วิเคราะห์..คดีตีความปราสาทพระวิหาร กัมพูชาทำตัวเหมือนตีความแผนที่ฉบับเดียว

สังคม
17 เม.ย. 56
12:55
175
Logo Thai PBS
วิเคราะห์..คดีตีความปราสาทพระวิหาร กัมพูชาทำตัวเหมือนตีความแผนที่ฉบับเดียว

นักกฎหมายอิสระ วิเคราะห์ การชี้แจงว่า ฝ่ายกฎหมายไทยสามารถชี้แจงได้อย่างชาญฉลาด ด้วยการหยิบยกหลักฐานของฝ่ายกัมพูชามาใช้หักล้างการยื่นขอตีความของฝ่ายกัมพูชาเอง โดยเฉพาะการอ้างแผนที่ มาตรา 1 ต่อ 200,000 เพียงฉบับเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากแผนที่ในภาคผนวก 1 นั้น มีด้วยกันหลายฉบับ

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ  วิเคราะห์การชี้แจงของ อลินา มิรอง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อแลน แปลเลต์ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของไทย ที่ต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารว่า การที่อลินา มิรอง นำหลักฐานเรื่องแผนที่ของกัมพูชามาใช้ในการโต้แย้งเป็นเรื่องที่ฉลาด เพราะฝ่ายไทยไม่ได้หยิบยกเรื่องแผนที่ของฝ่ายไทยมาต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ได้นำแผนที่ของฝ่ายกัมพูชามาอ้างด้วย  โดยเมื่อปี 2505 ทั้งไทยและกัมพูชา นำแผนที่ในเขตดินแดนปราสาทพระวิหารมาอ้างหลายฉบับ แต่ศาลโลกเลือกใช้ไม่กี่ฉบับ โดย 1 ในนั้น คือ แผนที่ภาคผนวก 1 หรือ แผนที่ระวางพนมดงรัก มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชายอมรับแผนที่ฉบับนี้

ทั้งนี้ มองว่า ฝ่ายกัมพูชามองโลกแคบ เนื่องจากอ้างแผนที่ฉบับเดียว คือ แผนที่ ภาคผนวก 1 หรือแผนที่มาตรา 1 ต่อ 200,00 อยู่ฉบับเดียว เนื่องจากศาลฯ ได้ใช้แผนที่หลายฉบับในการตัดสินเมื่อปี 2505 และหากนำแผนที่ 1 ต่อ 200,000 มาวางบนแผนที่ปัจจุบันจะพบว่าสามารถกำหนดได้หลายเขตแดนเพราะลักษณะภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลง รวมถึงต้องใช้การคำนวณวิทยาศาสตร์มาช่วยในการพิสูจน์เขตแดนจึงจะมีความชัดเจนมากกว่าการอ้างเฉพาะแผนที่ในอดีตเท่านั้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง