“แพนด้า” ตาย จุดกระแสความไม่พอใจ สู่ดรามาระหว่างประเทศ

ต่างประเทศ
21 เม.ย. 66
16:05
809
Logo Thai PBS
“แพนด้า” ตาย จุดกระแสความไม่พอใจ สู่ดรามาระหว่างประเทศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เสียงวิจารณ์และความไม่พอใจกรณี "ทูตแพนด้า" จากจีนตายไม่ได้เกิดเฉพาะกับไทยเท่านั้น หลายครั้งที่การตายของทูตแพนด้าในประเทศต่างๆ สร้างกระแสความไม่พอใจ โดยเฉพาะประเทศที่ความสัมพันธ์ไม่ค่อยลงรอยอย่างสหรัฐฯ

ภาพ “หลินฮุ่ย” เลือดออกจากจมูกที่ถูกบันทึกโดยอินฟลูเอ็นเซอร์ชาวจีนเพียง 1 วันก่อนตาย ถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียของจีน ประกอบกับการนำเสนอของสื่อจีนซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ตอบคำถามถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของ 2 ชาติ แต่กลับใช้พาดหัวว่า “ไม่เป็นไร เดี๋ยวจีนก็ส่งแพนด้ามาให้ใหม่” จุดกระแสความไม่พอใจในวงกว้างและตั้งคำถามถึงการดูแลแพนด้ายักษ์ของไทย

หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงแสดงความเสียใจต่อการตายของ “หลินฮุ่ย” และระบุว่าจีนเตรียมส่งทีมสอบสวนไปทำงานกับไทย เพื่อหาสาเหตุการตายของหลินฮุ่ย

อ่านข่าว : เผยอาการแพนด้า "หลินฮุ่ย" ก่อนตาย พบเลือดกำเดาไหล

กรณีกระแสวิจารณ์และความไม่พอใจจากชาวจีน เมื่อแพนด้าที่ถูกส่งไปประเทศต่างๆ ตาย ไม่ได้เกิดเฉพาะกับไทย

“เล่อ เล่อ” แพนด้าเพศผู้ ในสวนสัตว์เมมฟิสของสหรัฐฯ

“เล่อ เล่อ” แพนด้าเพศผู้ ในสวนสัตว์เมมฟิสของสหรัฐฯ

“เล่อ เล่อ” แพนด้าเพศผู้ ในสวนสัตว์เมมฟิสของสหรัฐฯ

เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับจีนที่ไม่ลงรอย การตายอย่างกระทันหันของ “เล่อ เล่อ” แพนด้าเพศผู้วัย 24 ปี ในสวนสัตว์เมมฟิสของสหรัฐฯ ไม่กี่เดือนก่อนกำหนดส่งตัวกลับจีน กับภาพ “ยา ยา” คู่แพนด้าที่ดูผอมโซก่อนหน้านี้ จุดกระแสความไม่พอใจจากชาวจีนไปในทางว่าสหรัฐฯ ไม่พอใจจีนและไปลงกับแพนด้า รวมทั้งเสียงวิจารณ์ว่าดูแลไม่ถูกต้อง ซึ่งสวนสัตว์เมมฟิสออกมาปฏิเสธ

ความไม่ลงรอยเช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับไต้หวัน เมื่อ “ถวน ถวน” แพนด้าเพศผู้ที่จีนส่งมอบให้ไต้หวันในช่วงที่ความสัมพันธ์ยังดี ตายลงเมื่อปลายปี 2565 หลังป่วยมานาน ทำให้ชาวเน็ตจีนและนักการเมืองไต้หวันที่สนับสนุนการรวมชาติ ออกมาวิจารณ์ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ว่าเลือกปฏิบัติ กรณีทวิตแสดงความเสียใจต่อการตายของสุนัขของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แต่ไม่กล่าวถึงการจากไปของถวน ถวน

“ถวน ถวน” แพนด้าเพศผู้ที่จีนส่งมอบให้ไต้หวัน

“ถวน ถวน” แพนด้าเพศผู้ที่จีนส่งมอบให้ไต้หวัน

“ถวน ถวน” แพนด้าเพศผู้ที่จีนส่งมอบให้ไต้หวัน

ย้อนรอย “การทูตแพนด้า”

การส่งแพนด้าไปเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ มีมาตั้งแต่ก่อนการประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าตัวแรกๆ ย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ.1936 ที่เจ้า “ซู หลิน” ลูกแพนด้าจีนถูกส่งไปยังสหรัฐฯ และในสมัยของเจียงไคเช็ค ซ่งเหม่ยหลิง หรือมาดามเจียงไคเช็ค ได้ส่งแพนด้า 2 ตัวไปสหรัฐฯ เพื่อกระชับสัมพันธ์หลังสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2

“ซู หลิน” ลูกแพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐอเมริกา

“ซู หลิน” ลูกแพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐอเมริกา

“ซู หลิน” ลูกแพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐอเมริกา

ช่วงต้นของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน แพนด้าถูกส่งให้เฉพาะประเทศพันธมิตรอย่างสหภาพโซเวียดและเกาหลีเหนือ ซึ่งยากมากสำหรับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกที่จะขอแพนด้าจากจีน ขณะที่ความพยายามส่งเจ้า “ชี่ ชี่” ไปสหรัฐฯ ในปี 1958 ต้องยกเลิกไป เพราะขัดกับกฎหมายสหรัฐฯ ที่ตีความว่าแพนด้า “เป็นสินค้าจากจีนคอมมิวนิสต์”

จนกระทั่งสมัยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ที่เดินหน้าความสัมพันธ์กับจีน ปี 1972 แพนด้าคู่ “หลิง-หลิง” และ “ชิง-ชิง” ถูกส่งไปสหรัฐฯ ในฐานะทูตสันถวไมตรี

“หลิง-หลิง” และ “ชิง-ชิง” คู่แพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐฯ ในฐานะทูตสันถวไมตรี

“หลิง-หลิง” และ “ชิง-ชิง” คู่แพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐฯ ในฐานะทูตสันถวไมตรี

“หลิง-หลิง” และ “ชิง-ชิง” คู่แพนด้าที่จีนส่งไปสหรัฐฯ ในฐานะทูตสันถวไมตรี

ด้วยข้อจำกัดของจำนวนแพนด้า ทำให้ในปี 1984 จีนปรับนโยบายจากการส่งมอบ เป็นส่งมอบภายใต้สัญญาเช่า ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 20 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ที่รับแพนด้าจากจีนไปดูแล โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีแพนด้าจากจีนมากที่สุด

สำหรับประเทศล่าสุดที่จีนส่งแพนด้าไปคือ กาตาร์ เพื่อเป็นของขวัญฉลองการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพ พร้อมๆ กับนโยบายการขยายความสัมพันธ์สู่ตะวันออกกลาง

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า แม้จะมีกระแสเรียกร้องยุตินโยบายการทูตแพนด้าและให้นำแพนด้ากลับจีน แต่การทูตแพนด้ายังคงเดินหน้าต่อไป พร้อมๆ กับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน โดยเฉพาะการเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศที่ต้องใช้วิธีละมุนละม่อม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดชีวิต 21 ปี แพนด้า “หลินฮุ่ย”

ไขคำตอบ "แพนด้า" หมีที่ไม่ทำตัวเป็นหมี

เปิดความทรงจำ "หมอบริพัตร" สัตวแพทย์ผู้ดูแล "หลินฮุ่ย"

ปลัด ทส.ชี้รอจีนพิสูจน์สาเหตุ "หลินฮุ่ย" ตาย ยังไม่ชัดจ่ายค่าชดเชย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง