ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดสถิติโรคแอนแทรกซ์ในไทย หลังพบผู้ป่วยในรอบหลายปี

สังคม
1 พ.ค. 68
10:41
4,196
Logo Thai PBS
เปิดสถิติโรคแอนแทรกซ์ในไทย  หลังพบผู้ป่วยในรอบหลายปี
อ่านให้ฟัง
03:29อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดสถิติ พบโรคแอนแทรกซ์ในไทย เหตุผู้เสียชีวิตใน "มุกดาหาร" พบเป็นรายแรกเสียชีวิต ขณะที่ในไทยพบผู้ป่วยล่าสุดในไทยปี 2560 และพบมากสุดในปี 2538 กว่า 100 คน

จากกรณีมีผู้ป่วยและเสียชีวิต 1 คน จากโรคแอนแทรกซ์ ในพื้นที่ ต.เหล่าหมี อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร หลังเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 27 เม.ย.2568 และเสียชีวิตในวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ก่อนที่ทางอำเภอดอนตาล จะประกาศพื้นที่เฝ้าระวังในพื้นที่

กรณีล่าสุด ถือว่าเป็นการเสียชีวิตจากโรคแอนแทรกซ์คนแรกของไทย และถือเป็นการพบผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์ในไทยในรอบหลายปี ก่อนหน้านี้ในเดือน พ.ย.2560 กระทรวงสาธารณสุข มีรายงานพบผู้ป่วยชาย ซึ่งเป็นผู้ชำแหละแพะที่ตายแล้ว โดยสงสัยเป็นโรคแอนแทรกซ์ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก จนหาย และต่อมาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้

ขณะที่ ในปี 2543 ยังพบการเกิดโรค 1 ครั้ง มีผู้ป่วยจำนวน 15 คน ในปี พ.ศ.2542 มีการเกิดโรค 4 ครั้ง มีผู้ป่วย 14 คน ทั้งนี้ ปีที่พบการระบาดมากที่สุด เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2538 มีรายงานผู้ป่วย 102 คน 

นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกิดระบาดของโรคแอนแทรกซ์ ในพื้นที่ใกล้เคียงประเทศไทย คือ ในประเทศลาว ในช่วงเดือน มี.ค.ปี 2567 ที่ผ่านมา โดยพบผู้ป่วย กลุ่มแรก ในวันที่ 4 มี.ค.2567 จำนวน 3 คน ในแขวงจำปาสัก และเพิ่มสะสมเป็น 54 คน หรือกว่า 22 ปี ในช่วงปลายเดือน มี.ค.2567

ทางการลาว ได้ออกประกาศแนวทางการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น ทั้งห้ามซื้อ-ขาย และเคลื่อนย้ายเข้าออกสัตว์ภายในเมืองโดยเด็ดขาด ห้ามโรงฆ่าสัตว์ในเมืองชำแหละโค-กระบือ ห้ามประกอบอาหารจากสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เจ้าของกักขังสัตว์เลี้ยงเพื่อติดตามอาการ  

ทั้งนี้ หากสัตว์ป่วยซึม ไม่กินอาหาร ขาบวม ท้องโต ให้แยกออกจากฝูงแล้วรักษาและให้ติดตามเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด หากเกิดโรคให้รายงานสัตวแพทย์ในพื้นที่ทันที

โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจากเชื้อ Bacillus anthracis เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการสัมผัสและการกินสัตว์ที่มีเชื้อ (เช่น การชำแหละ) สัมผัสซากสัตว์ที่มีเชื้อ โดยเฉพาะวัว ควาย หรือสัตว์กินหญ้า และการรับเชื้อจากการหายใจ

อย่างไรก็ตาม หากพบสัตว์ต้องสงสัยป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอทราบทันที โดยห้ามเคลื่อนย้าย ผ่าซาก หรือชำแหละเนื้อ หรือหนังสัตว์ที่ตายและระวังไม่ให้สัตว์อื่น เช่น สุนัข แมว ไปกินซากสัตว์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

ข้อมูล Hfocus

กระทรวงสาธารณสุข 

กรมปศุสัตว์ 

อ่านข่าว : เฝ้าระวังโรคแอนแทรกซ์ หลังชาวบ้านเสียชีวิต 1 คน จ.มุกดาหาร

สสจ.มุกดาหาร เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง "โรคแอนแทรกซ์"  

ยึดหมูเถื่อน 5 ตัน กลางตลาดดังปทุมธานี รอส่งขายทั่วประเทศ

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง