นักวิจัยชี้ หลายปัจจัยส่งผล "เจรจาสันติภาพ" ไม่สำเร็จ

10 เม.ย. 56
14:24
132
Logo Thai PBS
นักวิจัยชี้ หลายปัจจัยส่งผล "เจรจาสันติภาพ" ไม่สำเร็จ

นักวิจัยความขัดแย้งจากประเทศเยอรมัน ระบุว่า กระบวนการพูดคุยสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเปราะบาง และยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจทำให้การพูดคุยไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่หนึ่งในผู้สังเกตุการณ์ในการประชุมพูดคุยสันติภาพ เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เห็นว่า ทุกฝ่ายต้องให้โอกาสรัฐ และกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนต ที่มีความพยายามยุติความรุนแรง

กระบวนการพูดคุยสันติภาพเพื่อแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังเปราะบาง ทำให้นักวิจัยสถาบันวิจัยความขัดแย้ง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ชาวเยอรมันเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างมาก ที่พลังของประชาชนทั่วไป และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ ต้องเป็นแรงหนุนเสริม ด้วยการตั้งคณะทำงานย่อย รอบรับในกรณีที่การพูดคุยสันติภาพเกิดล้มกลางคัน

นายนอร์เบิร์ต บอกว่า การสร้างสันติภาพ ก็เหมือนการวิ่งมาราธอน และไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร ที่จะเห็นผลได้ทันที่และต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 ปี ซึ่งระหว่างพูดคุยก็อาจทำให้การสันติภาพล้มเหลว เพราะคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย หรือความอดทนที่ไม่มากพอของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจากการศึกษา 36 ประเทศที่เกิดความขัดแย้ง พบว่า มีเพียง 5 ประเทศที่ประสบความสำเร็จ ที่เหลือ การะบวนการสร้างสันติภาพยังอยู่ในระดับแย่ หรือมีความหวัง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งชี้ว่า ปัจจัยที่จะช่วยให้กระบวนการสร้างสันติภาพเดินไปข้างหน้าได้ คือ ทั้งสองฝ่ายจะเปิดใจยอมรับถึงฉนวนเหตุความขัดแย้ง ต้องเข้าใจถึงความรุนแรงที่ยังเกิดขึ้น ต้องยอมถอยคนละก้าว และต้องมีอนาคตให้สำหรับกลุ่มแนวร่วมที่เคลื่อนไหวในพื้นที่

เช่นเดียวกับผู้ที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ในการประชุมสันติภาพรอบ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เห็นว่า การเกิดความุรนแรงระหว่างการพูดคุยไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ตกลงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

<"">

 

ด้านตัวแทนสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เห็นว่า ข้อเสนอหลักของภาคประชาสังคม ต่อการประชุมรอบ 3 ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนเมษายนนี้ หากไม่มีการเลื่อนกำหนดการ คือ อยากให้ฝ่ายขบวนการ ยุติการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ ให้ฝ่ายรัฐยอมทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษ และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นจริง

ขณะที่ผลการวิจัยของดีพเซาว์โพลที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,870 ตัวอย่างใน 187 ตำบลของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า กว่าร้อยละ 67 เชื่อมั่นในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง และกว่าร้อยละ 55 เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง