม่ได้

 

ดังนั้น จึงควรสังเกตบรรจุภัณฑ์ว่าต้องมีสภาพที่ดี ไม่มีรอยบุบ ไม่มีคราบน้ำมันติดอยู่ตามภาชนะ และการพิมพ์ตัวอักษรบนฉลากมีความคมชัด ครบถ้วน ติดแน่นกับบรรจุภัณฑ์ และมีข้อมูลบนฉลากครบถ้วนชัดเจน ทั้งยี่ห้อ สัญลักษณ์การรับรองมาตรฐาน สัญลักษณ์ มอก. เบอร์ความหนืด คุณสมบัติต่างๆ วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับยานพาหนะที่ใช้งาน เป็นอันตรายและไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง