ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักศึกษาไทยในฮาร์วาร์ด หวั่นอนาคต หลังคำสั่ง "ทรัมป์"

ต่างประเทศ
24 พ.ค. 68
16:16
369
Logo Thai PBS
นักศึกษาไทยในฮาร์วาร์ด หวั่นอนาคต หลังคำสั่ง "ทรัมป์"
ศาลในสหรัฐฯ มีคำสั่งระงับการตัดสิทธิรับนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นการชั่วคราว ขณะที่ นักศึกษาไทยในฮาร์วาร์ด หวั่นอนาคต

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2568 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งเพิกถอนการรับรองโครงการนักเรียนและผู้มาแลกเปลี่ยน Student and Exchange Visitor Program (SEVP) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา  

คำสั่งนี้ทำให้ฮาร์วาร์ดไม่สามารถรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนได้และนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาอยู่ต้องย้ายไปเรียนที่อื่นหรือสูญเสียสถานภาพทางกฎหมาย

ด้านมหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ ระบุว่า การกระทำนี้ขัดต่อกฎหมาย และทางสถาบันยังมุ่งมั่นจะเป็นสถาบันการศึกษาของนักศึกษาและนักวิชาการจากกว่า 140 ประเทศที่ทำประโยชน์ให้ทั้งทางมหาวิทยาลัยและประเทศชาติอย่างประเมินค่าไม่ได้ต่อไป

รัฐบาลสหรัฐฯ อ้างว่า มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยให้มีการบ่มเพาะความรุนแรง กระแสต่อต้านชาวยิวและการร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายในรั้วมหาวิทยาลัย แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศจีนจะปฏิเสธและแสดงจุดยืนต่อต้านการให้ความร่วมมือด้านการศึกษากลายเป็นประเด็นทางการเมือง พร้อมทั้งประกาศปกป้องสิทธิอันชอบธรรมและผลประโยชน์ของนักศึกษาและนักวิชาการต่างชาติ

รูปปั้นจอห์น ฮาร์วาร์ดในสนามฮาร์วาร์ด ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2025

รูปปั้นจอห์น ฮาร์วาร์ดในสนามฮาร์วาร์ด ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2025

รูปปั้นจอห์น ฮาร์วาร์ดในสนามฮาร์วาร์ด ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2025

คำสั่งดังกล่าวสร้างความสั่นสะเทือนในวงการศึกษาโลก นักศึกษาต่างชาติ รวมถึงนักศึกษาไทย แสดงความไม่พอใจ สับสน และกังวลต่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น

นักศึกษาไทย ม.ฮาร์วาร์ด ยังไม่คลายกังวล

นักศึกษาไทย ในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด คนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์ ยอมรับรู้สึกกังวลกับคำสั่งที่เกิดขึ้น แม้ทางมหาวิทยาลัยจะมีหนังสือส่งถึงนักศึกษาโดยประณามการกระทำของรัฐบาลรวมถึงยื่นคำร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ยังไม่มีทิศทาง แนวทางหรือข้อปฏิบัติชัดเจนให้กับนักศึกษาต่างชาติ สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้กลุ่มนักเรียนไทยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

สถานการณ์ในขณะนี้ถือว่ารุนแรง โดยเฉพาะเรื่องสถานะการอยู่ต่อ มันเป็นเรื่องที่น่าตกใจในวงการการศึกษา สหรัฐฯ มีระบบอุดมศึกษาที่เข้มแข็ง แต่กลับมีคำสั่งที่กระทบต่อสถาบันอย่างฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในกลุ่มไอวีลีก

การแบนนักศึกษาต่างชาติ อาจสร้างแรงกระเพื่อม และเพิ่มความกลัวให้หลายมหาลัย โดยเฉพาะกรณีของฮาร์วาร์ด ซึ่งถูกมองว่าเป็นการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" หากสถานบันการศึกษาไม่เห็นด้วย หรือไม่ยอมทำตามคำสั่งของรัฐบาล

ก่อนหน้านี้ฝ่ายบริหารอ้างถึงความกังวลด้านความมั่นคงของชาติ และกล่าวหาว่า ฮาวาร์ด สนับสนุนการก่อการร้าย ส่งเสริมความรุนแรง และการต่อต้านชาวยิว รวมถึงมีความสัมพันธ์จากจีนนอกจาก การปฎิเสธเปิดเผยรายชื่อนักศึกษาที่สนับสนุนปาเลสไตน์ ให้กับรัฐบาล ของอลัน การ์เบอร์ ประธานมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ส่วนหนึ่งยังถูกมองว่ามีแนวความคิดสวนทางกับรัฐบาล

ทางรัฐบาลมองว่า ฮาร์วาร์ดบ่มเพาะอุดมการณ์ที่เขาไม่ชอบ เช่น อุดมการณ์ฝ่ายซ้าย หรือกลุ่มคน Wokeism จึงพยายามหาวิธีในการกดดัน เข้ามาแทรงแซงกระบวนการผ่านการตัดทุน ตัดงบประมาณ จนไปถึงการไม่อนุมัติ I-20 ล่าสุด

ปัจจุบัน ฮาร์วาร์ดมีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 6,800 คน คิดเป็นร้อยละ 27 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด จาก 147 ประเทศ อันดับ 1 ประเทศจีน 1,390 คน แคนาดา 751 คน อินเดีย 578 คน เกาหลีใต้ 264 คน สหราชอาณาจักร 264 คน

ขณะที่นักเรียนไทยมีประมาณ 20-30 คน ไม่รวมคนที่ได้รับทุนหรือได้รับเลือกให้เข้าร่วม โครงการฝึกอบอรม วิจัย หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ในสาขาเฉพาะทาง

ศาลสหรัฐฯ ระงับคำสั่งตัดสิทธิ "ฮาร์วาร์ด" รับนักศึกษาต่างชาติ

ล่าสุดมีรายงาน ผู้พิพากษาศาลเขตในรัฐแมสซาชูเซตส์มีคำสั่งระงับการตัดสิทธิดังกล่าวเป็นการชั่วคราวแล้ว และจะนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ค.ที่จจะถึงนี้ หลังจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยื่นคำร้องว่า "คำสั่งของรัฐบาลเป็นเพียงการลงโทษต่อมุมมองของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกอย่างเสรีตามรัฐธรรมนูญ"

ด้านโฆษกทำเนียบขาว ระบุว่า รัฐบาลอาจยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าว พร้อมทั้งชี้ว่า "ผู้พิพากษาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิในการยับยั้งการใช้อำนาจอันชอบธรรมของรัฐบาลในการควบคุมนโยบายผู้อพยพและความมั่นคงแห่งชาติ"

"วีซา" นักเรียนต่างชาติในสหรัฐฯ รู้จัก F1, J1 และ M1

นักเรียนต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะถือวีซา 3 ประเภท คือ F1 Student Visa หรือ J1 Exchange Visitor Visa M1 Vocational or Technical Training

วีซา F1 - เป็นวีซาสำหรับนักเรียน ที่ต้องเข้าเรียนเต็มเวลากับสถาบันที่ได้รับอนุมัติจาก SEVP (Student and Exchange Visitor Program) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (U.S. Department of Homeland Security) ส่วนใหญ่พบเป็นนักเรียนที่ใช้ทุนส่วนตัว ในการขอวีซาเพื่อศึกษาต่อ

วีซา J1 - ส่วนใหญ่ใช้สำหรับ ผู้เข้าร่วม โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม เช่น นักเรียนทุนจากหน่วยงานรัฐ (เช่นทุน ก.พ.) นักเรียนแลกเปลี่ยน, นักวิจัย, อาจารย์, หรือผู้ฝึกงาน เป็นต้น

วีซา M1 วีซานักเรียนประเภทหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการมาเรียนหลักสูตร อาชีวศึกษา หรือวิชาชีพเฉพาะทาง

การขอวีซาเพื่อศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา ต้องมี I-20 Certificate of Eligibility for Nonimmigrant Student Status หรือ "ใบรับรองสถานะนักเรียนชั่วคราว" ยื่นประกอบ โดย I-20 จะถูกออกโดยสถาบันการศึกษา ที่ได้รับอนุญาตจาก SEVP ซึ่งสถาบันการศึกษาจะดูความสามารถในการจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ประกอบ ตลอดหลักสูตร

ตัวอย่างเช่น นายเอ ต้องการขอวีซาเพื่อไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ นายเอ ต้องติดต่อสถาบันการศึกษา โดยแสดงใบรับรองสถานะทางการเงินว่ามีเงินเพียงพอในการเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดหลักสูตร ตามที่โรงเรียนแจ้ง เพื่อขอ I-20 หลังได้รับ I-20 จากสถาบันการศึกษา จะนำหมายเลข SEVIS ที่ถูกออกโดย SEVP ไปลงทะเบียน ก่อนนำเอกสารทั้งหมด ยื่นประกอบขอวีซา

SEVIS ใช้ทำอะไรบ้าง

SEVIS (Student and Exchange Visitor Information System) เป็นระบบที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนต่างชาติและผู้เยี่ยมชมโครงการแลกเปลี่ยน (F, J, และ M วีซา)

  • ติดตามสถานะการศึกษาและการเข้าพักของนักเรียน
  • ใช้ออกเอกสาร I-20 (สำหรับ F/M visa) และ DS-2019 (สำหรับ J visa)
  • ใช้ในการตรวจสอบก่อนขอวีซ่า และระหว่างพำนักในสหรัฐอเมริกา
  • ส่งข้อมูลให้อิมมิเกรชัน เช่น USCIS และสถานทูต

"ฮาร์วาร์ด" มหาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐฯ

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อตั้งในปี พ.ศ.2179 (อายุ 388 ปี) ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐฯ และหนึ่งในสถาบันชั้นนำระดับโลกในกลุ่ม Ivy League ในปีการศึกษา 2567 ฮาร์วาร์ดมีนักศึกษาทั้งหมดราว 24,967 คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 7,240 คน และบัณฑิต 17,727 คน โดยมีคณาจารย์ประมาณ 2,400 คน และศิษย์เก่ากว่า 371,000 คนทั่วโลก

ฮาร์วาร์ดประกอบด้วย 12 คณะวิชาเด่น เช่น Harvard College, Harvard Law School, Harvard Business School และ Kennedy School of Government

ห้องสมุด Harry Elkins Widener Memorial ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2025

ห้องสมุด Harry Elkins Widener Memorial ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2025

ห้องสมุด Harry Elkins Widener Memorial ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2025

อ่านข่าว : ฮาร์วาร์ด" 388 ปีแห่งความยิ่งใหญ่ สถาบันเก่าแก่ที่สุดของอเมริกา

ฮาร์วาร์ด มีงบประมาณประจำปี 5,400 ล้านดอลลาร์ และเงินบริจาค 507,000 ล้านดอลลาร์ ในปีที่ผ่านมา ทำให้ฮาร์วาร์ดมีทรัพยากรสนับสนุนการวิจัยและทุนการศึกษาจำนวนมาก

ด้วยพื้นที่กว่า 528 ไร่ มหาวิทยาลัยเพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลก เช่น ห้องสมุด Widener ที่มีหนังสือ 17 ล้านเล่ม และศูนย์วิจัยนวัตกรรมในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และนโยบายสาธารณะ ฮาร์วาร์ดยังมีชื่อเสียงด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ ผลิตบุคคลสำคัญ เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 8 คน และผู้รับรางวัลโนเบล 162 คน อีกด้วย

อ่านข่าว : ภารกิจยังไม่จบ เจ้าหน้าที่เร่งสูบน้ำ กู้ร่างคนงานจากหลุมลึก

"ทรู" ยอมเยียวยาแยกลูกค้าเติมเงิน-รายเดือน เหตุเครือข่ายล่ม

จับหญิง 39 ปี ไล่แทงในสถานีรถไฟเมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี เจ็บ 18 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง