เปิดโครงสร้าง"องค์การพิทักษ์สยาม"

21 พ.ย. 55
14:41
284
Logo Thai PBS
เปิดโครงสร้าง"องค์การพิทักษ์สยาม"

ศาลปกครองนัดแถลงข่าวรับคำร้องวินิจฉัยการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ ( 22 พ.ย.) ขณะที่ อพส.ยืนยันว่า จะดำเนินการตามคำวินิจฉัยทุกประการ แต่ย้ำว่าการชุมนุมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

การชุมนุมของ อพส. ในวันที่ 24 พ.ย.นี้ มีภาคีเครือข่ายที่จะเข้าร่วมชุมนุมไม่น้อยกว่า 50 องค์กร ภายใต้โครงสร้างคณะกรรมการบริหารจัดการ อพส. รวม 18 คน ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี เปิดเผยว่า อพส.เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างนายทหารระดับสูงกับนักการเมือง ซึ่งมีเจตนาร้ายต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
                                     

<"">
         
วันพรุ่งนี้ เวลา 14.00 น.องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะออกนั่งบัลลังก์เพื่อพิจารณาคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม หรือ อพส. ของนายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย และจะวินิจฉัยคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา และ นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ ตัวแทนกลุ่มองค์การพิทักษ์ประชาธิปไตย ประกอบกัน เนื่องจากเป็นข้อสังเกตเดียวกัน

ทั้งนี้ศาลจะไต่สวน โดยเชิญ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ มาชี้แจง เนื่องจากเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน ก่อนที่จะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป
                                     

<"">

ขณะที่การชุมนุมของ อพส.ในวันที่ 24 พ.ย.จากที่ก่อนหน้านั้นมีข้อมูลที่บุคคลในรัฐบาลออกมาเปิดเผยและวิเคราะห์การชุมนุมของ อพส. เพราะก่อนหน้านี้มีข้อมูลว่า อสพ.เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวเดียวกับกลุ่มที่เคยเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนายสมัคร สนุทรเวช,นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร,เป็นกลุ่มที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนและเป็นกลุ่มที่มีผู้ร่วมลงขันกัน 6,000 ล้านบาท
                                   
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า อพส. เป็นกลุ่มความร่วมมือกัน ระหว่างทหารสูงอายุกับกลุ่มการเมือง ที่มีเจตนาร้ายต่อบ้านเมือง ซึ่งหวังจะให้เกิดเหตุวุ่นวายและยืดเยื้อ เพื่อให้สถานการณ์นำไปสู่การปฏิวัติพลเรือน หรือ ปฏิวัติประชาชน พร้อมระบุว่า ขณะนี้แกนนำของ อพส.กำลังขัดแย้งช่วงชิงความเป็นผู้นำ ซึ่งเห็นได้ว่า พล.อ.บุญเลิศ ไม่ใช่แกนนำตัวจริง แต่เป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
                                      
<"">

ขณะที่ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี โฆษก อพส. แถลงแสดงความพร้อมที่จะดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีมีผู้ร้องให้วินิจฉัยสั่งให้ อพส.ยกเลิกการชุมนุม เนื่องจากเข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่ยืนยันว่า อพส.ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

สำหรับโครงสร้าง อพส. มีคณะกรรมการ รวม 18 คน ซึ่งมี พล.อ.บุญเลิศ เป็นประธาน และมีนายสมพจน์ ปิยะอุย, พล.ร.อ.เอกชัย สุวรรณภาพ และพล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์ รองประธาน

มีกรรมการกิตติมศักดิ์ 4 คน คือ ศ.ปราโมทย์ นาครทรรพ, ไพศาล พืชมงคล, นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ,นายประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ มีกรรมการ 7 คน นายวรินทร์ เทียมจรัส, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, นายวิรัตน์ รัตนชาติ, นายสุภนิจ รัตนกาญจน์, นายปิยะนุช นาคคง, น.ส.ขนิษฐา กิจเชวง และมีนายเกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า เป็นกรรมการและผู้ประสานงาน, นายนันทิวัฒน์ สามารถ เป็นกรรมการและเลขานุการ และ น.ส.สุนิสา โสรัยยะ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                   

<"">

อพส.นัดชุมนุมครั้งแรกที่สนามม้านางเลิ้ง ภายใต้ชื่องานว่า"รวมพลคนทนไม่ไหว หยุดวิกฤติและหายนะชาติ" โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 50 องค์กร และครั้งนั้นมี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ,พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์,ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์,นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์,รศ.ย์เสรี วงษ์มณฑาและ รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ เข้าร่วมด้วย

ส่วนการชุมนุมครั้งนี้ พล.ร.อ.พระจุณณ์ ตามประทีป คนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ยอมรับว่า ให้การสนับสนุนและจะเข้าร่วมด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง