รังสีจาก "เชอร์โนบิล" ทำพันธุกรรมสุนัขเร่ร่อนเปลี่ยน

ต่างประเทศ
9 มี.ค. 66
07:43
1,353
Logo Thai PBS
รังสีจาก "เชอร์โนบิล" ทำพันธุกรรมสุนัขเร่ร่อนเปลี่ยน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
37 ปีที่แล้ว เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลประเทศยูเครน ระเบิดทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหล คาดว่าทำให้ประชาชนบริเวณนั้นและประเทศใกล้เคียงได้รับผลกระทบจำนวนมาก รวมถึงสุนัขที่ถูกทิ้งไว้ก่อนผู้คนอพยพ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเช่นกัน

ประเด็นที่น่าสนใจคือขณะเกิดเหตุมีสุนัขจำนวนมากถูกทิ้งไว้ที่นั่น เพราะเจ้าของไม่สามารถพาพวกมันออกมาได้ เราอาจคิดว่าสุนัขพวกนั้นอาจจะตายจากสารกัมมันตรังสีเช่นกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 37 ปี พบว่าสุนัขที่ถูกทิ้งไว้ที่นั่นไม่ได้ตายทันที แต่พวกมันชีวิตรอดและยังขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานอีกหลายรุ่น ที่สำคัญคือพันธุกรรมของสุนัขในรุ่นปัจจุบันมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากสุนัขทั่วโลก

วันนี้ (9 มี.ค.2566) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่เกิดระเบิดเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2529 ทำให้ประชาชนประมาณ 200,000 คนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ไม่ได้นำสุนัขออกไปด้วย ทำให้พวกมันต้องใช้ชีวิตอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าต่อไป แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีอาสาสมัคร รวมถึงคนที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น เข้าไปให้อาหารและดูแล

รวมถึงกลุ่มที่มีชื่อว่า Clean Futures Fund ที่เข้าไปทำหมัน ฉีดวัคซีน และตรวจสุขภาพให้พวกมัน และมีการเก็บตัวอย่างพันธุกรรมเพื่อนำไปตรวจสอบ และพบว่าพันธุกรรมของพวกมันแตกต่างจากสุนัขทั่วโลก

แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสีเป็นเวลานานหรือไม่ และการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อพฤติกรรมและสุขภาพของพวกมันอย่างไร

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการศึกษาว่า สุนัขที่เป็นบรรพบุรุษของพวกมัน มีชีวิตรอดจากหายนะด้านนิวเคลียร์ได้อย่างไร ซึ่งอาจจะนำไปสู่คำตอบว่ามนุษย์จะสามารถปรับตัวให้ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้อย่างไร

กลุ่มช่วยเหลือ ดูแลสุนัขในเชอร์โนบิล

กลุ่มช่วยเหลือ ดูแลสุนัขในเชอร์โนบิล

กลุ่มช่วยเหลือ ดูแลสุนัขในเชอร์โนบิล

สำหรับเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดเมื่อ 37 ปีก่อนทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้า และมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่จากหน่วยฉุกเฉินอีก 28 คน เสียชีวิตในช่วง 3 เดือนหลังเกิดเหตุ
นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ยืนยันว่า เด็กที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงอายุ 14 ปี อย่างน้อย 1,800 คน เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ เนื่องจากได้รับรังสีก่อไอออน ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง

สารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมามีปริมาณมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่สหรัฐฯ ใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิถึง 100 เท่า และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 150,000 ตร.กม. ทั้งในยูเครน เบลารุส และรัสเซีย

อ่านข่าวรอบวันเพิ่ม : 

วันสตรีสากล ทั่วโลกเรียกร้องยุติความรุนแรงกับเพศหญิง

โรงโม่ปูนฝุ่นคลุ้งเข้าหมู่บ้าน เจ้าของชี้แจงสาเหตุ-ขอโทษประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง